ว่าด้วยเรื่อง...กุหลาบสีดำและกุหลาบสีน้ำเงิน...

ว่าด้วยเรื่อง...กุหลาบสีดำและกุหลาบสีน้ำเงิน...


กุหลาบสายพันธุ์แบล็คโรส หรือ กุหลาบดำ 

    กุหลาบสายพันธุ์แบล็กโรส หรือ กุหลาบดำ ที่โครงการหลวงใช้เวลาในการขยายพันธุ์กว่า 10 ปีจึงสำเร็จ มีความโดดเด่นเรื่องสี

             สายพันธุ์แบล็กโรส หรือกุหลาบดำ ซึ่งเป็นกลุ่มกุหลาบสีดำ มี 4 ชนิด คือ แบล็กบัคคาร่า ขนาดดอก 2-3 นิ้ว แบล็กเมจิก ขนาดดอก 4-6 นิ้ว แบล็กบิวตี้ ขนาดดอก 4-6 นิ้ว บัคคาโร ขนาดดอก 3-4 นิ้ว ปัจจุบันมีปลูกอยู่ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และโครงการหลวงทุ่งเริง ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี เหมาะสมกับการปลูกกุหลาบพันธุ์นี้ รวมทั้งผ่านการพัฒนาสายพันธุ์มาประมาณ 15 ปี จึงได้สายพันธุ์อย่างที่ต้องการเหมาะสมกับสภาพอากาศภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม กุหลาบสายพันธุ์นี้เป็นกุหลาบสีแปลก และมีความพิเศษไม่เหมือนดอกกุหลาบชนิดอื่น ทว่าไม่เป็นที่นิยมเหมือนกุหลาบสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีสีสันสวยงามในท้องตลาดทั่วไป

สำหรับความเป็นมาของดอกกุหลาบ ?สี ดำ? ที่นำมาขยายพันธุ์ที่โครงการหลวงขณะนี้ นำเข้ามาจากประเทศเยอรมัน โดยคุณสืบศักดิ์ นวจินดา ผอ.ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งได้เดินทางไปดูงานที่ประเทศเยอรมนี แล้วพบว่ามีกุหลาบสายพันธุ์แบล็กโรส หรือกุหลาบดำ มีสีสันสะดุดตา ตามปกติแล้ว กุหลาบส่วนใหญ่จะมีสีแดงเป็นหลัก แต่กุหลาบพันธุ์ดังกล่าว มีลักษณะสีแดงเข้มมากเหมือนสีเลือดหมู จนเกือบดำเหมือนกำมะหยี่ ดอกเมื่อบานเต็มที่มีขนาดใหญ่ จึงนำกุหลาบพันธุ์ดังกล่าวมาปลูกครั้งแรกที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ระยะแรกประสบปัญหากุหลาบมีกิ่งใหญ่ แต่ดอกเล็ก เนื่องจากขาดการบำรุงที่ต้องใช้ปุ๋ยสูตรเฉพาะ ที่มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม ผสมผสานกัน ต้องใช้เวลาหลายปีจึงสามารถพัฒนาสายพันธุ์ให้เข้ากับภูมิอากาศบ้านเรา จนให้ผลผลิตมีดอกใหญ่เหมือนดินแดนต้นกำเนิดคือประเทศเยอรมนีไม่ผิดเพี้ยน


***ดอกกุหลาบสีดำนำเข้ามาเป็นครั้งแรกโดยมิสลิลลี่ ซึ่งมาจากประเทศฮอลแลนด์ โดยนำเข้ามาประมาณ 300 ดอก จำหน่ายดอกละ 600 บาท***

ว่าด้วยเรื่อง...กุหลาบสีดำและกุหลาบสีน้ำเงิน...



กุหลาบสีน้ำเงิน

เรายังไม่เคยเห็นบลูโรส หรือดอกกุหลาบสีน้ำเงินแท้ๆ กันเลย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะธรรมชาติของต้นกุหลาบนั้นไม่อาจสร้างเม็ดสีน้ำเงินได้ นั่นเอง

แต่จากเทคโนโลยีด้านยีนที่พัฒนาขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน ทำให้เป้าหมายของนักปรับปรุงพันธุ์กุหลาบที่จะสร้างดอกกุหลาบสีน้ำเงินได้มา ถึงแล้ว และไม่ใช่แต่จะอยู่แต่เพียงในห้องปฏิบัติการเท่านั้น บัดนี้กุหลาบดอกสีน้ำเงินได้รับการสร้างเสริมคุณสมบัติให้มีอายุการบานดอก ที่นานขึ้น แถมมีกลิ่นหอม และทนฟรอส หรือน้ำค้างแข็งได้อีกระดับหนึ่ง จีเอมโรส (กุหลาบจีเอม หรือกุหลาบที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงยีนแล้วจะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม อาจหาชื่อได้ทั่วไปในกลุ่มประเทศอียูปัจจุบัน)

บริษัท ฟลอริยีน (Florigene) เป็นบริษัทที่เป็นผู้สร้างและผู้นำการตลาด เรื่องบูลโรส บริษัทนี้มีกลุ่ม ซันตอรี (Suntory) ของญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือพูดง่ายก็เป็นเจ้าของนั่นแหละ บริษัทนี้มองการณ์ไกลไปถึงผลกำไรมหาศาลที่จะได้รับจากผลการสร้างสรรค์สิ่ง ใหม่แก่ชาวโลก ซึ่งมีศักยภาพการตลาดที่สูง ถึงแม้เศรษฐกิจตกต่ำกำลังก่อตัวละมีผลกระทบไปทั่วโลก แต่เราต้องไม่ลืมว่าธุรกิจไม้ตัดดอกนั้นมีเม็ดเงินหมุนเวียนสูงถึง 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และดอกกุหลาบนั้นมีส่วนแบ่งในด้านการตลาดถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว

ผู้ปลูกกุหลาบทุกคนพยายามไขว่คว้า หากุหลาบสายพันธุ์ที่ให้ดอกสีน้ำเงินมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว แต่บริษัทฟลอริยีนนับเป็นบริษัทแรกที่สามารถสร้างกุหลาบพันธุ์นี้ออกมาได้ใน ที่สุด แต่หลายคนก็ยังขอดค่อนว่า ?นี่ก็ยังไม่ใช่บลูแท้ ดูมันจะออกไปทางม่วงเสียซะมาก? แต่ผู้บริหารซันตอรี ก็เชื่อว่ามันใกล้เป้าหมายที่สุดแล้ว

สีที่เปลี่ยนแปลงไปในกลีบ กุหลาบนั้นเป็นผลมาจากการถ่ายยีนซึ่งพบในแอฟริกันไวโอเล็ต ซึ่งควบคุมการสร้างเม็ดสีน้ำเงิน ซึ่งเราเรียกว่าเดลฟินิดีน (Delphinidin) ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงหาทางทำให้ยีนของกุหลาบซึ่งปกติจะสร้างเม็ดสีแดง และส้มเปลี่ยนแปลงไป

สำหรับกุหลาบสีน้ำเงิน ซึ่งดอกไม้แห่งตำนาน มีความหมายโดยนัยถึงความลึกลับ และเชื่อกันว่าสามารถมอบความอ่อนเยาว์ให้แก่ผู้เป็นเจ้าของได้อีกด้วย



เขียนโดย : ร้อยตะวัน(Roytavan)

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์