เขาคือฆาตกรที่คนรู้จักกันทั่วโลก เขาคือฆาตกรที่มีแฟนคลับมากที่สุดในโลก ทั้ง ๆ ที่คดีที่เขาก่อเทียบไม่ได้กับความโหดในยุคปัจจุบัน แต่จุดเด่นคือความลึกลับ ปริศนาที่พยานหลายคนให้การต่าง ๆ ไม่เหมือนกันเลยสักคน เขาคือใครกันแน่ ทำแบบนี้เพื่ออะไร และทำไมเขาถึงหายไปหลังจากจัดการเหยื่อรายสุดท้าย
มารู้จักสถานที่เกิดเหตุคดีในตำนานดีกว่า
ย้อนไปใน ลอนดอน เมื่อ ค.ศ. 1888 เป็นช่วงเวลาของ เจ้าหญิงวิคตอเรีย เป็นยุคที่ถือว่า เจริญรุ่งเรือง มาใน ลอนดอน ยุคนั้น แต่อีกด้านนึงคือ ตรอกไว้ท์แช็พเพล สถานที่นี้อยู่ในเขตอีสต์เอ็นต์ของลอนดอน บริเวณดังกล่าวขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่ที่ยากจนที่สุดของลอนดอนและเป็นแหล่งเสื่อมโทรมที่อัปยศหดหู่ที่สุดในประเทศ จนได้รับฉายาว่าเป็นแผลเน่าบนความยิ่งใหญ่ของลอนดอนเมืองหลวงที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก
ประชากรที่นี้อาศัยอยู่ราว 90,000 คน คนส่วนใหญ่ในย่านนี้ว่างงานและยากจน ต้องหาเช้ากินค่ำมีชีวิตไปวัน ๆ อาชีพที่นิยมในย่ามนี้คือขายบริการโดยเฉพาะผู้หญิง รวมทั้งหัวขโมย นักย่องเบา คนจรจัดที่ไร้ที่อยู่อาศัย
ในปี 1888 ที่เกิดคดีสังหารต่อเนื่องขึ้น ทั่วกรุงลอนดอนมีโสเภณี 1200 คน อยู่ในเขตอี๊สต์ มีถึง 237 โสเภณีมักถูกคุกคามจากพวกแก๊งจารชน ฆาตกรที่หวังทรัพย์สินของผู้ตาย หากพวกเธอขัดขืนก็ถูกฆ่าตาย ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้งมาก แต่ไม่ค่อยมีใครสนใจกับเหตุการณ์นี้มากนัก เพราะถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยในย่านนี้
จนกระทั้งมันเกิดคดีนี้ขึ้น และมันทำให้ไว้ท์แซ็พเพลเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกขึ้นมาทันใด
เหยื่อรายที่ 1 แมรี่ แอนน์ นิคอลส์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 1845 เธอแต่งงาน กับ วิลเลี่ยม นิคอลส์ ในปี 1864 มีลูกด้วยกัน 5 คน เขาและแมรี่ แยกทางกัน แมรี่ จึงไปเป็น โสเภณี เพื่อเลี้ยงดูชีพ ในระหว่างปี 1883-87 เธอไปอยู่กับพ่อของเธอ............ จนกระทั้ง วันที่ 31สิงหาคมค.ศ.1888
ชารล์ส คร้อสส์ พนักงานขับรถ กำลังเดินผ่านบริเวณคอกแพะตอนตี 4 ของวันที่ ตอนนั้นยังไม่สว่างเท่าไหร่นัก และอากาศยังชื้นอยู่ ซึ่งก็ถือว่าเป็นปกติของกรุงลอนดอน ตอนที่ชารล์สกำลังจะเดินเข้าบ้านนั้น ก็ได้เห็นบางสิ่งนอนอยู่บนพื้นดินบริเวณหน้าบ้าน ซึ่งดูคล้ายกับผ้าใบหรืออะไรสักอย่าง จึงได้เดินเข้าไปดู จึงได้เห็นว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งนอนอยู่ และเห็นชายอีกคนกำลังเดินมาทางนี้ ชารล์สจึงเรียกชายคนนั้น(ภายหลังก็รู้ว่า โรเบิร์จ พอล พนักงานขับรถเหมือนกัน) คือเพื่อที่จะให้มาช่วยกันเพราะนึกว่าผู้หญิงที่นอนอยู่กำลังเมาหรืออาจจะโดนทำร้าย ทั้งสองจึงพยายามที่จะช่วยเธอในบริเวณนั้นที่ยังมืดอยู่ แต่พอทั้งคู่เห็นว่าผู้หญิงคนนี้มีบาดแผลที่บริเวณลำคอที่เกือบทำให้ศีรษะขาด จึงตกใจมากและรีบไปแจ้งตำรวจ และไม่กี่นาทีต่อมาก็พาตำรวจมายังบริเวณที่เกิดเหตุ นายตำรวจ จอห์น นีล ก็ได้เห็นถึงสภาพอันน่ากลัวของเธอ มีรอยเลือดไหลออกมาจากลำคอที่เกือบขาดและหู ดวงตาของเธอเบิกกว้าง มือและเท้าเริ่มเย็น เมื่อเห็นว่าไม่ได้การแน่แล้ว นีล จึงเรียกตำรวจและหมอกับรถพยาบาลมายังที่เกิดเหตุ จากนั้นจึงเดินไปยังบ้านละแวกใกล้เคียงเพื่อสอบถามถึงสิ่งหรือเสียงที่ผิดปกติหรือน่าสงสัยแต่ก็ไม่ได้เรื่องอะไร
ต่อมา นายแพทย์รัส์ ร้าล์ฟ ลิเวนลีน ก็มาถึงและลงมือชันสูตร และชี้ถึงสาเหตุการตายว่าคือบาดแผลฉกรรจ์ที่ลำคอจนทำให้เธอถึงแก่ความตาย แต่ทว่ายังมีบางส่วนต่างของร่างกายของเธอยังอุ่นอยู่ และตายไม่เกินกว่า 1 - 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรืออาจจะแค่ไม่กี่นาทีหลังจากที่นายชารล์ส เดินมาพบเธอก็ได้ ซึ่งตรงนั้นน่าจะเป็นบริเวณที่เธอถูกฆาตกรรม ซึ่งมีเลือดเปรอะพื้นอยู่ และเสื้อผ้าของเธอก็ชุ่มไปด้วยเลือด บนคอของเธอมีรอยกรีดด้วยของมีคมถึง 2 ครั้งด้วยกัน เสื้อผ้าเปรอะเปื้อนไปด้วยเลือดและเยื่อบุช่องท้องได้รับบาดเจ็บ
จากผลการชันสูตรได้พบรอยถลอกบนขากรรไกรเหลืออยู่บาดแผลที่ช่องท้องที่แสดงรอยมีดที่ขรุขระและลึก ซึ่งคาดว่าผู้ที่ลงมือน่าจะถนัดซ้ายเพราะจากบาดแผลเหล่านี้และความยาวใบมีด เห็นได้ชัดว่าฆาตกรน่าจะมีความรู้ด้านกายวิภาคไม่น้อย
ภายหลังหมอชันสูตรศพเสร็จแล้ว ตำรวจได้พา วิลเลี่ยม นิคอลส์กับลูกชายคนที่ 3 มาตรวจศพ เมื่อวิลเลี่ยมเห็นสภาพศพที่ถูกทำลายยับเยินถึงกับเอ่ยว่า
"เห็นเธอเป็นแบบนี้แล้ว ฉันยกโทษในสิ่งที่เธอทำมาในอดีตทั้งหมดเลย"
ศพของแมรี่ แอนน์ นิคอลส์ถูกฝังในสุสารวิลฝอร์ดเมื่อวันที่ 6 กันยายน 1888
ขณะตำรวจกำลังมืดแปดด้าน ก็มีชายผู้หนึ่งให้ความช่วยเหลือ บอกว่า สงสัยว่าจะเป็นชายอันธพาลคนหนึ่งที่มีฉายา "ผ้ากันเปื้อนหนัง" ชอบรีดไถโสเภณี และขู่ว่าจะฆ่า หลายต่อหลายครั้ง ตำรวจทราบจึงจะเข้าจับคุม แต่คนร้ายไหวตัวทันหนีไปหลบ ในบ้านญาติ ทำให้ตำรวจไม่สามารถจับตัวได้
และหลังจากนั้น 8 วัน หลังเหตุการณ์ แมรี่ แอนน์ นิคอลส์ก็เกิดคดีแบบนี้ขึ้นอีกและตำรวจก็พบหลักฐานชิ้นเดียวของคดีฆาตกรรมต่อเนื่องนี้
