รู้เท่าทัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน

รู้เท่าทัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน


รู้เท่าทัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน


คุณอาจจะคิดว่า เมื่อผ่านพ้นช่วงวัยรุ่นไปแล้ว ความสูงก็จะคงที่ แต่แท้จริงแล้วกระดูกยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเนื้อกระดูกเดิมจะถูกทำลาย และแทนที่ด้วยเนื้อกระดูกที่สร้างใหม่ แต่เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป การทำลายจะมีมากกว่าการสร้างใหม่ ทำให้เนื้อกระดูกลดลงทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่เพศหญิงโดยธรรมชาติแล้วก็จะมีมวลกระดูกน้อยกว่าเพศชาย และยิ่งเมื่อหมดประจำเดือน อัตราการสูญเสียเนื้อกระดูกจะสูงกว่าเพศชายถึง 3 เท่า ทำให้เพศหญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าเพศชาย เมื่อความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลง กระดูกก็เปราะบาง ทำให้มีโอกาสแตกหักได้ง่าย โดยเฉพาะตรงข้อมือ สะโพก และกระดูกสันหลัง

อาการ
  • ปวดเกร็งก้านคอ
  • ปวดหลังเรื้อรัง
  • ส่วนสูงลดลง
  • กระดูกสะโพก ข้อแขนหรือสันหลังหัก
  • ไหล่งุ้มกว่าปกติ
  • พุงยื่น หลังแอ่น
  • ฟันหลุดง่าย
ปัจจัยเสี่ยง
  • เพศหญิง มีโอกาสเกิดโรคมากกว่าเพศชาย
  • เชื้อชาติ ผิวขาว และเอเชีย โอกาสเกิดโรคมากกว่า นิโกร
  • ประวัติครอบครัวเคยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
  • ภาวะขาด (หมด) ประจำเดือนเร็ว / ผ่าตัดรังไข่
  • คนรูปร่างผอม, BMI (BODY MASS INDEX) ต่ำ
  • คนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย
  • ได้รับยากลุ่ม สเตียรอยด์ , ยากันชัก , ยาธัยรอยด์
  • รับประทานอาหารไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก , รับประทานเกลือโซเดียมและฟอสเฟตในปริมาณสูง , รับประทานแคลเซียมน้อย
  • ชอบดื่มกาแฟ , แอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่
การปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ควรลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม เช่น ลดปริมาณอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม ,ของหมักดอง , รับประทานปลาตัวเล็กๆ หรือปลาป่น ( รับประทานตั้งกระดูก) , รับประทานอาหารเสริมที่ปริมาณแคลเซี่ยมเพิ่มเติม หรือดื่มนมเป็นประจำ
  • หากพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์