สัตว์ที่ถูกลืม

สัตว์ที่ถูกลืม


กะท่างหรือกระทั่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า จักกิ้มน้ำ และจิ้งจกน้ำ กะท่างเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่จัดอยู่ในวงษ์ salamandridae ชนิดเดียวในประเทศไทย

ในวงการสัตว์เลี้ยงมีการส่งพวกกะท่างมาจากต่างประเทศหลายชนิด

เรียกกันว่า จิ้งจกน้ำ หรือหมาน้ำ กะท่างชนิดนี้มีสำตัวสีน้ำตาล ยาว 7-8 เซนติเมตร หางยาว 7 เซนติเมตร นิ้วเท้าหน้า มี 4 นิ้ว และนิ้วเท้าหลังมี 5 นิ้ว ส่วนหัวค่อนข้างแบน มีสันสีส้มเป็นขอบ กึ่งกลางหลังมีสันสีส้มยาวตลอดไป เป็นสันหาง สังกลางหลังนี้มีป่มสีเดียวกันเรียงขนานกันบนแผ่นหลังเป็นสองแถว แถวละ 12-13 ปุ่ม

พบอาศัยอยู่ตามลำธานน้ำไหลบนภูเขาสูงในระดับตั้งแต่ 1,500 - 2,000 เมตร

เช่น ดอยเชียงดาว ดอยปุย ดอยอินทนนท์ และดอยอ่างขาง ในจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่ภูหลวงในจังหวัดเลย กะท่างมีเขตแพร่กระจายกว้างจากประเทศสิกขิม จีนตะวันตกและจีนตอนใต้ พม่าตอนเหนือ ลาวและไทย

ในเวลากลางวัน กะท่างจะชุกตัวนอนอยู่ตามใต้ขอนไม้ กองกิ่งไม้ ใบไม้ หรือใต้ก้อนหิน ใกล้ลำธาร ในเวลากลางคืนหรือตอนที่มีฝนตกจึงจะออกหากิน

เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งตกในราวเดือนกันยายนจนถึงตุลาคม จึงจะลงไปอยู่ริมฝั่งลำธาร ตัวเมียวางไข่ขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 มิลลิเมตร ตามกอพืชน้ำ ลูกอ่อนที่ฟักออกมา ลักษณะเหมือนพ่อแม่ แต่มีพู่เหงือกเป็นฝอยสำหรับหายใจ 3 คู่ ติดอยู่ข้างส่วนหัว ตัวอ่อนกินสัตว์น้ำอื่น ๆ เช่น ลูกอ๊อดของกบ แมลงน้ำเป็นอาหาร ในขณะที่ตัวเต็มวัยกินแมลงและสัตว์เล็ก ๆ บนพื้นดิน

กะท่างได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งห้ามฆ่า และอนุญาตให้เลี้ยงได้เพียง 2 ตัวเท่านั้น แต่การทำลายป่า ต้นน้ำลำธาร และการล่ากะท่างมาส่งขายเป็นสัตว์เลี้ยง และสัตว์ทดลองวิทยาศาสตร์ ทำให้กะท่างเริ่มหาได้ยากขึ้นทุกที จนมีจำนวนลดลงใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว


ขอบคุณข้อมูลจาก : DEKMOR

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์