คุณเป็นแบบนี้หรือเปล่า?...ผู้ใหญ่สมาธิสั้น


            คุณเป็นแบบนี้หรือเปล่า? ขับรถหลงทางโดยเฉพาะลงทางด่วนผิดบ่อย, เมื่อมีการประชุม คุณมักจะนำออกนอกประเด็น จำข้อมูลผิด มองข้ามเนื้อหาหลักที่ประชุมกันอยู่, ขณะทำกิจกรรมกับคนหมู่มากที่ต้องนั่งนานๆ เช่น การเรียนหนังสือ การดูคอนเสิร์ต คุณมักต้องเปลี่ยนที่นั่งอยู่บ่อยครั้งเพราะรู้สึกไม่สบาย , เขินอายบ่อยๆ เมื่อสนทนากับผู้อื่นเพราะไม่ได้ใส่ใจคำพูดของอีกฝ่ายหนึ่ง, ลืมของใช้ส่วนตัวไว้ตามสถานที่ต่างๆ เป็นต้น

คุณเป็นแบบนี้หรือเปล่า?...ผู้ใหญ่สมาธิสั้น



หากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เกิดขึ้นกับคุณบ่อยครั้ง นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงกับคุณ ยังทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงานแย่ลงไปด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของคุณโดยตรง ทำให้การทำงานไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ซึ่งส่งผลกระทบให้

           - บางคนถูกมองว่าเป็นคนขาดความรับผิดชอบและผัดวันประกันพรุ่ง
           - หัวหน้ามักต่อว่าเกี่ยวกับการทำงานว่าไม่มีประสิทธิภาพ
           - เป็นผู้บริหารร้อยโครงการคิดเร็ว เปลี่ยนแปลงเร็ว มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย
           - เป็นคนใจร้อนไม่สามารถรอคอย เช่น การยืนต่อแถวยาวๆ ได้
           - อ่านหนังสือมักผิดพลาด มักสะกดคำหรือคิดเลขผิดบ่อยๆ
           - บางคนอาจมีอาการทำอะไรเชื่องช้าไปทุกอย่าง

           ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็น แค่ส่วนหนึ่งของโรคสมาธิสั้นอาการของโรคสมาธิสั้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนการรักษาโรคสมาธิสั้นให้ได้ผลดีนั้นต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเล็กโดย เฉพาะเด็กก่อนวัยเรียนถึงวัยรุ่นตอนปลาย ทำได้โดยการสังเกตพฤติกรรม โดยที่พ่อแม่หรือครูจะเป็นคนที่สามารถสังเกตเห็นว่าเด็กซนอยู่ไม่นิ่งและมี ผลการเรียนที่แย่ลง อย่างไรก็ดีผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นหากได้รับการวินิจฉัยที่เร็วและได้ รับการรักษาก็จะทำให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ไม่ยากลำบาก

ผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นมากน้อยแค่ไหน?
           มีผู้กล่าวไว้ว่า ผู้ใหญ่ที่มีอาการสมาธิสั้นเริ่มต้นมาจากเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมาก่อน โดยมีความชุกอยู่ที่1-2 % ซึ่งพบว่าครึ่งหนึ่งของเด็กสมาธิสั้นมักมีอาการอยู่ไม่นิ่ง จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่แล้วอาการก็ยังคงปรากฏอยู่ถึง 30-80 %โดยจะแพทย์เป็นผู้ทำการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่จากหลักเกณฑ์ดังนี้

           1. DSM-IV และ ICD-10 ที่ใช้วินิจฉัยสมาธิสั้นในเด็กนั้น ต้องใช้การสังเกตอาการแสดงออก พฤติกรรมและการซักประวัติโดยแพทย์ ซึ่งประวัติจะได้จากพ่อแม่และครู ตั้งแต่เด็กก่อนวัยเรียน อย่างไรก็ดีอาการที่เห็นได้ชัดเจนและทำให้คิดถึงโรคสมาธิสั้นมากขึ้น เช่น ความไม่เอาใจใส่ อาการหุนหันพลันแล่น ความไม่รอบคอบและการขาดสมาธิ เป็นต้น

           2. เกณฑ์มาตรฐานยูท่า Paul Wender และทีมงาน ได้พัฒนาเกณฑ์การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษา สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ โดยเกณฑ์นี้ได้มาจากการซักประวัติอาการแสดงของโรคสมาธิสั้นในเด็กและใน ผู้ใหญ่ ซึ่งโดยสรุปแล้วจะต้องพบลักษณะอาการแสดง 2 อาการดังต่อไปนี้

           * ความไวของกล้ามเนื้อต่อสิ่งกระตุ้นและความวิตกกังวลภายในใจ (hyperactivity)
               - ไม่สามารถผ่อนคลายและทำกิจกรรมที่อยู่กับที่ได้นานๆ เช่น การนั่งอ่านหนังสือหรือการดูโทรทัศน์
               - มีอาการวิตกกังวลและความรู้สึกกังวลที่มีอยู่ในใจซึ่งไม่สามารถแสดงออกมาอย่างชัดเจนได้

