รวมเรื่องจักรวาล (1)

รวมเรื่องจักรวาล (1)

ภาพเนบิวลาและกาแล็กซี่ จากกล้องอวกาศฮับเบิล





เกือบ17 ปีแล้วที่กล้องอวกาศฮับเบิลได้เปิดหน้าต่างสู่จักรวาล

ผลงานของกล้องอวกาศฮับเบิลนำมาซึ่งความรู้ความเข้าใจและเผยความลี้ลับของจักรวาลมากมาย และหลังจากการติดตั้งกล้อง Advanced Camera for Surveys (ACS) เมื่อปี 2002 นักดาราศาสตร์ก็ตื่นตาตื่นใจมากยิ่งขึ้นกับภาพเทหวัตถุในจักรวาลที่คมชัดอย่างที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน

ต่อไปนี้คือผลงานล่าสุดบางส่วนของกล้องอวกาศฮับเบิล มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง





1 .เนบิวลาปู


ภาพแรกคือภาพเนบิวลาปู (Crab Nebula) ซากของดาวฤกษ์ที่ระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวา (Supernova) เมื่อปี 1054 จากหลักฐานบันทึกของชาวจีนและญี่ปุ่นรวมทั้งชาวพื้นเมืองของอเมริกาด้วย ชาวจีนบันทึกไว้ว่าซุปเปอร์โนวานี้มีสว่างอยู่นานหลายเดือนและ มองเห็นได้แม้ในเวลากลางวัน

เนบิวลาปูมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ปีแสง อยู่ห่างจากโลก 6,300 ปีแสง ในกลุ่มดาววัว (Taurus)มันเป็นเนบิวลาที่โดดเด่นที่สุด เพราะเป็นหลักฐานการระเบิดซุปเปอร์โนวาชิ้นแรก.

กล้องอวกาศฮับเบิลเคยบันทึกภาพเนบิวลาปูมาแล้วหลายครั้งแต่ภาพล่าสุดนี้เป็นภาพที่มีความละเอียดสูงมาก





2.เนบิวลานายพราน

ภาพเนบิวลานายพราน (Orion Nebula) เป็นอีกภาพหนึ่งที่มีความละเอียดสูงมาก เนบิวลานายพรานเป็นเนบิวลาที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า และ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อยู่ในกลุ่มดาวนายพราน (Constellation Orion) ห่างจากโลก 1,500 ปีแสง

จุดเด่นของเนบิวลานี้ก็คือ

เป็นเนบิวลาที่กำลังแสดงให้เราเห็นกระบวนการและบริเวณที่มันให้กำเนิดดาวฤกษ์และระบบดาวเคราะห์จากเมฆก๊าซและฝุ่นซึ่งยุบตัวลง

ในภาพจะเห็นดาวฤกษ์เกิดใหม่ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน

มากกว่า 3,000 ดวงซ่อนตัวอยู่ใต้ฝุ่นและก๊าซซึ่งมีลักษณะคล้ายที่ราบสูง ภูเขา และหุบเขา ทำให้หลายคนนึกถึงแกรนด์ แคนยอน ในสหรัฐอเมริกา





3 .กาแล็กซี M 101

นี่คือภาพกาแล็กซีกาแล็กซี่กังหัน (Spiral Galaxy)ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและให้รายละเอียดมากที่สุดเท่าที่กล้องอวกาศฮับเบิลเคยถ่ายไว้

M101 กาแล็กซี่ยักษ์หรือกลุ่มกาแล็กซี่

อยู่ไกลจากโลกถึง 24 +/- 2 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Constellation Ursa Major)

มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 170,000 ปีแสง

ใหญ่กว่ากาแล็กซี่ทางช้างเผือกเกือบเท่าตัว ประกอบด้วยกาแล็กซี่ถึง 9 กาแล็กซี่





4.ซีนา

กล้องอวกาศฮับเบิลได้เผยโฉมหน้าของ "ซีนา" (Xena) เทหวัตถุที่รู้จักกันในฐานะดาวเคราะห์ดวงที่ 10 ของระบบสุริยะให้เราเห็นอย่างชัดเจน

ทีมนักดาราศาสตร์นำโดยไมเคิล บราวน์

ค้นพบซีนาหรือชื่อ 2003 UB 313 ในขณะนั้นเมื่อปี 2003 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินซึ่งตอนนั้นเห็นมันเป็นเพียงจุดเล็กๆเท่านั้น

ตอนนี้ซีนาหรือชื่อใหม่ว่าอีริส

ได้กลายมาเป็นดาวเคราะห์แคระตามดาวพลูโตไปแล้วการศึกษาโดยใช้กล้องอวกาศฮับเบิลพบว่าซีนามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1,490 ไมล์ ใหญ่กว่าพลูโตซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1413ไมล์ เพียงเล็กน้อย