"เศษผ้ากันเปื้อน"
เหยื่อรายที่ 2 แอนนี่ แช๊ปแมน เธออาศัยอยู่กับ สามี ของเธอ จอห์น แช๊ปแมน เธอมีลูกด้วยกัน 3 คน ลูกคนแรกเธอ เอมิลี่ เสียชีวิต จากโรคเหยื่อสมองอักเสบ เมื่ออายุ 12 ปี ลูกชายของเขา จอห์น พิการและถูกส่งไปยังสถานรับเลี้ยงคนพิการ ลูกคนที่สามของเธอ จอร์จิน่า ถูกส่งไปยังสถาบันที่ฝรั่งเศษ แอนนี่ เป็นหญิงที่ฝันเฟื่อง เมื่อลูกสาวเสียชิวิต เธอจึงออกจากครอบครัว มาอาศัยอยู่กับช่างทำตะแกรงเหล็ก แต่ไม่นาน เมื่อ ช่างทำตะแกรงเหล็กรู้ว่าเธอ ดื่มหนักมาก ทั้งสองจึงหย่าร้างกัน ปีที่เกิดเหตุแอนนี่ อายุได้ 47 ปี สูง 5 ฟุต สุขภาพของเธอไม่ค่อยดีนักเป็นโรคปอด และ เนื้อเหยื่อสมองอักเสบ เธอมีชิวิตอยู่ได้ไม่นาน แต่ก็ไม่ได้จบชีวิตเพราะโรคร้าย โดย ฝีมือ ของ แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์
วันที่ 7 กันยายน 1888 05.20-05.30 น. ช่างไม้ที่อาศัยอยู่บริเวณ ถนน ฮันเบอรี่ ได้ยินเสียงคนคุยกันบริเวณ ลานหน้าบ้าน เป็นเสียงของคนถกเถียงกัน แล้วก็มีเสียง คน หรือ อะไรบางอย่าง กระแทกเข้ากับไม้อย่างแรง แต่ก็ไม่ได้เฉลียวใจอะไร เพราะนึกว่าเป็นแค่เสียงคนทะเลาะกัน ต่อมา 05.45 น. - 06.00 จากนั้น จอห์น เดวิส พนักงานขับรถ บนถนนฮันเบอรี่ ซึ่งพักอยู่ในบ้านเลขที่ 29 ถนนฮันเบอรี่ ลงมาที่ชั้นล่าง และเข้าไปในลานบ้าน ได้พบกับร่างของ แอนนี่ แช็ปแมน เธอนอนขนาบกับ แนวรั้วบ้าน ศีรษะห่างจากบันได 6 นิ้ว แขนซ้ายวางพาดหน้าอกซ้าย หน้าเจ็มไปด้วยเลือด และ ลำคอ ถูกเชือดแผลเหวอะหวะ กระโปงถูกถกขึ้นถึงหัวเข่า พอเห็นดังนั้นจึงตะโกนเรียกคนใด ทุกคนรุมดูสภาพศพที่น่ากลัวนอนจมกองเลือด
ใน ช่วงเช้า หมอได้ชันสูตรเบื้องต้นเห็นใบหน้าที่บวมเป่ง ลิ้นซึ่งบวมเช่นกัน แลบออกมาระหว่างฟัน แขนขาเริ่มแข็ง ลำคอถูกเชือดแผลลึกประมาณ 2 นิ้ว และตายมาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เห็นชัดว่าฆาตกรได้จับขากรรไกลล่างเพื่อปาดคอ ช่องท้องเปิดอ้าและลำไส้ถูกควักออกมาวางไว้เหนือไหล่ บางส่วนของเนื้อท้องทั้งสองด้านของอวัยวะเพศ สะดือและมดลูกและสองในสามของกระเพาะปัสสาวะถูกควักออกจากร่างกายและหายไปจากที่เกิดเหตุ เขาคิดว่า น่าจะฆาตกรรมบนลานบ้านเพราะบริเวณอื่นไม่มีรอยเลือด
ต่อมาได้กระทำการสำรวจบริเวณพบศพ กระเป๋าของแอนนี่ ซึ่งเปิดอ้าอยู่ตกอยู่ใกล้ๆ และยังมีข้าวของอื่นๆ ผ้ามัสลินเนื้อหยาบผืนหนึ่ง หวี ซองจดหมายเก่าๆ ใส่ยาสองเม็ดและที่ซองมี อักษร เอ็ม นอกจากนั้นยังมี แหวนทองเหลืองสองสามวงที่เพื่อนเธอให้ไว้ บรรดาตำรวจ นักสืบ ได้ปรึกษาและวิเคราะห์คดีและได้ลงความเห็นว่า เป็นฝีมือของฆาตกรคนเดียวกับคดี ฆ่า แมรี่ แอนน์ นิคอลส์ และได้รีบทำการค้นหาตัวผู้ต้องสงสัยในทันที
