มะยม

มะยม


มะยม


ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus Skeels

ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE

ชื่อสามัญ Star Gooseberry

ชื่อท้องถิ่น

  • ทั่วไป เรียก มะยม
  • ภาคอีสาน เรียก หมักยม, หมากยม
  • ภาคใต้ เรียก ยม

ลักษณะทั่วไป มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3–10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณ ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบ สลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20–30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่อ อ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

การปลูก มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณทางยา

  • ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
  • เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
  • ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
  • ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
  • ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง

คติความเชื่อ ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง กล่าวว่ามะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกัน ความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้ คนจะได้นิยมเหมือนมี นะเมตตามหานิยม


ขอบคุณข้อมูลจาก PANMAI


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์