5.กาแล็กซี่ NGC 5866

ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นกาแล็กซี่ในลักษณะหันข้างมายังโลก นี่คือภาพกาแล็กซี่ NGC 5866 ในกลุ่มดาวมังกร (Constellation Draco) ห่างจากโลก 45 ล้านปีแสง ซึ่งกำลังหันข้างมายังโลก

ภาพที่คมชัดของกล้องฮับเบิล

แสดงให้เห็นฝุ่นบางๆคล้ายๆฟองแบ่งกาแล็กซี่นี้ออกเป็นสองซีก และตรงใจกลางหรือนิวเคลียสของกาแล็กซี่ล้อมรอบด้วยกระเปาะสีแดงเรื่อๆ ขณะที่บริเวณที่อยู่ของดาวฤกษ์ซึ่งเป็นแถบสีน้ำเงินขนานไปกับแนวฝุ่น





6.กาแล็กซี่ Arp 220
เมื่อกาแล็กซี่ชนกันหรือรวมกันเป็นหนึ่งเดียว อะไรจะเกิดขึ้น?

ภาพกาแล็กซี่ Arp 220 ซึ่งเกิดจากการชนกันของสองกาแล็กซี่แสดงให้เราเห็นว่ามันไม่ได้พังทลายไป แต่กำลังให้กำเนิดดาวฤกษ์ใหม่ๆจำนวนมากที่บริเวณใจกลางของฝุ่นและก๊าซที่มีความหนาแน่นสูง ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5,000 ปีแสง

นักดาราศาสตร์เชื่อว่า

ลักษณะเช่นนี้จะทำให้เกิดดาวฤกษ์หนักหรือดาวฤกษ์มวลมากจำนวนมากและพวกมันจะอยู่กันเป็นกระจุก

ปรากฏการณ์การรวมกันของกาแล็กซี่เช่นนี้

คล้ายกับการรวมกันของกาแล็กซี่ในช่วงแรกๆของจักรวาลซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมดา





7.นิคและไฮดรา

ปี 2005 กล้องอวกาศฮับเบิลค้นพบดวงจันทร์บริวารขนาดเล็ก

ของดาวเคราะห์แคระพลูโตจำนวนสองดวง ให้ชื่อว่า นิค(Nix) และ (Hydra) นิคและไฮดรามีแสงสลัวๆกว่าพลูโตประมาณ 5,000 เท่าและอยู่ห่างจากพลูโตราวสองถึงสามเท่าของดวงจันทร์คารอนดวงจันทร์ขนาดใหญ่ของดาวพลูโตซึ่งค้นพบเมื่อปี 1978





8.กระจุกกาแล็กซีหัวกระสุน
นักดาราศาสตร์เพียรพยายามค้นหาสสารมืด (Dark Matter)

สสารที่มองไม่เห็นมาช้านาน ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จจากผลงานของกล้องอวกาศฮับเบิลและกล้องอวกาศรังสีเอ๊กซ์จันทรา

ภาพกระจุกกาแล็กซี 1E 0657-56 หรือกระจุกกาแล็กซีหัวกระสุน

ซึ่งเกิดจากการชนกันของกระจุกกาแล็กซี่ขนาดใหญ่สองกระจุก เผยให้เห็นการแยกออกจากกันระหว่างสสารมืดกับสสารธรรมดา





9 .กาแล็กซีแรกหลังบิ๊กแบง
กล้องอวกาศฮับเบิลสามารถส่องย้อนอดีตไปได้ไกล

จนเกือบถึงการระเบิดบิ๊กแบง จุดกำเนิดของจักรวาล ด้วยความสามารถที่สูงยิ่งนี่เองทำให้มันพบกาแล็กซี่มากกว่า 500 กาแล็กซี่ที่มีอยู่เมื่อไม่ถึงพันล้านปีหลังการระเบิดบิ๊กแบง

นักดาราศาสตร์บอกว่า

นี่คือการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ประมาณค่ามิได้ในการที่เราจะทำความเข้าใจการกำเนิดของกาแล็กซี่





10 .ดวงจันทร์ผ่านหน้าดาวยูเรนัส

ถ้าไม่ใช่เพราะกล้องอวกาศฮับเบิล เราคงไม่เห็นภาพเช่นนี้

นี่คือภาพดวงจันทร์แอเรียล(Ariel) ดวงจันทร์น้ำแข็งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 700 ไมล์ของดาวยูเรนัสกำลังโคจรผ่านหน้าดาวยูเรนัส ซึ่งเห็นเป็นจุดสีขาว ส่วนจุดสีดำคือเงาของมัน

แม้ว่าขณะนี้กล้อง ACS กล้องตัวหลักจะใช้การไม่ได้

แต่ภารกิจของ กล้องอวกาศฮับเบิลก็ยังดำเนินต่อไปโดยนักวิทยาศาสตร์จะใช้กล้อง WPPC 2 แทนกล้อง ACS


CreDits : http://www.bloggang.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์