ผู้ต้องสงสัย ในคดี แอนนี่ แช็ปแมน มีหลายรายแต่ รายที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยมากที่สุดคือ ไพเซอร์ ฉายา ผ้ากันเปื้อนหนัง เป็นชาวยิวโปลิช และเป็นช่างทำรองเท้า วัย 30 หลังจากตำรวจไล่ล่าอยู่อาทิตย์กว่า ในที่สุดวันที่ 10 กันยายน เขาก็จนมุมในบ้านญาติเลขที่ 22 ถนนมัลเบอรี่ และถูกนำตัวไปสถานนีตำรวจ ตำรวจพบ มีดยาว 5 เล่มในบ้านพักของ ไพเซ่อร์ แต่ ไพเซ่อร์ยังอ้างว่า เป็นมีดที่เขาไว้ทำรองเท้าหนัง อันเป็นอาชีพของเขา หลังจากถูกขัง อยู่ 2 วัน ไพเซ่อร์ ได้ถูกปล่อยตัวจากห้องขัง เนื่องจาก การสอบสวนเขา มีพยานหลักฐานในวันที่ และ เป็นความจริง ในช่วงสองสามวันตำรวจได้จับผู้ต้องหา 7 ราย แต่คนที่ตำรวจหามากที่สุดคือ กุ๊ก เฮนรี่ พิกก๊อทท์ วัย 53 ปี เพราะมีคนพบเขาในวันเกิดเหตุคดีแรกที่ ไวท์แชมเพล แต่ พยานที่อยู่ในเหตุการณ์ชี้ว่า คนนี้ไม่ใช่คนเดียวกับคนในคดีแรก พิกกอทท์ จึงถูกปล่อยตัว ต่อมา จากการกดดัน จากหนังสือพิมพ์ กระทรวงมหาดไทยเลย สั่งให้ปิดคดีให้เร็วที่สุด โดยมีเงินรางวัล สำหรับผู้ที่แจ้งเบาะแส ให้กับทางตำรวจ จากนั้นก็จับผู้ต้องหาอีก 2-3 คนแต่ทั้งหมด มีอาการทางประสาท เกือบทั้งหมด และ ก็มีพยานหลักฐานครบถ้วน
ยิ่งสอบสวนยิ่งน่าอัศจรรย์ใจที่ว่าฆาตกรสามารถหลบหนีลอยนวลอย่างเหลือเชื่อ ทั้ง ๆ ที่มือเขาโชกเลือดและถือมีดและหอบอวัยวะภายในเหยื่อไปด้วย
เอาอวัยวะเหยื่อไปทำไม ?
ศพของแอนนี่ แช็ปแมน ได้รับการยืนยันจากอามีเลีย ปาล์มเมอร์ และทิโมธี โดนแวนน้องชายของเธอ เธอถูกฝังเงียบ ๆ ในสุสานเนเนอร์พาร์คในวันที่ 14 กันยายน
แต่ดูเหมือนว่า ในคดี แอนนี่ แช็ปแมน จะยังไม่โหดพอสำหรับให้ชาวลอนดอน เพียงไม่ถึงหนึ่งเดือน ต่อจากนั้น เกิดคดี ฆาตกรรมสยองขวัญมากที่สุดในลอนดอน เป็นการฆาตกรรมแบบ 2 ราย ในคืนเดียว และทั้งสองศพ เวลาการตายห่างกันไม่ถึง ชม
เหยื่อรายที่ 3 อลิซาเบ็ธ สไตรค์ อลิซาเบ็ธ สไตรค์ เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษจิกายน 1843 และเธอ ได้ขึ้นทะเบียนเป็น โสเภณี หมายเลข 97 ในวันที่ 29 กันยายน เวลา 18.30 น. อลิซาเบ็ธ แทนเน่อร์ กับ อลิซาเบ็ธ สไตรค์ได้ไปดื่มเหล้าด้วยกัน ในเวลา 23.45 น. วิลเลี่ยม มาแชล ซึ่งเป็น กรรมกร เขาเห็น การสนทนาของหญิงชายคู่หนึ่ง แล้วทั้งสองฝ่ายก็จูบกันแล้วฝ่ายชายก็พูดขึ้นว่า "เธอจะพูดอะไรก็ได้ ยกเว้น สวดมนต์" และทั้งสองก็เดินไป สู่ ดั๊ทฟิลด์สย้าร์ด
30 กันยายน เวลา 01.00 น.
