ก่อนหน้านั้นอังกฤษได้จัดตั้งเมืองบนดินแดนเซียร์ราลีโอน
เพื่อเป็นที่อพยพของอดีตทาสผิวดำของอังกฤษ
และทหารผ่านศึกของอังกฤษจากสงครามประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา
เซียร์ราลีโอนตกเป็นอาณานิคมและฐานทัพเรือของอังกฤษ
ในการปราบปรามการค้าทาส ซึ่งทำให้ประชากรส่วนใหญ่ในกรุง Freetown
สืบเชื้อสายมาจากทาสที่ได้รับการปลดปล่อยก่อนที่จะถูกส่งไปยังอเมริกา
ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจากไนจีเรีย และแองโกลา
หลังจากเซียร์ราลีโอนได้รับเอกราช
และมีการปกครองโดยระบบพรรคการเมืองเดียว
ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Siaka Stevens ระหว่างปี 2511-2528
รัฐบาลได้แสวงหาประโยชน์จากการทำเหมืองเพชรที่มีอยู่มาก
แต่ที่ตามมาคือ ปัญหาการคอรัปชั่น การแสวงหาประโยชน์
และการบังคับใช้แรงงานในเหมืองเพชร
ได้ส่งผลให้เกิดสงครามกลางเมืองในเซียร์ราลีโอน
เหตุผลใหญ่ส่วนหนึ่งเกิดจาก ความไม่พอใจ
ความโกรธแค้น ต่อคนผิวขาว
ที่เข้ามากอบโกยผลประโยชน์
จากทรัพยากรล้ำค่าในเซียร์ราลีโอน
ประจวบกับประชาชนเกิดความขัดแย้ง
กับรัฐบาลแบบทรราชย์
ทำให้เกิดการแตกแยกเป็นหลายฝักหลายฝ่าย
♣ สงครามความโหดร้ายในแอฟริกา ♣
กลุ่มเยาวชนหัวรุนแรง
และผู้ถูกบังคับใช้แรงงานในเหมืองเพชร
ได้ลุกฮือขึ้นจัดตั้ง
กลุ่มกบฏ RUF (Revolutionary United Front)
โดยมีโฟเดย์ แซนโกห์
อดีตนักรบในกองทัพ เป็นผู้นำ
โดยได้รับการสนับสนุนจาก
นาย Charles Taylor ผู้นำไลบีเรีย
กลุ่ม RUF ได้ทำการสู้รบต่อต้านรัฐบาล
ส่งผลให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร
แย่งชิงอำนาจระหว่าง
และฝ่ายรัฐบาลพลเรือน - SLPP
(Sierra Leone People’s Party )
ซึ่งจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ
จนเกิดเป็นการสู้รบสามเส้ายืดเยื้อยาวนาน
และนั้นเป็นจุดเริ่มต้นการเกิดสงครามการเมืองอันเหี้ยมโหดขึ้น
นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1991 จนถึงปัจจุบัน
มีสถิติคนตายถึง 200,000 คน
พร้อมกับอีกหลายหมื่นคนที่ต้องพิการไปตลอดชีวิต
วิธีการของพวก RUF ที่ใช้ต่อต้านรัฐบาลคือ "การฆ่าประชาชน!"
ขนาดเอกอัครราชทูตของสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ
ถึงกลับเอ่ยปากว่าสงครามกลางเมืองครั้งนี้เป็น
"หนึ่งในความน่าสะพรึงกลัวที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์โลก
(one of the world's most repugnant insurgencies)
สงครามกลางเมืองที่สุดแสนเหี้ยมเกรียมและอำมหิต
กว่าครั้งใดๆในหน้าประวัติศาสตร์สงครามการเมือง
ก็เพราะว่าพลเมืองตาดำๆต้องเป็นผู้รับชะตากรรมอันโหดร้ายโดยตรง
นอกจากนี้เพื่อเป็นการบีบบังคับรัฐบาล
RUF ยังประกาศที่จะทำลายบ้านเมือง
ตึกรามบ้านช่องให้พังพินาศเป็นหน้ากลองอีกด้วย
ซึ่ง RUF ก็ทำตามที่ได้ประกาศไว้ด้วย
อาคารสถานที่ต่างๆทั้งในเมืองหลวง Freetown
และตามหมู่บ้านถูกทำลายด้วยอาวุธจนแหลกลาญ
พร้อมกันนี้ RUFได้ทำให้โลกต้องรับรู้กับปฏิบัติการ "ตัดข้อต่อ"
(crude amputation of limbs)
ซึ่งได้แก่การตัดแขนและมือของประชาชน
ผู้ไม่รู้อีโหน่อีเหน่เพื่อเป็นการกระพือสถานการณ์ให้เลวร้ายยิ่งขึ้น
RUF มีศัพท์แห่งความตายของตัวเองด้วยกัน 2 คำ
ถ้ามีคำสั่งแห่งว่า "Shirt Sleeve" คนๆนั้นจะถูกตัดแขนตรงบริเวณหัวไหล่
และกับคำสั่งว่า "Long Sleeve" คนๆนั้นจะถูกตัดแขนตรงบริเวณข้อมือ
วันดีคืนร้าย RUF ก็จะบุกเข้ามาในเมือง หรือไม่ก็หมู่บ้านคนธรรมดา
แล้วให้เด็กใช้ปืนยิงชาวบ้าน แบบปูพรม.....
