มวยไทยเรียนไม่รู้จักจบ เป็นจริง

มวยไทยเรียนไม่รู้จักจบ เป็นจริง



จะมีสักกี่คนที่ทราบว่า  มวยไทย  เป็นทั้งศิลปะและศาสตร์แห่งการต่อสู้ที่ประมาณค่ามิได้ ?

คำพูดนี้หากผมเป็นผู้ที่ต้องตอบคำถามนี้ละก็    ผมคงตอบได้หลายมุมทีเดียว  และนี่คือคำตอบของผม

คำตอบที่เห็นง่ายที่สุดและใกล้ตัวที่สุดคือ ราคาของมวยไทย คือ ราคาที่คนชนะพนันได้รับ  และราคาที่คนแพ้พนันเสีย

ราคาของมวยไทย คือ ผลประโยชน์ ที่ค่ายมวยและนักมวยได้รับ

ราคาของมวยไทย คือ ผลประโยชน์มหาศาลที่โปรโมเตอร์มวย และเจ้าของสนามมวยได้รับ

ราคาของมวยไทย คือ ผลประโยชน์มหาศาลที่นักมวยมากฝีมือ   ไปตั้งค่ายมวยที่เมืองนอกกอบโกยเงินเข้ากระเป๋าอย่างง่ายดาย

แต่ที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดในทัศนะของผมคือ  ราคาของมวยไทย คือ ราคาของความเป็นอิสรภาพของคนไทยทุกคน

และจากทัศนะนี้ จะเกิดคำถามตามมาคือ แล้วราคาของอิสรภาพ    ราคาเท่าไหร่ล่ะ?

ลองตอบคำถามนี้ดู ว่า ท่านจะตอบว่าราคาเท่าไหร่

อยุธยาต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้พม่าเมื่อไทยเสียกรุงครั้งที่ 1 ในพ.ศ. 2112 ราคาเท่าไหร่

อยุธยาโดนเผาจนวอดวายราคาเท่าไหร่

การตกเป็นเบี้ยล่างของพม่า   โดนปล้นสะดม ทรัพย์ทั้งหมดที่หามาชั่วชีวิตของคนไทยตอนเสียกรุงครั้งที่ 2  เมื่อ พ.ศ.2310 ราคาเท่าไหร่

การที่ผู้หญิงไทยโดนพม่าย่ำยี   ข่มขืน  นับไม่ถ้วน แล้วฆ่าทิ้ง    ราคาเท่าไหร่

ลองมองไปไกลกว่านั้นหน่อยเป็นไร

ราคาของทรัพยากรธรรมชาติที่ พม่า   อินเดีย    จีน  ต้องสูญเสียไปจากการกลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษ    ราคาเท่าไหร่

และราคาของพื้นที่ของประเทศไทยที่สูญไปจากฝีมือของอังกฤษ ฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5 ราคาเท่าไหร่

ถ้า ทุกท่านได้คำตอบแล้ว    คำตอบนั้นก็แสดงถึงราคาของมวยไทย    เพราะมวยไทย คือ อาวุธหลักที่คนไทยใช้   นอกจากอาวุธที่เป็นอาวุธหลักอื่น ๆ เช่น ดาบ ปืน ปืนใหญ่  เมื่อกู้เอกราชที่สูญเสียไปทุกครั้งในอดีตที่ขมขื่นคืนมา

สรุป ก็คือราคาของมวยไทยนั้น  ราคาประมาณค่าไม่ได้จริง ๆ เพราะ เกี่ยวข้องกับ ความสุขของชาติที่คนไทยในอดีตพยายาม   ห่วงแหนและรักษาไว้ให้ลูกหลานด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านมีรวมถึงชีวิตของ ท่าน

“อย่าให้มวยไทยไชยาตายไปพร้อมกับครู” คำพูดสั้น ๆ ที่แฝงด้วยความเป็นห่วงกังวลของครูแปรงดังก้องกระทบโสตประสาทของผม

ผมจะตอบแทนบุญคุณของครูแปรงที่ประสิทธิ์ประสาทวิชามวยไทยไชยาและบรรพบุรุษครูมวยและเหล่าผู้กล้าในอดีตได้อย่างไร

“ถ้าผมเป็นครูแปรง   ผมจะทำอย่างไร?”