           * การขาดความเอาใจใส่ (inattention) เช่น การไม่สนใจผู้ร่วมสนทนา การอ่านหนังสือแต่จับใจความไม่ได้ เป็นต้น และสิ่งที่เห็นได้ชัดในชีวิตประจำวันคือ มักขี้ลืมวางของผิดที่เสมอๆ

นอกจากนี้ยังพบอาการได้อย่างน้อยสองข้ออันได้แก่
           - ความบกพร่องทางอารมณ์ มีอารมณ์แปรปรวนต่อกันหลายชั่วโมงในหลายวัน มีความรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่พอใจอย่างไม่มีเหตุผล
           - การทำงานไม่ประสบความสำเร็จ เช่น ขาดระเบียบวินัย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือจัดการเรื่องเวลาได้ และไม่สามารถจดจ่อกับหน้าที่นานๆ ได้
           - มีปัญหาทางด้านอารมณ์มักจะโมโหง่ายและระเบิดออกมา
           - อารมณ์หุนหันพลันแล่น มักตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงทันที มีพฤติกรรมต่อต้านความคิดและขาดความคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ
           - มีความอดทนอดกลั้นต่ำและไม่สามารถทนต่อความเครียดหรือแรงกดดันได้รู้สึกวิตกกังวล สับสนหรือรู้สึกโกรธที่ไม่สามารถจัดการกับปัญหาและต้องเผชิญกับสิ่งที่เข้ามากระตุ้นในแต่ละวัน



คุณเป็นแบบนี้หรือเปล่า?...ผู้ใหญ่สมาธิสั้น



ความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจเกิดร่วมกันได้กับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้น
           Shokin และทีมงานได้สำรวจผู้ใหญ่อายุ 19-65 ปี จำนวน 56 คน พบว่าผู้ใหญ่สมาธิสั้นมีความวิตกกังวลมากที่สุดถึง 53 % และหันไปติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และติดยาเสพติดถึง 34 % และ 30 % ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีอารมณ์เก็บกดและรู้สึกหดหู่เท่าๆ กับอารมณ์ตื่นเต้นสลับกับอารมณ์ซึมเศร้าถึง 25 % แต่จากผลการสำรวจก็พบว่ามี 14 % เป็นโรคสมาธิสั้นอย่างเดียวโดยไม่มีโรคร่วมอื่นๆ แต่อย่างไรก็ดีการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ต้องประเมินด้วยความระมัดระวังและต้องประเมินโดยจิตแพทย์เท่านั้น

ในการประเมินโรคแพทย์จะใช้ การซักประวัติจากผู้ป่วยและญาติ โดยใช้คำถามเจาะลึก ตัวอย่างคำถามเช่น

           “เมื่อเป็นเด็กอาการเริ่มเมื่อใด” โรคสมาธิสั้นในเด็กมัก แสดงอาการเมื่ออายุน้อยกว่า 7 ปี

           “มีระดับความรุนแรงของโรคมากน้อยแค่ไหน”

           “บ่อยแค่ไหนที่ไม่สามารถรับมือกับโรคหรือควบคุมพฤติกรรมได้” เกิด ขึ้นอย่างน้อยสองสถานการณ์ในสถานที่อันได้แก่ บ้าน โรงเรียน สนามเด็กเล่น หรือที่ทำงาน

           “ประวัติครอบครัวว่ามีใครที่เป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่”

           “การตรวจระดับสติปัญญา (IQ)” ซึ่งจะพบว่ามีระดับสติปัญญา ปกติการสังเกตและการบันทึกพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ การประเมินความรุนแรงของโรคและการวางแผนการรักษาทำได้ดีมากยิ่งขึ้น

ผลกระทบของสมาธิสั้นต่อชีวิตของผู้ป่วย
           - ในวัยเด็กถึงวัยรุ่นตอนปลายจะมีปัญหาการขาดความเอาใจใส่ต่อการเรียน
           - ส่วนในวัยผู้ใหญ่ก็จะมีผลต่อการทำงาน การดำรงชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ

           ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย ชอบออกนอกเรื่องและมองข้ามในรายละเอียด การพูดโพล่งเมื่อฟังคำถามยังไม่จบ ไม่รู้จักการรอคอย และการทำอะไรรุนแรงก้าวร้าวต่อตนเองหรือบุคคลอื่น สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ซึ่งจะส่งผลให้กลายเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ประสบความสำเร็จในงาน และมักเก็บตัวจนกลายเป็นผู้ที่มีโรคซึมเศร้า จนเกิดความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายในที่สุด แต่การช่วยเหลือสามารถทำได้ถ้าพบภาวะสมาธิสั้นตั้งแต่เด็ก การรักษาต้องทำอย่างต่อเนื่องและอาศัยการร่วมมือจากหลายฝ่าย กล่าวโดยสรุปคือสมาธิสั้นสามารถรักษาได้



ขอขอบคุณสสส. และวิชาการดอทคอม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์