เชื่อหรือไม่ ‘ขาช้าง’ ทำงานแบบรถสี่ล้อ
นักวิจัยจากสหราชอาณาจักรเผย ขาช้างมีการทำงานเช่นเดียวกับรถสี่ล้อ เป็นลักษณะพิเศษที่ไม่พบในสัตว์ชนิดใด
การ ‘ขับเคลื่อนด้วยสี่ขา’ที่พบในช้างนี้ให้พลังกับรยางค์แต่ละรยางค์ขณะที่พวกมันกำลังเดิน ส่วนสัตว์สี่ขาชนิดอื่นจะใช้ระบบ ‘ขับเคลื่อนด้วยขาหลัง’ กรณีนี้ขาหลังจะทำหน้าที่หลักในการให้ความเร่ง ส่วนขาหน้าจะใช้เพื่อช่วยหยุดเดินมากกว่า
งานวิจัยนี้รายงานในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences นำทีมวิจัยโดย ดร. John Hutchinson จากวิทยาลัย Royal Veterinary College ในลอนดอน โดยกล่าวว่า ทีมวิจัยได้คิดค้นเทคโนโลยีแบบใหม่เพื่อช่วยสำรวจการเคลื่อนที่ของสัตว์ ช่วยเปิดมุมมองในการสำรวจการเคลื่อนที่ของสัตว์หลายชนิด และสิ่งที่ทีมวิจัยพบคือ ขาของช้างนั้นทำงานแปลกออกไปจากสัตว์ชนิดอื่นคือมีลักษณะเฉพาะตัวมาก แทบจะต้องเปลี่ยนความรู้เดิมเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของช้างไปเลย
ผลการศึกษานี้ช่วยอธิบายข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการศึกษาด้างการพยาบาลช้าง เช่นกรณีที่ช้างขาพิการ
งานวิจัยนี้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาการเคลื่อนที่ของช้างเอเชีย 6 เชือก โดยใช้เทคโนโลยีการจับภาพ 3 มิติ
ผู้ขี่ช้างจะพาช้างเดินไปด้วยความเร็วต่าง ๆ กัน ตลอดทางเดินที่สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ จากการทดสอบนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่า ขาช้างแต่ละข้างทำหน้าที่ทั้งขับเคลื่อนและช่วยหยุดการเดินไปด้วยในตัว
พบว่าขาช้างมีความไวน้อย แม้จะเป็นในขณะที่พวกมันวิ่งเร็ว ทำให้ขาของพวกมันมีประสิทธิภาพเครื่องกลน้อยกว่าที่คาดไว้ 2- 3 เท่า ทำให้พวกมันเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าสัตว์ชนิดอื่น
นักวิทยาศาสตร์หลายท่านรายงานไว้ว่า การใช้ขาหน้าและขาหลังในการขับเคลื่อนและหยุดเดินของช้างเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมาก เพราะโดยปกติแล้วขาหน้าและขาหลังของสัตว์สี่เท้าชนิดอื่นจะไม่ทำหน้าที่แยกกันเช่นนี้
ดังนั้นจึงสามารถเปรียบได้ว่าขาของช้างทำงานเสมือนกับรถสี่ล้อนั่นเอง...
ขอบคุณ gik_ravicha
วิชาการดอทคอม