ผม ถามคำถามนี้กับตนเอง    และคำตอบที่ได้รับคือหนทางหนึ่งที่มวยไทยจะไม่ตายไปพร้อมกับครูก็คือ    ถ้ามวยไทยมีหลักวิชาฝังรากลึกไว้ในแผ่นดินนี้เมื่อใด    ภูมิปัญญาของไทยก็จะอยู่ได้ต่อไป   ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีคนไทยในปัจจุบันคนใดสืบทอดเช่นในอดีตหรือไม่ก็ตาม    และหากสักวันหนึ่งลูกหลานของคนไทยอย่างน้อย 1 คนทุ่มเทชีวิตของเขาเพื่อเรียนสิ่งที่เราสั่งสอนและฝังรากลึกไว้เช่นเดียว กับครูแปรงได้ร่ำเรียนวิชามวยกับครูทอง   ครูทองได้ร่ำเรียนจากปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย  และอาจารย์ กิมเส็ง   แล้ว     มวยไทยแท้ ๆ ก็จะกลับมาเติบโตอีกครั้งได้อย่างแน่นอนในอนาคต    แต่หากยังไม่มีผู้ใดทุ่มเทฝึกฝน  ความรู้นี้จะนอนสงบนิ่งอย่างเงียบ ๆ รอคอย  ผู้ที่คู่ควร มาเปิดอ่านฝึกฝน ราวกับพูดว่า หากความมุ่งมั่นของเจ้ามากพอ (ฉันทะ) ความเพียรของเจ้าเหลือเฟือ(วิริยะ)  สมาธิของเจ้าจดจ่อ(จิตตะ) และค้นคว้าความรู้ที่ครูได้ปูรากฐานไว้ (วิมังสา)   ความสำเร็จที่เจ้าใฝ่ฝันก็อยู่แค่เอื้อม

ตัวอย่างที่ เห็นง่าย ๆ ในปัจจุบันคือ   มวยไทยโบราณที่วาดลวดลายบนจอภาพยนตร์ด้วยผลงานของ จาพนม ยีรัม  ของคนไทย หรือโทนี จา  ของคนทั้งโลก

มวยไทยเรียนไม่รู้จบ คำพูดของปรมาจารย์เขตร ซึ่งสืบทอดมาจนถึงครูแปรง ประโยคนี้หากมองโลกในแง่ร้าย ก็จะได้คำตอบง่าย ๆ ว่า เป็นราคาคุย    แต่ในทางตรงข้ามหากมองโลก 2 ด้าน ก็จะเกิดคำถามว่า  ทำไมอัจฉริยบุคคลของไทยในอดีตจึงกล่าวคำนี้อย่างมั่นใจไม่ลังเลเช่นเดียวกับ ครูแปรงผู้รักมวยไทยเช่นเดียวกับชีวิตของท่าน   เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้เป็นอัจฉริยะจะพูดสิ่งที่ตื้นเขินให้ลึกซึ้ง หรือโฆษณาชวนเชื่อ

หากกล่าวแบบสามัญคนที่ไม่ศึกษา  มวยไทยแล้วไซร้  จะพบว่า มวยไทยสามารถต่อยตีได้ทั้งหมด คือ  25 วิธี เท่านั้น   กล่าวคือ  นาย ก  สามารถจู่โจมนาย ข  ได้ทั้งหมด 5 วิธี คือ นาย ก ใช้ อาวุธ 5 อย่างของตนคือ หมัด  เท้า เข่า ศอก  หัว ในทำนองเดียวกัน นาย ข ก็สามารถใช้ อาวุธ 5 อย่างของตนคือ หมัด  เท้า เข่า ศอก  หัว ตอบโต้ การต่อยตี ของนาย ก  ดังนั้น เมื่อนำ อาวุธทั้งหมด มาจับคู่กันจะพบว่า จับคู่ได้ 25 วิธีคือ

จากตารางที่ 2 จะเห็นว่า

(1) นาย ข สามารถป้องกันการต่อยตีของ นาย 5 ได้ 5 แบบ คือ หมัดเท้า- เข่า- ศอก- หัว

(2) นาย ข สามารถโจมตีการต่อยตีของ นาย ก ได้อีกคิดเป็น 5x5=25 แบบ คือ

(2.1) ป้องกันด้วยหมัด  โจมตีด้วย หมัด-หรือเท้า- หรือเข่า- หรือศอก- หรือหัว  (1x5=5 วิธี)               

