ปัจจุบันเราได้ยินข่าวเกี่ยวกับการการเกิดแผ่นดินไหวบ่อยๆ ที่ร้ายแรงและเกิดขึ้นล่าสุดก็เหมือนจะเป็นการเกิดแผ่นดินไหวเมื่อต้นปี ค.ศ.2010 ที่ผ่านมา ส่งผลให้อาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการเสียหายอย่างมาก มีผู้เสียจากเหตุการณ์ครั้งนี้เกือบ 3 แสนคน และมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวมากกว่า 3 ล้านคน โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ รุนแรงถึง 7 ริกเตอร์ แล้วเราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ? ความรุนแรงที่วัดระดับเป็นริกเตอร์นี้คืออะไร มีเกณฑ์การวัดความรุนแรงอย่างไร ระดับไหนถือว่ารุนแรงที่สุด วันนี้เรามาทำความรู้จักกับคำว่า “ริกเตอร์” กันดีกว่า...
ริกเตอร์ (Richter magnitude scale) คือ มาตราที่ใช้กำหนดความรุนแรงของแผ่นดินไหว ซึ่งมาตราริคเตอร์ไม่มีขีดจำกัดว่ามีค่าสูงสุดเท่าใด แต่โดยทั่วไปกำหนดไว้ในช่วง 0-9 มาตรานี้ถูกนำเสนอให้ใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ.1935 โดย 2 นักวิทยาแผ่นดินไหว คือ เบโน กูเทนเบิร์ก และชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์
เดิมนั้นมีการกำหนดมาตรานี้เพื่อใช้วัดขนาดของแผ่นดินไหวในท้องถิ่นทางใต้ของแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกา ที่บันทึกได้ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องวัดความไหวสะเทือน (seismograph) แผ่นดินไหวที่มีขนาดน้อยที่สุดในเวลานั้นถือเป็นค่าใกล้เคียงศูนย์ มาตราดังกล่าวแบ่งเป็นระดับ โดย ทุกๆ 1 ริกเตอร์ที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าแผ่นดินไหวแรงขึ้น 10 เท่า
ภายหลังเมื่อเครื่องวัดความไหวสะเทือนมีความละเอียดมากขึ้น สามารถวัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ละเอียด ทั้งในระดับที่ต่ำกว่า 0 (สำหรับค่าที่ได้น้อยกว่า 0 ถือเป็นค่าติดลบ) และที่สูงกว่า 9
ตัวเลขริกเตอร์ | จัดอยู่ในระดับ | ผลกระทบ | อัตราการเกิดทั่วโลก |
1.9 ลงไป | Micro | ไม่มี | 8,000 ครั้ง/วัน |
2.0-2.9 | Minor | คนทั่วไปมักไม่รู้สึก แต่ก็สามารถรู้สึกได้บ้าง และตรวจจับได้ง่าย | 1,000 ครั้ง/วัน |
3.0-3.9 | Minor | คนส่วนใหญ่รู้สึกได้ และบางครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง | 49,000 ครั้ง/ปี |
4.0-4.9 | Light | าวของในบ้านสั่นไหวชัดเจน สามารถสร้างความเสียหายได้ปานกลาง | 6,200 ครั้ง/ปี |
5.0-5.9 | Moderate | สร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง แต่กับสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงนั้นไม่มีปัญหา | 800 ครั้ง/ปี |
6.0-6.9 | Strong | สร้างความเสียหายที่ค่อนข้างรุนแรงได้ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร | 120 ครั้ง/ปี |
7.0-7.9 | Major | สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในบริเวณกว้างกว่า | 18 ครั้ง/ปี |
8.0-8.9 | Great | สร้างความเสียหายรุนแรงได้ในรัศมีเป็นร้อยกิโลเมตร | 1 ครั้ง/ปี |
9.0-9.9 | Great | "ล้างผลาญ" ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีเป็นพันกิโลเมตร | 1 ครั้ง/20 ปี |
10.0 ขึ้นไป | Epic | ไม่เคยเกิด จึงไม่มีบันทึกความเสียหายไว้ | 0 |
- ตั้งสติให้ได้ อย่าตื่นตกใจ
- ถ้าอยู่ในบ้าน ควรไปยืนอยู่ในโครงสร้างที่แข็งแรงที่สุดของบ้าน
- ถ้าอยู่นอกบ้าน ก็ควรห่างไกลจากเสาไฟฟ้า หรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่อาจตกลงมาใส่เราได้
- ห้าม!! ใช้เทียนไข ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เพราะบริเวณนั้นอาจมีแก๊สรั่วอยู่ และเมื่อมาเจอกับเปลวไฟที่จุดไว้ก็จะทำให้เกิดไฟไหม้ได้
- ถ้าขับรถอยู่แล้วเกิดแผ่นดินไหว ก็ขอให้หยุดรถ และอยู่ในรถจนกว่าความสั่นสะเทือนจะหยุดลง
- ห้าม!! ใช้ลิฟต์ในขณะเกิดแผ่นดินไหวเด็ดขาด
- ถ้าอยู่ใกล้ชายทะเล ควรที่จะรีบออกห่างจากฝั่งทันที เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่งได้
ที่มาข้อมูล : www.dek-d.com
www.wikipedia.com
www.inmagine.com