เพื่อสังหารทหารรัฐบาล ฆ่าชาวบ้าน ปล้น จี้ ข่มขืน ฆ่าผู้ใหญ่ต่อหน้าเด็ก
รวมทั้งนำเด็กอายุตั้งแต่ 6 ขวบ (ขึ้นไป) จนถึงวัยรุ่น เอาไปฝึกอยู่ในกองทัพ
หากใครขัดขืนก็จะยิงทิ้ง หรือไม่ก็ตัดแขนตัดมือ
ส่วนคนที่ยอมเข้าพวก คนที่แข็งแรงหน่อยก็เอาไปเป็นแรงงาน
ในเหมืองเพชร(เถื่อน)
ส่วนพวกเด็ก วัยรุ่น จะให้พี้ยาเสพย์ติด แล้วติดอาวุธ
เป็นหน่วยล่าสังหารในดินแดนแห่งนี้แบบไม่รู้จบรู้สิ้น
นานาชาติได้พยายามเข้ามาส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสงครามกลางเมือง
โดยในปี 2541 กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกาตะวันตก
Economic Community of West African States (ECOWAS)
ได้ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพ
Economic of West African States Cease-fire Monitoring Group (ECOMOG)
นำโดยกองกำลังไนจีเรีย ไปยังเซียร์ราลีโอน
เพื่อปฏิบัติการรักษาสันติภาพแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ,
และในที่สุดในปี 2542 สหประชาชาติได้ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพ
United Nation Mission in Sierra Leone (UNAMSIL)
เข้าปฏิบัติการรักษาสันติภาพจนส่งผลให้สงครามกลางเมืองยุติลงในปี 2544
และมีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี และการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2545
กองทัพไทยได้มีส่วนร่วมปฎิบัติภารกิจกับสหประชาชาตินี้ด้วย
ในช่วงปี 2542-2548
โดยการส่งทหารไทยไป 6 ผลัดๆ ละ 5 นาย
(ข้อมูลจากกระดานเสวนา www.taharn.com)
ปัจจุบัน แม้ว่าเซียร์ราลีโอนจะพ้นจากภาวะสงครามกลางเมือง
แต่สหประชาชาติยังคงจัดตั้งหน่วยงาน United Nations Integrated Office
in Sierra Leone (UNIOSIL) เพื่อปฏิบัติหน้าที่การบูรณาการด้านต่าง ๆ
ในเซียร์ราลีโอน รวมทั้งจัดตั้งศาลพิเศษเพื่อเซียร์ราลีโอน
และควบคุมการส่งออกเพชรจากเซียร์ราลีโอน (Kimberly Process)
เพื่อป้องกันการส่งออกเพชรผิดกฎหมายและนำเงินมาสนับสนุนสงคราม
ครั้งหนึ่ง เซียร์ร่า ลีโอนี่ เคยได้ชื่อว่าเป็น "Athens of Africa"
เนื่องจากเป็นเสมือนศูนย์กลางแห่งศิลปะและวิทยาการของภูมิภาค SSA
แต่วันนี้ความเจริญรุ่งเรืองเมื่อครั้งอดีตกลับกลายเป็นเรื่องเล่าขานในตำนานไปเสียแล้ว
ผู้คนที่นี่ไม่เว้นแม้แต่สุนัขริมถนนก็ยังคงใช้ชีวิตอยู่ด้วยความหวาดระแวง
ผู้เฒ่าผู้แก่มักจะบอกกับอาคันตุกะจากต่างเมืองอย่างหดหู่ในช่วงตะวันลับฟ้าว่า
"Those dogs are not sleeping, they just have their eyes closed."
