DNA มีผลทางกฎหมายอย่างไร

DNA มีผลทางกฎหมายอย่างไร


ตรวจ DNA พบเป็นบุตรของบิดาจริง แต่บิดาไม่รับรองบุตร ยังไม่ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

วิทยาการที่ก้าวหน้าในโลกปัจจุบันที่ถึงขั้นสามารถโคลนนิ่งสัตว์หรือมนุษย์ได้ สิ่งสำคัญหนึ่ง คือ พันธุกรรม หรือ DNA ซึ่งใช้ในการพิสูจน์บุคคล เพื่อทราบว่าเป็นบุตรของบิดามารดาหรือไม่ เพื่อแก้ปัญหาข้อโต้แย้งต่างๆที่มีผลตามกฎหมาย

การตรวจพิสูจน์ DNA เพื่อทราบว่าเป็นบุตรของบิดามารดาหรือไม่ สามารถขอตรวจได้เสมอแม้ยังไม่มีการฟ้องร้องหรืออยู่ระหว่างการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนหรือชั้นศาล แต่ต้องเสียเงินค่าตรวจเสมอ ไม่มีการตรวจฟรี ยกเว้นสามารถขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิใดโดยมูลนิธิเป็นผู้ชำระแทน โดยเมื่อมีข้อโต้แย้งว่าเป็นบุตรหรือไม่ หากคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมให้ตรวจ DNA ก็ไม่สามารถตรวจได้ ดังนั้นก่อนตรวจจะต้องทำหนังสือยินยอมก่อนทุกครั้ง และหากตรวจในหน่วยงานหนึ่งแล้ว แต่ไม่แน่ใจผลตรวจ สามารถตรวจซ้ำได้ แต่อาจต้องตรวจกับหน่วยงานอื่น โดยวิธีการจะให้แน่ใจที่สุดควรจะตรวจอย่างน้อย 2 แห่ง และทั้ง 2 ฝ่ายควรไปเจาะเลือดตรวจพร้อมกัน

สำหรับข้อกฎหมายครอบครัว ปัญหาเรื่องเด็กเป็นลูกเราหรือไม่ ให้ถือว่าลูกที่ไม่มีการสมรสเป็น 'ลูกของแม่' เสมอ แต่ 'พ่อไม่ใช่' หากพ่อต้องการเป็นพ่อตามกฎหมายต้องไปจดทะเบียนรับรองบุตร 


DNA มีผลทางกฎหมายอย่างไร


ส่วนกรณีที่มีการฟ้องให้พิสูจน์เพียงว่าเป็นบุตรหรือไม่นั้นในศาล สามารถทำได้ แต่การดำเนินคดีปกติทั้งทนายความและอัยการส่วนมากจะเป็นการฟ้องให้ศาลสั่งว่าเป็นบุตรที่บิดารับรองเป็นบุตรตามกฎหมาย
เมื่อศาลเข้าสู่กระบวนพิจารณาคดี ก็อาจขอศาลให้เจาะเลือดพิสูจน์ DNA ว่าเป็นบุตรหรือไม่ แต่ถ้า บิดา มารดา บุตร ฝ่ายใดไม่ยินยอมให้ตรวจพิสูจน์ ศาลจะบังคับไม่ได้ บุตรต้องนำสืบในพฤติการณ์ที่ผ่านมาในอดีต ให้เข้าข้อกฎหมายว่าบิดารับรองว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ว่ากรณีใด

เช่นกรณี บิดาที่ไปมีเพศสัมพันธ์กับหญิงแบบไม่มีความคิดว่าต้องการหญิงนั้นเป็นภรรยาและหญิงนั้นเกิดท้องและคลอดบุตรออกมาในช่วงเวลานั้น ถ้าสงสัยก็ควรตรวจ DNA เพื่อทราบว่าเป็นบุตรตนเองหรือไม่ เพราะถ้าเป็นบุตรซึ่งเป็นสายเลือด บุตรจะได้รับการเลี้ยงดูตามฐานะของบุตร ถ้าไม่ใช่บุตรของตนเองทำให้หญิงนั้นไม่สามารถมากล่าวว่า เป็นบิดาของเด็กอีก 

ทั้งนี้ หากผลตรวจ DNA ชัดเจนว่าเป็นบุตรของบิดาจริง แต่บิดาไม่เคยมีพฤติการณ์รับรองว่าเป็นบุตรตามกฎหมายและไม่ยอมจดทะเบียนรับรองบุตร ก็ยังไม่ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดานั้น แต่บิดาสามารถส่งเสียเลี้ยงดูเป็นการส่วนตัวได้ และหากต้องการยกทรัพย์สินให้บุตรเมื่อตนตายก็สามารถทำได้ โดยการทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ ซึ่งบุตรสามารถสละไม่รับมรดกได้เช่นกัน





ที่มา panyathai.or.th

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์