วัดเล่งเน่ยยี่ 2 เป็นวัดจีนที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ราวๆ 12 ไร่เศษ จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี (ในปีพ.ศ. 2539)
แสงแห่งศรัทธา ณ วัดเล่งเน่ยยี่ 2
ที่ตั้งอย่างเป็นทางการก็คือ เลขที่ 75 หมู่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ไม่ใกล้ไม่ไกล จากกรุงเทพ ไม่ว่าจะขับรถหรือนั่งรถก็สบายๆ แค่ 1 เพลิน ไม่มีใครคาดคิดว่า แต่เดิมทีที่ตรงนี้เป็นเพียงแค่โรงเจขนาดเล็กซึ่งมีพื้นที่แค่ 2 ไร่อันเป็นสถานที่ซึ่งชาวบางบัวทองให้ความเคารพนับถือมาก
แต่ด้วยแนวคิดของวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) จากมติของคณะสงฆ์นิกายจีนแห่งประเทศไทยที่ดำริจะสร้างวัดจีนขึ้น จึงได้มอบหมายหน้าที่นี้ให้กับ “เจ้าคุณเย็นเซี้ยว” (พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์) ได้ทำหน้าที่เป็นประธานที่ปรึกษาการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ ในการนี้ได้เปิดให้พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาได้มีโอกาสร่วมบุญในการจัด สร้างวัดแห่งนี้ด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์นิกายจีนรังสรรค์” โดยมี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ของวัด
วัดเล่งเน่ยยี่ 2 ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 12 ปี (พ.ศ. 2539-2551) ก่อนที่ความยิ่งใหญ่อลังการและศิลปะความงดงามทางจิตวิญาณแห่งนี้จะปรากฏแก่ สายตาชาวโลกดังที่เราได้เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน เวลาทำการที่เปิดให้บุคคลภายนอกได้เข้าสู่บริเวณวัดคือตั้งแต่ 8.00 น. เป็นต้นไป (แต่หก-เจ็ดโมงก็เข้าได้แล้วล่ะ)จนถึงห้าโมงเย็นในวันธรรมดา และถึงหกโมงเย็นในวันเสาร์-อาทิตย์
บริเวณโดยรอบของวัดมีการจัดเคลียร์พื้นที่จอดรถอย่างกว้างขวางทั้งสองด้าน แต่ถึงกระนั้นเราก็คิดว่าคงยังไม่พอ เพราะเหลือบไปเห็นป้ายบอกทางไปที่จอดรถของวัดจุดที่ 3 ซึ่งอยู่ค่อนข้างไกลออกไป นั่นยืนยันถึงจำนวนผู้คนจำนวนมากที่เดินทางมาถึงวัดแห่งนี้ในโอกาสสำคัญได้ เป็นอย่างดี
วัดเล่งเน่ยยี่ 2 หันหน้าไปทางทิศใต้ ตั้งอยู่ในทิศขวางตะวัน ดังนั้นเราจึงสามารถถ่ายภาพได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกโดยมีมหา วิหารเป็นฉากหน้า...นี่คือข้อมูลการถ่ายภาพที่สำคัญของสถานที่แห่งนี้ หลังซุ้มประตูนั้นเรียงรายด้วยหุ่นศิลา “จับโป่ยหล่อหั่ง” หรือ 18 อรหันต์ รูปสลักลอยตัวแบบที่แกะจากหินทั้งก้อนอันแสดงถึงฝีมือในการสลักหินอย่าง ชัดเจน
หากไปแล้วอย่าลืมสังเกตที่ฐานล่างของหุ่นเหล่านี้ จะเห็นได้ทันทีว่ามีที่มาจากหินทั้งก้อนจริงๆวิหารหลังแรกที่ขึ้นไปถึงนั้น คือ “วิหารจตุโลกบาล” ซึ่งเต็มไปด้วยรูปเคารพของพระอรหันต์และพระโพธิสัตว์รวมทั้งเทพเจ้าตามคติ ความเชื่อแบบจีนสีทองอร่ามตา เป็นจุดแรกที่มีคนนิยมไหว้ขอพรกันมาก
วิหารขนาดย่อมลงมาที่ตั้งอยู่ทั้งสองด้านก็คือ “หอกลอง” และ “หอระฆัง” ขนาดใหญ่ยักษ์ ซึ่งมีการใช้งานจริงในฐานะที่เป็นเครื่องมือส่งสัญญาณในวาระต่างๆ ของวัดแต่ละช่วงเวลาในหนึ่งวัน ถัดจากนั้นเพียงบันไดหินอีกไม่กี่ขั้น ก็คือมหาวิหารใหญ่ซึ่งเป็นพระอุโบสถของวัดภายในมีพระประธานสีทองขนาดใหญ่ อยู่สามองค์คือ พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน), พระอมิตาภพุทธเจ้าและ พระไภษชยคุรุไวฑูรยพุทธเจ้า ซึ่งมีความสูงจากวัชรบัลลังก์ถึงยอดพระเกศา 4.02 เมตร กว้างถึง 3.08 เมตร และด้านบนเพดานของมหาวิหารนี้ก็ยังตกแต่งลวดลายและสีสันอย่างงดงามอร่ามตา ตามแบบฉบับของอารยะธรรมจีน
อาคารขนาดใหญ่อีกแห่งที่อยู่ด้านหลังก็มีความสำคัญไม่แพ้กันนั่นคือ “วิหารพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์” เป็นที่ประดิษฐานของพระโพธิสัตว์กวนอิม ปางพันตาพันมือ ซึ่งแกะสลักจากไม้เนื้อหอมส่งตรงจากประเทศจีนมีความงดงามและน่าศรัทธาเป็น อย่างมากความเพลิดเพลินโดยรอบวัดนั้นเกิดจาก การสรรหามุมมองในการถ่ายภาพ สำหรับผู้ที่อยากจะฝึกวิทยายุทธทางด้านการจัดองค์ประกอบภาพแล้ว
ขอแนะนำให้เดินทางมาที่นี่ บอกตามตรงว่าอาจจะดูเหมือนง่าย แต่ถ้าจะถ่ายภาพให้ออกมาได้ดีนั้นไม่ง่ายเลย เพราะเส้นสายต่างๆ ของตัวอาคารนั้นมีค่อนข้างมาก แถมด้วยสีสันสะดุดตาในแทบทุกจุด และสำคัญที่สุดก็คือไม่มีระยะห่างของแต่ละอาคารมากนัก ดังนั้นจึงต้องใช้ฝีมือในการมองหามุมและจัดวางองค์ประกอบให้กับกรอบสี่ เหลี่ยมกันแบบ “เต็มที่”
ที่นี่ไม่ได้ห้ามทั้งขาตั้งกล้องและแฟลช แต่การใช้แสงแฟลชร่วมกับงานศิลปะนั้นอาจจะต้องพิจารณาให้ดี เผลอๆ อาจจะโดนสายตาประณามเงียบจากคนรอบข้างก็เป็นได้ ดังนั้นทางที่ดีก็คืออย่าใช้ดีกว่า พึ่งแสงธรรมชาติล้วนๆ โดยหมุนหามุมที่เหมาะก็ดูท้าทายดีเหมือนกัน
ข้อมูลโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคกลาง