วันออกพรรษา
ความสำคัญ วันออกพรรษา ได้แก่ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษา คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรม ซึ่งเรียกว่า วันมหาปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้ภิกษุด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ทั้งนี้เพราะในระหว่างพรรษานั้น พระสงฆ์บางองค์อาจมีข้อบกพร่องที่จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุง การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ เป็นวิธีที่จะรู้ถึงข้อบกพร่องของตน ทั้งนี้กระทำโดยเปิดเผย ไม่ถือเป็นเรื่องที่จะมาโกรธเคืองกันภายหลัง หรือเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน
การกระทำมหาปวารณา เป็นการสังฆกรรมอย่างหนึ่งแทนการสวดพระปาฏิโมกข์ (พระวินัย) ที่ได้กระทำกันทุกๆ ๑๕ วันในช่วงเข้าพรรษา
การปฏิบัติตน
แม้การปวารณาจะเป็นเรื่องระหว่างพระสงฆ์ด้วยกัน แต่การออกพรรษาก็เป็นวาระสำคัญ
อีกวาระหนึ่งที่ชาวบ้านจะได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน โดยในวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ มีประเพณีทำบุญตักบาตร ที่เรียกกันว่า ทำบุญตักบาตรเทโว หรือเรียกเต็มๆ ว่า ตักบาตรเมโวโรหนะ
สืบเนื่องจากความเชื่อตามตำนานที่ว่าวันนี้เป็นวันคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกหลังจากที่ได้เสด็จกลับจากการไปโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์บางวัดอาจจัดพิธีทำบุญตักบาตรธรรมดา แต่บางวัดก็จัดเป็น
งานใหญ่โต เสร็จจากการทำบุญตักบาตร พุทธศาสนิกชนจะไปฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
๑. ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับ
๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
๓. ร่วมกุศลกรรม "ตักบาตรเทโว"
๔. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ และประดับธงชาติและธงธรรมจักตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษาที่นิยมปฏิบัติ คือ
๑. ประเพณีตักบาตรเทโว (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หลังจากออกพรรษาแล้ว ๑ วัน)
๒. พิธีทอดกฐิน (ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ กำหนด ๑ เดือนนับตั้งแต่วันออกพรรษา)
๓. พิธีทอดผ้าป่า (ไม่จำกัดกาล)
๔. ประเพณีเทศน์มหาชาติ (นิยมทำกันในวันขึ้น ๘ ค่ำ หรือ วันแรม ๘ ค่ำ กลางเดือน ๑๒ ในบางท้องถิ่นอาจนิยมทำกันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ หรือในเดือน ๑๐)
วันออกพรรษา
กิจกรรมต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติใน วันออกพรรษา
1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
2. ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา
3. ร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว"
4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป
6. งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข รวมทั้งละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์
โดยประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำพิธี วันออกพรรษา จะมีดังต่อไปนี้
- เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงค์อยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล
- การทำบุญออกพรรษาจะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือหลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนานๆ ก็จะเผย "สันดาน" ที่แท้ออกมา อาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้างๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้นตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน
- ได้ข้อคิดที่ว่า คนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูก ความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา
- เป็นการให้รู้ถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกัน โดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใดๆ ต่อในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ดังนั้นใครที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง วันออกพรรษา จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการย้อนมองดูตัวเองว่าได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไว้บ้างหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ปรับปรุงและไม่ทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมอีก