คุณรู้หรือไม่...เว็บไซต์แรกของโลก
Tim Berners-Lee เกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรของนาย Convey Berners-Lee และนาง Mary Lee Wood 2 นักคณิตศาสตร์ ผู้อยู่ในทีมสร้างคอมพิวเตอร์ "Manchester Mark 1" ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ยุคแรกของโลก ซึ่งในช่วงเดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2523 Tim Berners-Lee ทำงานเป็น Freelance อยู่ที่ Cern และเขาเสนอโครงการ "ข้อความหลายมิติ" (Hypertext) ขึ้นเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักวิจัยด้วยกัน โดยมีการเริ่มสร้างระบบต้นแบบไว้แล้ว ในชื่อ ENQUIRE
ทั้งนี้ ในปี 2532 Cern ถือเป็นศูนย์อินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และ Berners-Lee ได้เล็งเห็นโอกาสในการใช้ "ข้อความหลายมิติ" ผนวกเข้ากับอินเทอร์เน็ต เขาเขียนไว้ในข้อเสนอโครงการของเขาเมื่อเดือนมีนาคม 2532 ว่า "...ผมเพียงเอาความคิดเรื่องข้อความหลายมิตินี้เชื่อม ต่อเข้ากับความคิด "TCP" และ "DNS" และเท่านั้นก็จะได้ "World Wide Web”
ในปี 2533 Robert Cailliau ก็เข้ามาช่วยปรับร่างโครงการให้ ซึ่ง Berners-Lee ได้ใช้ความคิดเดียวกับระบบเอ็นไควร์มาใช้สร้าง World Wide Web โดยได้ออกแบบและสร้างเว็บเบราว์เซอร์และเอดิเตอร์ตัว แรก เรียกว่า WorldWideWeb และพัฒนาด้วย NEXTSTEP เรียกว่า httpd ซึ่งย่อมาจาก HyperText Transfer Protocal Deamon
คอมคู่ชีพเครื่องแรกของ Tim Berners-Lee ประวัติศาสตร์อินเตอร์เน็ต บันทึกไว้ว่า เว็บไซต์แรกสุดที่ Cern นำขึ้นออนไลน์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2534 โดยให้คำอธิบายว่า www คืออะไร การที่จะเป็นเจ้าของบราวเซอร์ทำได้อย่างไร และจะติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างไร
จากนั้น Berners-Lee ก็ให้ความคิดแก่ทุกคนและทุกองค์กรโดยไม่คิดมูลค่า เขาไม่เคยจดทะเบียนลิขสิทธิ์การค้นคิดของเขาเลย รวมทั้งไม่เรียกค่าตอบแทนหรือรางวัลอื่นใดจากใคร นอกจากเงินเดือนปกติ ดังนั้น กลุ่มบริษัท World Wide Web จึงตัดสินใจไม่คิดมูลค่าใด ๆ จากการนำมาตรฐานของกลุ่มบริษัทไปใช้ เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายยอมรับมาตรฐานเดียวกันได้ บนพื้นฐานทางเทคโนโลยี ไม่ใช่พื้นฐานค่าสิขสิทธิ์ถูกหรือแพง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด ที่ในปี 2548 Tim Berners-Lee ได้รับยกย่องจากนิตยสาร Time ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลของศตวรรษที่ 20
นอกจากนั้น ในวันที่ 13 มิถุนายน 2550 เขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายหน้า จากสมเด็จพระบรมราชินีเอลิซาเบธที่ 2 เป็นการส่วนพระองค์ (Tim จึงมีคำว่า"เซอร์" นำหน้าชื่อ) ซึ่งนับถึงวันนี้ คนที่ได้รับเครื่องราชนี้ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีเพียง 24 คนเท่านั้น
by ::..:: ก บ เ รื อ ง แ ส ง ::..::