ขนุน

ขนุน


ขนุน



ชื่อวิทยาศาสตร์
Artocarpus heterophyllus Lamk.

ชื่อวงศ์ MORACEAE

ชื่อสามัญ Jack Fruit Tree

ชื่อท้องถิ่น

  • ภาคเหนือ-ใต้ เรียก ขะหนุน
  • ภาคอีสาน เรียก หมักหมี้, บักมี่
  • จันทบุรี เรียก ขะนู
  • มลายู-ปัตตานี เรียก นากอ
  • ชาวบน-นครราชสีมา เรียก โนน
  • เขมร เรียก ขนุน, ขะเนอ

ลักษณะทั่วไป ขนุนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นสูงประมาร 8–15 เมตรมียางขาวทั้งต้น ใบ กลมรี ยาว 7–15 ซม. ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. เนื้อใบเหนียวและหนา ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกตัวเมียและตัวผู้จะอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัว ผู้จะออกที่ปลายกิ่ง เป็นแท่งยาวประมาณ 2.5 ซม. ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาวออกจากลำต้น กิ่งก้านขนาดใหญ่ ผล เป็นผลรวม ผลกลมและยาวขนาดใหญ่ หนักหลายกิโลกรัมเมล็ดกลมรี เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลือง ถ้าสุกมีกลิ่นหอม

การปลูก โดยการเพาะเมล็ด ปลูกทั่วไปในสวนและบริเวณบ้าน

สรรพคุณทางยา

  • ใบ รสฝาดมันรักษาหนองเรื้อรัง และใบสดนำมาตำให้ละเอียดอุ่นพอกแผล
  • ราก รสหวานอมขม แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้ธาตุน้ำกำเริบ โลหิตพิการ ฝาดสมานบำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต
  • แก่นและราก รสหวานอมขม บำรุงโลหิต แก้กามโรค ขับพยาธิ ระงับประสาท และแก้โรคลมชัก
  • ยาง รสจืด ฝาดเฝื่อน แก้อักเสบบวม แผลมีหนองเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ขับพยาธิ และขับน้ำนม
  • เนื้อหุ้มเมล็ด รสหวานมันหอม บำรุงกำลัง และชูหัวใจให้ชุ่มชื่น
  • เนื้อในเมล็ด รสหวานมัน บำรุงน้ำนม ขับน้ำนม และบำรุงกำลัง

คติความเชื่อ ขนุนนับได้ว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย กำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (หรดี) ตามโบราณเชื่อกันว่า การปลูกต้นขนุนในบริเวณบ้านจะหนุนเนื่อง บุญบารมี เงินทอง จะมีคนเกื้อหนุน และอุดหนุนจุนเจือ นอกจากนี้ชาวเหนือใช้ใบขนุนร่วมกับใบพุทรา ใบพิกุล นำมาซ้อนกันแล้วนำไปไว้ใน ยุ้งข้าวตอนเอาข้าวขึ้นยุ้งใหม่ๆ เชื่อกันว่าจะทำให้หนุนนำและส่งผลให้มีข้าวกินตลอดปีและตลอดไป




ขอบคุณข้อมูลจาก PANMAI


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์