ทำไมน้ำทะเลถึงเค็มและทำไมน้ำในแม่น้ำถึงไม่เค็ม?

ทำไมน้ำทะเลถึงเค็มและทำไมน้ำในแม่น้ำถึงไม่เค็ม?




การที่ทะเลมีรสเค็ม เนื่องจากการรวมตัวของน้ำละลายเกลือแร่ ที่ถูกพัดพามาจากพื้นทวีป และใต้ทะเล โดยความเค็มของทะเลจะมีความคงที่ สาเหตุที่ความเค็มของน้ำทะเลไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลานั้น ก็เพราะในมหาสมุทรมีกระบวนการของธรรมชาติที่รักษาระดับความสมดุลของเกลือแร่ คือถ้าหากว่าธาตุชนิดใดมีในน้ำมากเกินกว่าปกติ ก็จะถูกกำจัดออกจากน้ำทะเล โดยการแยกตัวออกเป็นของแข็ง ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีธาตุใดละลายน้ำน้อยเกินปกติ เกลือแร่ของธาตุนั้นในรูปของแข็ง ก็จะถูกละลายกลับสู่น้ำทะเล ดังนั้น ความ เค็มของน้ำทะเลจึงคงที่มาหลายล้านปีแล้ว

     
   น้ำทะเลเค็มเพราะมีเกลือหลายชนิดละลายอยู่ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ เกลือแกง
ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่าโซเดียมคลอไรด์ หรือ มีสูตรเคมีว่า NaCl น้ำทะเล โดยเฉลี่ยแล้วมีเกลือร้อยละ 3.5 หรือน้ำทะเล 1 ลิตรจะมีเกลือละลายอยู่ประมาณ 30 กรัม ยิ่งไปกว่านั้น ทะเลในแผ่นดินใหญ่หรือทะเลปิด ซึ่งไม่เชื่อมต่อกับทะเลหรือมหาสมุทรทั่วไป เช่น ทะเลเมดิเตอเรเนียนหรือทะเลแดง เกลือละลายอยู่มากกว่าทะเลหรือมหาสมุทรทั่วไป

         
ส่วน ทะเลที่มีความเค็มมากที่สุดได้แก่ ทะเลเดดซี(Dead Sea) ในประเทศอิสราเอล ซึ่งมีเนื้อที่เพียง 340 ตารางไมล์ เท่านั้น โดยมีปริมาณเกลือมากถึง 10,523,000,000 ตัน ถ้าเราสามารถระเหยเอาน้ำทั้งหมดออกไปจากทุกทะเลและมหาสมุทรในโลกได้จนแหล่ง น้ำเหล่านี้แห้งลงจะพบว่า เกลือที่เหลืออยู่จะมีปริมาณมากมายมหาศาลจนเหลือเชื่อ ถ้านำเกลือเหล่านี้ทั้งหมดมารวมเป็นกอง จะได้กำแพงที่สูง 180 ไมล์ และหนา 1 ไมล์ หรือมวลของเกลือทั้งหมดมีขนาดประมาณ 15 เท่าของมวลทั้งหมดของพื้นที่ทวีปยุโรป

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์