หลุยส์ ดีมชู้ทซ์ เป็นชาวยิว รัสเซีย เป็นพนักงานสโมสรการศึกษาวิชาชีพ ของกลุ่มคนนิยมชาวยิวก่อนที่ดีมชูทซ์จะนำม้าไปเก็บในคอกที่จ๊อร์จย้าร์ด
แต่ม้าไม่เต็มใจเข้าไปในลาน มันกลับเลี้ยวไปทางซ้าย ดีมชูทซ์มองไปที่พื้น พบสิ่งแปลกประหลาดอย่างหนึ่งจึงลองเขี่ยดู ด้วยด้ามแส้ จากนั้นก็จุดไม้ขีดขึ้น แล้วส่องดู ปรากฏว่าเป็นร่างของหญิงสาว ดีมชูทซ์ รีบวิ่งเข้าไปในสโมรสร เพราะกลัวว่าคนร้ายยังอยู่แถวนั้น และจากนั้นเขา ได้เห็น ฆาตกรวิ่งหนี ไปเมื่อตอนที่เขาวิ่งเข้ามาในสโมสร จากนั้น ดีมชูทซ์ รีบวิ่งขึ้นไปดู ภรรยาชั้นบนทันทีด้วยความเป็นห่วง แต่หล่อนยังอยู๋กับคนอื่นๆ จากนั้น ดีมชูทซ์ เล่าเรื่องให้คนอื่นๆ ฟัง ว่าไม่รู้ว่า ผู้หญิงคนนั้น เมาหลับไป หรือ ตายแล้ว พวกเขาจึงไปดูศพ เห็น ผู้หญิงแขนวางผาดเหนือท้องนิดหน่อย และข้อมือชุ่มไปด้วยเลือด ที่ลำคอถูกกรีด เป็นทางยาว พวกเขาจึงรีบเรียกตำรวจมาดูแพทย์สองนาย ได้มาตรวจดูศพของ อลิซาเบ็ธ สไตรค์ มีรอยแผลที่คอถูกกรีดยาว 6 นิ้ว เริ่มจากด้านซ้ายต่ำกว่า ขากรรไกร 2.5 นิ้ว กรีดตัดหลอดลมขาด สภาพศพเหมือนกับ แอนนี่ แช็ปแมน
เหยื่อรายที่ 4 คัทรีน เอ๊ดโดว์ส คัทรีน เอ๊ดโดว์ส เกิดในเมือง วู๊ล์ฟเวอร์ แฮมตั้น เมื่อวันที่ 14 เมษายน 1842 ขณะที่เสียชีวิต คัทรีน อายุ 47 ปี เธฮสูง 5 ฟุต วันเกิดเหตุ เธอสวมหมวกฟางสีดำ ขลิบกำมะหยี่ เขียวและดำ สวมร้อยลูกปัดสีดำ และคาดผ้ากันเปื้อนสีขาว
29 กันยายน เวลา 20.30
ตำรวจผู้หนึ่ง พบ คัทรีน เดินอยู่บนถนน และทำเสียง เลียนสัญญาณดับเพลิง และเดินเซไปเซมา ตำรวจถามชื่อของเธอ เธอตอบว่า ไม่มี ตำรวจจึง นำตัวเธอไปขังในห้องขังเพื่อ สงบสติอารมณ์ วันที่ 30 กันยายน 00.50 คัทรีน ถูกปล่อยตัว ตำรวจถามชื่อเธฮอีกครั้งเธอตอบว่า แมรี่ แอนน์ แคลลี่ 01.00 (เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พบศพอลิซาเบ็ธ สไตร์ค บนถนนเบอร์เน่อ) ก่อนออกจากโรงพัก ตำรวจวานให้เธฮปิดประตูหน้าให้ด้วย เธอจึงตอบว่า
"ได้จ้ะ พ่อไก่แก่"
นั่นเป็นคำพูดสุดท้ายที่ได้ยินจากปากของ คัทรีน เธอยังคงพาดผ้ากันเปื้อน เดินตรงไปยัง จตุรัสมิตร 01.45 น. (45 นาทีหลังจากพบศพของ อลิซาเบ็ธ สไตร์ค) พลตำรวจ เอ๊ดเวิร์ด วัทกิ้นส์ ได้เดินเข้าไปตรวจ ในจตุรัสมิตร เป็นพื้นที่ 4 เหลี่ยม ที่สามารถ เข้า-ออก ได้ 3 ทาง เขาพบกับ ศพของหญิงสาวนอนจมกองเลือด อยู่ทางใต้ของจตุรัสมิตร วัทกิ้นส์ ถูกเชือดคอ และ ถกกระโปรงขึ้นมาเหนือสะเอว ท้องถูกกรีด ลำไส้ทะลัก วัทกิ้นส์ได้กล่าวว่า "ผมเป็นตำรวจมานาน แต่ไม่เคยเห็นภาพน่ากลัวขนาดนี้มาก่อน รอยแผลถูกปาดอ้าขึ้นมาเหมือนหมูในตลาด"