(2.2)ป้องกันด้วยเท้า  โจมตีด้วย หมัด-หรือเท้า- หรือเข่า- หรือศอก- หรือหัว  (1x5=5 วิธี) 

(2.3)ป้องกันด้วยเข่า  โจมตีด้วย หมัด-หรือเท้า- หรือเข่า- หรือศอก- หรือหัว  (1x5=5 วิธี) 

(2.4)ป้องกันด้วยศอก  โจมตีด้วย หมัด-หรือเท้า- หรือเข่า- หรือศอก- หรือหัว  (1x5=5 วิธี)         

(2.5) ป้องกันด้วยหัว  โจมตีด้วย หมัด-หรือเท้า- หรือเข่า- หรือศอก- หรือหัว  (1x5=5 วิธี)

หลังการโจมตีแล้ว   นาย ข ก็สามารถ “ติดตาม”  ต่อยตีของ นาย ก ได้อีกคิดเป็น 5x5x5=125 แบบ  เช่น
 (2.1.1) ป้องกันด้วยหมัด  โจมตีด้วย หมัด  และติดตามด้วยหมัด
(2.1.2) ป้องกันด้วยหมัด  โจมตีด้วย หมัด  และติดตามด้วยเท้า   
(2.1.3) ป้องกันด้วยหมัด  โจมตีด้วย หมัด  และติดตามด้วยเข่า   
(2.1.4) ป้องกันด้วยหมัด  โจมตีด้วย หมัด  และติดตามด้วยศอก   
(2.1.5) ป้องกันด้วยหมัด  โจมตีด้วย หมัด  และติดตามด้วยหัว   

หลังการโจมตี และติดตามแล้ว   นาย ข ก็สามารถ “ซ้ำเติม”  ต่อยตี นาย ก ได้อีกคิดเป็น 5x5x5x5=625 แบบ  เช่น
(2.1.1.1) ป้องกันด้วยหมัด  โจมตีด้วย หมัด  และ ติดตามด้วยหมัด อีกทั้ง ซ้ำเติมด้วย หมัด
(2.1.1.2) ป้องกันด้วยหมัด  โจมตีด้วย หมัด  และ ติดตามด้วยหมัด อีกทั้ง ซ้ำเติมด้วย เท้า
(2.1.1.3) ป้องกันด้วยหมัด  โจมตีด้วย หมัด  และ ติดตามด้วยหมัด อีกทั้ง ซ้ำเติมด้วย  เข่า
(2.1.1.4) ป้องกันด้วยหมัด  โจมตีด้วย หมัด  และ ติดตามด้วยหมัด อีกทั้ง ซ้ำเติมด้วย ศอก
(2.1.1.5) ป้องกันด้วยหมัด  โจมตีด้วย หมัด  และ ติดตามด้วยหมัด อีกทั้ง ซ้ำเติมด้วย หัว

จาก ตัวอย่างจะเห็นว่า มวยไทยที่ดูผิวเผิน จำนวนวิธีเข้าต่อยตีกันและกัน   หาได้หยาบที่สุดจาก

1. วิธีการต่อยตีทางด้าน นาย ก  (5 วิธี)
และ 2. วิธีการต่อยตีทางด้าน นาย ข  (อีก 5 วิธี)   ซึ่งสรุปได้เป็นครั้งที่ 1 คือ 5x5 = 25 วิธี

แต่หากนำวิธีการต่อยตีทางด้าน นาย ก  (5 วิธี) มาคิด  แต่พิจารณาขยายวิธีการของ นาย ข จาก 5 วิธี เป็น 25 วิธี  (ป้องกันและโจมตี = 2 ขั้น ) หรือ 125 วิธี (ป้องกันโจมตีและติดตาม = 3 ขั้น)  หรือ 625 วิธี (ป้องกันโจมตีติดตามและซ้ำเติม = 4 ขั้น) แล้ว     (ในทางวิชาการเรียก วิธีการเชิงพลวัตร หรือ ภาษาอังกฤษใช้ dynamic approach) จะสามารถสรุปใหม่เป็นครั้งที่ 2 คือ
(1)   5x25    = 125    วิธี  (นาย ก และนาย ข ป้องกัน-และโจมตี = 2 ขั้น )  หรือ
(2)   5x125  = 625    วิธี  (นาย ก และนาย ข ป้องกัน-โจมตี -และติดตาม= 3 ขั้น ) หรือ
(3)   5x625  = 3,125 วิธี  (นาย ก และนาย ข ป้องกัน-โจมตี-ติดตาม-และซ้ำเติม= 4 ขั้น )