เมื่อ RUF ก็ยังมีอิทธิพลรังควานความสงบสุขอยู่
รัฐบาลก็หวังพึ่งไม่ได้
ทำให้ชาวเซียรา ลีโอน ต้องหาวิธีช่วยตัวเองด้วยการ
พากันไปตั้งกองกำลังต่างๆ เพื่อป้องกันตัวอยู่ทั่วประเทศ
จึงเป็นกลุ่มกองกำลังสารพัดที่แฝงอยู่ตามที่ต่างๆ
ทำให้ประเทศที่ครั้งหนึ่งน่าจะรวยที่สุดในทวีปอาฟริกา
กลายเป็นดินแดนแห่งความตายในพริบตา
ประเทศเซียรา ลีโอนี่ จึงเป็นแดนมิคสัญญีที่มีทุ่นสังหารกระจัดกระจายเกลื่อนทั่วประเทศ
แม้ประเทศนี้ เริ่มสงบลงแล้ว แต่การแก้ปัญหา การพัฒนาประเทศ
ยังไม่ดีขึ้นสักเท่าไหร่ เพราะเพชรอันเป็นที่หมายตาของกลุ่มผู้ต้องการผลประโยชน์
เพชรที่เสมือนเป็นเชื้อไฟให้นำไปสู่การทำรัฐประหาร
เพื่อชิงความเป็นใหญ่เหนือดินแดนแห่งนี้
แม้ทางสหประชาชาติได้หาทางออก
ด้วยการพยายามควบคุมธุรกิจการค้าเพชร
แต่ขบวนการค้าเพชรเถื่อนก็ยังมีอยู่
สภาพของเซียร์ร่า ลีโอนี่จึงคล้ายกับมีระเบิดเวลาซุกซ่อนอยู่
รอเพียงแต่ว่ามันจะระเบิดเมื่อไหร่เท่านั้นเอง
ความโหดร้ายของสงครามกลางเมืองแอฟริกา
1. สงครามกลางเมืองในคองโก (Democratic Republic of the Congo)
สงครามกลางเมืองในคองโกเท่าที่ผมพอจะหาข้อมูลได้พบว่ามีจำนวนผู้คนไม่น้อยไปกว่า 4 ล้านคนที่เกี่ยวข้องกับสงครามนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สงครามกลางเมืองของคองโกได้รับการเรียกขานวา the deadliest conflict เพราะมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากทั้งจากการสู้รบและโรคระบาด โดยไม่รวมไปถึงผู้ที่ต้องตายอดอยากอีกหลายพันคน ข้อมูลระบุว่ามีกองกำลังติดอาวุธประมาณ 20 กองกำลังในสงครามกลางเมืองคองโกซึ่งมีความพยายามที่จะแย่งชิงทรัพยากรโดยเฉพาะแร่เพชรและความมั่งคั่งของป่าไม้ แม้วาจะมีทำสัญญาสงบศึกษาในปี 2002 แต่ก็ยังไม่มีกลุ่มใดยอมวางอาวุธโดยที่อัตราความรุนแรงก็ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ
2. สงครามกลางเมืองในซูดาน (Sudan)
ความขัดแย้งใน Darfur region ทางภาคตะวันตกของซูดานเริ่มต้นขึ้นเมื่อกองกำลังทหารเชื้อสายอาหรับที่มีรัฐบาลซูดานให้การสนับสนุนขัดแย้งผลประโยชน์กับกลุ่มที่ไม่ใช่ชาวอาหรับในเรื่องของการแย่งชิงพื้นที่และแหล่งน้ำรวมไปถึงแหล่งน้ำมัน การสู้รบทำให้มีผู้เสียชีวิตว่า 200000 คนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยอีกว่า 2 ล้านคน
3. สงครามกลางเมืองในอูกันดา (Uganda)
สงครามกลางเมืองในอูกันดาจากเท่าที่ศึกษามาผมว่ามีความรุนแรงและมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุดประเทศหนึ่ง ความรุนแรงดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อปี 1987 เมื่อกองกำลัง the Lord's Resistance (the Lord's Resistance Army) ได้รุกรานทางเหนือของอูกันดาโดยอ้างเหตุผลในการสถาปนารัฐภายใต้บรรญัติสิบประการ (the Ten Commandments) แต่กองกำลังดังกล่าวกลับได้กระทำการอย่างรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชน เช่น การเข้าปล้นทรัพย์สินในหมู่บ้าน มีการลักพาเด็กว่า 20000 คนเพื่อบังคับให้เด็กชายเป็นทหารและที่เลวร้ายกว่านั้นเด็กหญิงจะถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างทารุณ ในขณะที่มีพลเรือนจำนวนกว่า 12000 คนถูกฆ่าตายและยังมีอีกกว่า 1.4 ล้านคนที่ไร้ที่อยู่อาศัย โดยรัฐบาลอูกันดาล้มเหลวในการป้องกันกำลัง LRA ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ในประเทศซูดานพื้นบ้านที่มีพรมแดนติดกัน