และในบริเวณใกล้เคียงมีการเขียนข้อความด้วยชอล์กในกำแพงตึกว่า
"The Juwes are the men that will not be blamed for nothing" แปลเป็นไทยว่า ชาวยิวไม่มีความผิด พวกเขาไม่สมควรถูกตำหนิ
ภายหลังหลายฝ่ายได้ให้ความเห็นว่าข้อความนี้คนเขียนอาจไม่ใช้ แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์แต่มันมีอยู่ก่อนแล้ว
การไต่สวนหาสาเหตุการตายในวันที่ 4 ตุลาคม 1888 แพทย์ทั้งหมดที่ทำการชันสูตรได้พูดตรงกันหมดเรื่อง ฆาตกร มีความสามารถทางกายภาพหรือเป็นหมอผ่าตัด เพราะบริเวณที่ทำการเชือดนั้น ทำให้เครื่องในร่างกายไม่เสียหาย เพียงแต่นำมันออกมาจากร่างกาย ตำรวจจึงชี้ประเด็นไปที่ นำอวัยวะไปขายให้กับ โรงพยาบาล แต่จากการสืบสวน ไม่มีโรงพยาบาลที่ได้รับการขายอวัยวะ แต่ตำรวจยังคงสงสัยกับการที่คนร้ายสามารถเดินไปเดินมาบนถนนโดยที่ตัวชุ่มเลือด ได้อย่างไร ทั้งข่าวหนังสือพิมพ์ และ สื่อมวลชน ต่างตื่นตระหนก กับเหตุการณ์ ดังกล่าว จึงเริ่มมีผู้แจ้งเบาะแส บางกลุ่มก็เรียก ฆาตกรรณรายนี้ว่า ฆาตกรไวท์แชมเพล บ้าง ฆาตกรฆ่าโสเภณี บ้าง แต่ชื่อที่ถูกยอมรับมากที่สุดคือ แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ แต่ในที่สุดก็มีนายแพทย์ ซอนเดอร์ส เชื่อว่า การชำแหละร่างกาย ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าคนร้าย มีทักษะทางกายภาพแต่อย่างใด และยังบอกอีกว่า จุดมุ่งหมายยังคงเป็นการขโมยอวัยวะสำคัญ
ต่อมาการสืบสวนสอบสวนผู้คนในจตุรัสมิตรในคดีของคัทรีน ไม่มีใครพบเห็นผู้ต้องสงสัยหรือคนร้ายเลย มีก็แต่ ผู้พบศพคนแรกเท่านั้นแต่เนื่องจากมืดมากทำให้ไม่เห็นว่า เป็นหญิงหรือชาย สูงเท่าไร แต่งกายอย่างไร ทั้ง ๆ ที่ฆาตกรหอบหิ้วมีด เศษผ้ากันเปื้อน ไตและมดลูกหายไปอย่างไร้ร่องรอย
ในช่วงรุ่งเช้า 30 กันยายน 1888 ขณะตำรวจกำลังวุ่นวายกับการชันสตรและชันสูตรอลิซาเบ็ธ สไตรด์ ฆาตกรได้ลงมือจัดการเหยื่อต่อไปอย่างท้าทาย ไม่ถึงชั่วโมง และสนองต่อความปรารถนาค้างคาใจของเขา
(ติดตามตอนต่อไป+ + )