เมตาบอลิก ซินโดรมนักฆ่าเงียบของคนอ้วนลงพุง

เมตาบอลิก ซินโดรมนักฆ่าเงียบของคนอ้วนลงพุง


รูปแบบการดําเนินชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน อาจทําให้คุณละเลยความสนใจ

       ในการดูแลสุขภาพ ทําให้โรคบางโรคถามหา และหนึ่งในนั้นคือ "เมตาบอลิก ซินโดรม" (Metabolic Syndrome) หรือกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานที่ผิดปกติ

"นายแพทย์นิธิวัฒน์ กิจศรีอุไร" รองผู้อํานวยการ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ได้เปิดประเด็นเรื่องนี้ในงานประชุมวิชาการร่วมโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลบีเอ็นเอชว่า

"สาเหตุหลักของโรคเมตาบอลิก ซินโดรม เกิดจากการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคนในสังคมปัจจุบันที่ให้ความสําคัญแก่งาน รับประทานอาหารที่ผิดหลักจนเกิดภาวะโภชนาการเกิน และเพิกเฉยต่อการออกกําลังกาย พฤติกรรมดังกล่าวล้วนมีส่วนสําคัญทําให้กระบวนการเผาผลาญของร่างกายเกิดความผิดปกติ เกิดการสะสมของไขมันจํานวนมาก ซึ่งทั่วไปมักเรียกว่า "อ้วนลงพุง" เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กรุ่นปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่มีน้ำหนักเกิน อันเกิดจากความเข้าใจผิดของพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ที่ว่าเด็กเจ้าเนื้อเท่านั้นจึงจะน่ารัก สุขภาพดี และเป็นผู้มีฐานะ"

ผู้ที่อยู่ในข่ายของโรคอ้วนคือ


1.วัดรอบเอวได้เกินจากค่ามาตรฐาน(เพศชายรอบเอวเกิน 32 นิ้ว/เพศผู้หญิงรอบเอวเกิน 35 นิ้ว),

2.ระดับ ไตรกรีเซอไรด์ในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 150 มก./ดล.,

3.ระดับ HDL คอเรสเตอรอลในผู้ชายมากกว่าหรือเท่ากับ 40 มก./ดล. และในผู้หญิงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 มก./ดล.,

4.ความดันโลหิต มากกว่าหรือเท่ากับ 130/85 มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่ และ 5.ระดับน้ำตาลขณะเมื่ออดอาหารมากกว่าหรือเท่ากับ 110 มก./ดล.

สําหรับการรักษา โรคเมตาบอลิก ซินโดรม หัวใจหลักคือ

การลดน้ำหนัก ซึ่งทําได้โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และหันมาออกกําลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ ฯลฯ ต่อเนื่อง 30 นาที อย่างน้อยอาทิตย์ละ 4 วัน เลิกทานอาหารจานด่วน เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น ไม่นั่งจมอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ อาการของคุณก็จะดีขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์นิธิวัฒน์ ได้กล่าวปิดท้ายว่า.."สําหรับผู้ที่เข้าข่ายความเสี่ยงต่ออาการดังกล่าว สมิติเวชได้จัดตั้ง "Life Center" ขึ้นเพื่อให้การดูแลรักษาพร้อมทั้งให้คําปรึกษาอย่างครบวงจร โดยเฉพาะโปรแกรมการลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง

ซึ่งต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยมีข้อแม้ว่า..."คุณต้องไม่ผัดผ่อน หรือจํากัดเวลาตัวคุณเอง"


ขอบคุณข้อมูลจาก : รพ.สมิติเวช  โรคอ้วน  นิธิวัฒน์ กิจศรีอุไร
 


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์