4. สงครามกลางเมืองแองโกลา (Angola)
สงครามความขัดแย้งเริ่มต้นภายหลังจากการประกาศอิสรภาพจากโปรตุเกสในปี 1974 สงครามกลางเมืองในแองโกลานี้กินเวลากว่า 28 ปีซึ่งถือว่าเป็นสงครามกลางเมืองที่ยาวนานที่สุดในแอฟริกา โดยหลังจากการประกาศอิสรภาพแล้วนั้น*กลุ่มชาติพันธุ์ (national groups) สามกลุ่มได้พยายามปลดแอกตนเองให้พ้นจากการปกครองของโปรตุเกสและได้ต่อสู้กันเองภายหลังในช่วงสงครามเย็นก็ได้กลายเป็นสงครามตัวแทน (proxy war) ของสหรัฐอเมริกาและอดีตสหภาพโซเวียต
5. สงครามการเมืองในเซียรา ลีโอน (Sierra Leone)
ในปี 1991-2002 กองกำลังปฏิวัติ the Revolutionary United Front (RUF) ได้ต่อสู้ฝ่ายรัฐบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการปกครองประเทศและสิทธิในการเข้าครอบครองแหล่งแร่เพ็ชรซึ่งมีมากในเซียรา ลีโอน ในการทำสงคราม กองกำลังปฏิวัติ the Revolutionary United Front (RUF) ได้ใช้เงินที่ได้จากการขายเพ็ชรมาซื้อมาอาวุธและได้รับการสนับสนุนจาก Charles Taylor ซึ่งต่อมาได้เป็นประะธานาธิบดีของไลบีเรีย สงครามกลางเมืองของ เซียรา ลีโอนนี้ได้รับการกล่าวถึงมากในเรื่องของการฝึกเด็กเป็นทหารและการตัดทิ้งอวัยวะของประชาชน (amputation of civilians) ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
6. สงครามกลางเมืองในไลบีเรีย (Liberia)
สงครามกลางเมืองในไลบีเรียเริ่มต้นในปี 1999 เมื่อกลุ่มกบฏ Liberians United for Reconciliation and Democracy ยึดครองฐานที่มั่นทางภาคเหนือมีการสู้รบกับกลุ่มกบฏอีกกลุ่มหนึ่งคือ the Movement for Democracy in Liberia ซึ่งได้ยึดครองพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศ ประชาชนหลายพันคนถูกฆ่าตายในระหว่างการสู้รบ รัฐบาลไม่สามารถสร้างเสถียรภาพได้จากการสู้รบและการยึดครองพื้นที่อย่างต่อเนื่องของกลุ่มกบฏ ในที่สุดเมื่อทนต่อแรงกดดันจากนานาชาติไม่ไหว ประธานาธิบดี Taylor จึงหลบหนีไปลี้ภัยไปยังไนจีเรีย
7. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา (Rwandan Genocide)
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาปี 1994 เป็นการฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ชาว Tutsi ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยและชาว Hutu ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีผู้เสียชีวิตกว่า 800000 ในช่วงเวลาเพียงกว่า 100 วัน เหตุการณ์ในรวันดาได้ชื่อว่าเป็นสงครามกลางเมืองที่นองเลือดที่สุดและเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โหดร้ายที่สุดในทศวรรษในปี 1990s
หากข้อมูลเรียบเรียงผิดพลาดประการใด ต้องขอโทษด้วย
เพราะเป็นครั้งแรกที่ จขกท. รวบรวมข้อมูลเอง
เครดิตเว็บไซด์ที่จขกท. รวบรวมมา ขอบคุณ ณ. ที่นี้ด้วย
http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=6219.msg48850
http://atcloud.com/stories/46067