ตะคริว...เกิดขึ้นเพราะอะไร

ตะคริว...เกิดขึ้นเพราะอะไร


ตะคริว...เกิดขึ้นเพราะอะไร

           หากคุณกำลังรู้สึกหวาดกลัวกับ อาการตะคริวของกล้ามเนื้อบริเวณทรวงอกที่อยู่ด้านหน้าของหัวใจ ยิ่งมีอาการบีบรัดมากขึ้นในบริเวณใกล้ ๆ หัวใจก็ทำให้รู้สึกวิตกกังวล เพราะเข้าใจว่าเป็นโรคหัวใจ บางรายมีอาการตะคริวของกล้ามเนื้อกระบังลม ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจ จนทำให้รู้สึกว่าหากใจลำบาก ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคของทางเดินหายใจอุดตัน เพราะนั้นเป็นอาการที่เราเรียกว่า "ตะคริว" ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เกิดขึ้นเพราะอะไร และมีสาเหตุจากอะไร ลองอ่านบทความข้างนี้ดูนะค่ะ

          
ตะคริว... คือ ภาวะกล้ามเนื้อแข็ง เกร็ง และปวด มักเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่รู้สึกตัว อาการปวดเกร็งจะเกิดอยู่เพียงไม่นาน โดยพบว่ากล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวได้บ่อย คือ กล้ามเนื้อน่องและต้นขา ในทางการแพทย์ระบุไว้ว่า "ตะคริว เกิดขึ้นจากการปล่อยประจุไฟฟ้าของปลายประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง"

ลักษณะของผู้ที่เป็นตะคริว

- กล้ามเนื้อจะหดแข็งเป็นก้อนสามารถคลำได้ ทั้งนี้หากสังเกตแล้ว การเกิดตะคริวจะเกิด ขึ้นในเวลากลางคืน หรือภายหลังจากการออกกำลังอย่างหนัก

- บางคนอาจมีอาการปวดในช่วงแรก ๆ และค่อย ๆ ทุเลาลงไปเอง

- บางคนอาจปวดอย่างต่อเนื่องเป็นวัน ๆ ได้ เนื่องจากเกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อในช่วงนั้น ๆ

ปัจจัยที่ทำให้เป็นตะคริว

- สำหรับนักกีฬา การขาดเกลือแร่และอิเลคโตรไลด์ (Electrolyte) ซึ่งเกิดจากการขับของเหงื่อเป็นจำนวนมากในระหว่างเล่นกีฬา

- สำหรับในคนปกติพบว่า การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายแบบรวดเร็วก็มีผลเช่นเดียวกัน

- ภาวะที่กล้ามเนื้อขาดเลือดหล่อเลี้ยง ซึ่งเกิดได้บ่อยในระหว่างวัน โดยเฉพาะผู้ที่นั่งนอนหรือยืนในท่าที่ไม่สะดวกนาน ๆ ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก

- สำหรับผู้ที่ชอบสวมใส่เสื้อผ้ากางเกงที่รัดแน่นมากเกินไป อาจทำให้เลือดที่จะไปเลี้ยงลดลง กล้ามเนื้อขาดออกซิเจน จนเกิดเป็นตะคริวได้

- ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียปริมาณน้ำในร่างกาย หรือการที่ร่างกายเสียเกลือโซเดียม เนื่องจากท้องเสีย อาเจียน การสูบบุหรี่ การใช้ยาบางชนิด หรือสูญเสียเหงื่อมากเนื่องจากความร้อน อากาศร้อน หรือทำงานในที่ที่ร้อนจัด ก็ส่งผลให้เกิดเป็นตะคริวรุนแรงขึ้นในทันทีได้

วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สำหรับผู้ที่เป็นตะคริว เพื่อลดอาการเจ็บปวด คือ

- เมื่อเกิดตะคริวขึ้นที่ตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดให้คุณใช้ของเย็นหรือผ้าเย็น ประคบ อย่าใช้ของอุ่นหรือร้อนเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบีบเกร็งมากขึ้น

- หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยพยายามยืดกล้ามเนื้อจุดนั้นออกอย่างช้า ๆ เช่น หากคุณเป็นตะคริวที่น่อง ก็ให้เหยียดขาให้ตึงแล้วกระดกปลายเท้าขึ้นจะช่วยให้ตะคริวคลายออกได้เร็วขึ้น

           สำหรับ ผู้ที่เป็นตะคริวที่น่องและเป็น ๆ หาย ๆ อยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะเดินนาน ๆ ให้คุณลองบริหารกล้ามเนื้อด้วย วิธีปฏิบัติง่าย ๆ คือ เริ่มจากยืนหันหน้าเข้ากำแพงห่างประมาณ 3-4 ฟุต จากนั้นให้ก้มตัวไปด้านหน้าโดยเอามือยันกำแพง ให้ส้นเท้าสัมผัสที่เข่า และหลังเหยียดตรง ทำต่อเนื่อง 3 นาที และพัก 1 นาที ให้ครบ 15 นาที นอกจากนี้การฝึกการหายใจอย่างถูกวิธี ด้วยสูดหายใจเข้าลึก ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนได้เต็มที ก็เป็นการลดความเสี่ยงการเกิดตะคริวได้



จาก: thaihealth


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์