เปิดโลกมุสลิม: การแต่งตัวของมุสลิมและมุสลิมะห์ไทย
สังคมส่วนใหญ่จะนึกถึงการแต่งกายของมุสลิมะห์ เป็นอันดับแรก และที่ตามมานั่นก็คือความแตกต่างและปัญหาในการเข้าสังคมว่าในสังคมนักศึกษา
สังคมในที่ทำงานทั้งภาค รัฐและภาคเอกชนที่ไม่ใช่อิสลาม แต่ทุกวันนี้เรื่องการแต่งกายของมุสลิมะห์ได้เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายไป ทั่ว โดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทยนักศึกษาสามารถแต่งกายตามหลักศาสนาได้ตั้งแต่อนุบาล จนถึงระดับมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่สังคมการทำงาน เป็นนโยบายของรัฐบาลที่เปิดทางสร้างความเสมอภาคของการปฏิบัติตามหลักการของ ศาสนาต่างๆ ในประเทศไทย
จะเป็นการดีไม่น้อย หากจุฬาราชมนตรีคนใหม่ มีส่วนทำให้มุสลิม (ผู้ชายนับถือศาสนาอิสลาม) และมุสลิมะห์ (ผู้หญิงที่นับถือศาสนาอิสลาม) มีโอกาสได้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักศาสนา ในระหว่างปฏิบัติงาน หรือศึกษา อนุญาตให้มุสลิมได้ไปละหมาดยุมะอะห์ (ละหมาดวันศุกร์เฉพาะผู้ชาย) ในวันศุกร์ โดยออกก่อนเวลางานเพื่อไปร่วมพิธีการละหมาด และกลับหลังเวลางานโดยจะปฏิบัติงานชดเชยเวลาที่ใช้ไปในช่วงนั้นแทน
รวมทั้งอนุญาตให้มุสลิมะห์แต่งกายถูกต้องตามหลักศาสนาการคลุมฮิญาบ (การคลุมผม) โดยไม่ถือเป็นการผิดระเบียบในสถานที่ศึกษาและสถานที่ทำงาน จัดห้องห้องสำหรับประกอบศาสนกิจห้องละหมาด เพื่อความสะดวกในการละหมาดของพนักงานหรือนักศึกษาที่นับถือศาสนาอิสลามได้ ปฏิบัติศาสนกิจ และ ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ทางภาครัฐให้ความสำคัญและสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ ของสังคมมุสลิมหรือให้พนักงานหรือนักศึกษาได้หยุดเพื่อร่วมวันสำคัญต่างๆ ของศาสนา
อันที่จริงถ้าพูดถึงเรื่องการแต่งกายตามหลักศาสนาแล้วไม่ใช่เรื่องที่ น่าจะสร้างความแตกแยกถึงแม้จะแตกต่างก็ตาม แต่จะเป็นการดีไม่น้อยหากภาครัฐและคนไทยมุสลิมมาช่วยกันจัดระเบียบการอิสลาม ว่าด้วยเรื่องการแต่งกายให้ออกมาดูดีและเป็นมุสลิมไทยอย่างสวยงาม เพราะทุกวันนี้มีความพยายามใช้ความคิดและเก็บเอาวัฒนธรรมการแต่งกายของ ประเทศอาหรับมาใช้ในประเทศไทย จนไม่มีความเป็นเอกลักษณ์ของมุสลิมไทย ขอฝากทุกสังคมมุสลิมในประเทศไทยในเรื่องนี้ด้วยนะครับ เพื่อความเป็นหนึ่งในมุสลิมและหนึ่งในการยอมรับของสังคมที่ไม่ใช่อิส ลาม...อามีน...ยาร็อบ
วิชาการดอทคอม