จาก พื้นฐานนี้ จะเห็นว่า มวยไทยหากสามารถ รับรุก หรือรุกรับ อย่างละเอียดขึ้น ความซับซ้อนก็จะมากเป็นเงาตามตัว   คำกล่าวผิวเผินที่ว่า มวยไทย  ไม่เห็นมีอะไร  อาจสะท้อนวิธีการมอง วิธีการคิด ของผู้พูดได้ว่า ตื้นหรือลึก  เช่นไร

แต่มวยไทยกลับไม่ง่ายเพียงแค่การแสดงท่ามวยออก ได้ เพียง 125 ถึง 3125 วิธีเท่านั้น   ลองมาพิจารณากันต่อไปทำไมปรมาจารย์เขตร และครูแปรงจึงพูดไว้ตรงกัน ว่ามวยไทยเรียนได้ไม่จบ

*********************************************************************

เมื่อนำชีวิตของคนผู้หนึ่งมาคำนวณ  โดยสมมุติว่า เรียนมวยไทยตั้งแต่อายุ 5 ขวบ จนเสียชีวิตในวัย 80 ปี เท่ากับเขาจะมีชีวิตอยู่ 75 ปี หรือ 900 เดือน หรือประมาณ 27,000 วันหากเขาฝึกมวยไทยวันละ 12 ชั่วโมง แสดงว่า จะมีเวลาฝึกมวยไทยได้ทั้งสิ้น 324,000 ชั่วโมงเท่านั้น แต่มีท่าที่เขาต้องฝึกถึง 3 เท่าคือ เกือบล้านวิธี     จึงสรุปเพื่อจบบทความนี้ว่า เป็นไปไม่ได้ที่คน 1 คน จะสามารถเรียนมวยไทยจนจบ  หรือ คำกล่าวที่ว่า มวยไทยเรียนไม่รู้จักจบ เป็นจริง


ประโยชน์ ที่เห็นได้ชัดมาสำหรับการหยั่งรู้  ความเป็นไปได้ที่จะสามารถแสดงท่ามวยในทัศนะของผม มีมากมาย  กล่าวคือ ง่ายที่สุดคือการเข้าใจคำสอนของบูรพาจารย์ในอดีต    ต่อมาคือ เพิ่มวิริยะความเพียร ลงไปเพื่อฝึกซ้อมให้มากขึ้น เพราะ ระยะทางที่ผมจะก้าวเดินเพื่อบรรลุถึงความรู้เกี่ยวกับมวยไทยยังมีอีกมากมาย ไพศาลเปรียบได้กับท้องมหาสมุทรที่กว้างใหญ่และลุ่มลึก  อีกทั้งยังสามารถช่วยละทิฏฐิมานะของตนว่า “รู้เรื่องมวยไทยได้ดีพอแล้ว” เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะทราบกระจ่างทั้งหมดเกี่ยวกับมวยไทย

มวยไทยจึงไม่ใช่มวยที่สร้างขึ้นมาจากบรรพชนที่โง่เขลา  ตรงข้ามบรรพชนผู้เป็นอัจฉริยะเท่านั้นจึงจะสร้างสรรค์มวยไทยให้ลูกหลานได้มี วาสนาได้ร่ำเรียนกัน   ผู้สร้างในอดีตล้วนเป็นอัจฉริยะ  การบ้านที่เราต้องมาทบทวนพิจารณา ก็คือ คนรุ่นของเราจะมีปัญญารักษาสมบัติอันประมาณค่ามิได้นี้ไว้ได้หรือเปล่าและ นานสักเพียงใดต่างหาก

เพื่อความง่ายในการอ่าน อ่านฉบับเต็มได้จาก

คุณค่าของมวยไทย โดย  รศ.ดร.ปรเมสฐ์ บุญศรี
บทความจาก ศูนย์ศึกษาสยามยุทธ์บ้านครูแปรง

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์