สถิติสูงสุดบันทึกไว้ว่า
ผู้ที่กลั้นหายใจได้นานที่สุด สามารถกลั้นหายใจได้นานถึง 2 นาที 43 วินาที เมื่ออยู่ใต้น้ำ แต่ในภาวะปกติ สมองจะเป็นตัวสั่งการให้หายใจหรือหยุดหายใจ
ข้อเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหายใจ คือ
คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นในก ระแสเลือดแล้ว ก็จะเป็นสัญญาณที่แสดงว่าจำเป็นต้องได้รับออกซิเจนมาแทนอย่างรวดเร็ว
คาร์บอนไดออกไซด์จะละลายในกระแสเลือดและเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก
ซึ่งจะไหลเวียนไปถึงสมองและเซลล์ประสาทที่ควบคุมการหายใจในเมดัลลา (medulla, ส่วนหนึ่งของก้านสมอง) เมดัลลาจะตอบสนองต่อระดับการเพิ่มขึ้นของกรดคาร์บอนิกด้วยการกระตุ้นให้ร่างกายหายใจเข้า - ออก |
|
|
แต่เราก็สามารถเปลี่ยนบังคับกลไกอัตโนมัติที่ควบคุมการหายใจนี้
มาเป็นใช้การหายใจแบบที่ต้องการได้ โดยการหายใจแบบนี้จะเกี่ยวข้องกับสมองส่วนคอร์เทกซ์ (cortex) สำหรับตัวอย่างการหายใจแบบตามต้องการนั้นก็เช่น การ้องเพลง การว่ายน้ำ การดำน้ำ และการฝึกโยคะ เป็นต้น |
|
เด็กทารกก็สามารถกลั้นหายใจได้บ่อย ๆ
ซึ่งเป็นการเรียกร้องความสนใจที่มักทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองตกใจ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และ กรดคาร์บอนิกที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้เด็กทารกกลั้นหายใจ ต่อไปไม่ไหว และเมดัลลา ก็จะกลับมากระตุ้นและควบคุมการหายใจอีกครั้งหนึ่ง |
|
|
สัตว์ที่สามารถกลั้นหายใจได้นานมาก ๆ คือ
จระเข้ ซึ่งสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 1 ชั่วโมงโดยไม่โผล่ขึ้นมาที่ผิวน้ำเลยเพราะว่าฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงของจระเข้มีประสิทธิภาพในการเก็บออกซิเจนได้ดีกว่ามนุษย์
นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
กำลังวิจัยเพื่อนำเอกคุณลักษณะทางพันธุกรรมนี้มาใส่ไว้ในฮีโมโกลบินของมนุษย์ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือด |
|
|