ทำไม ถึง เรียกว่า พะเเนง
พะแนง เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย และอาจมีวัฒนธรรมการกินแบบเขมรผสมด้วยหรือไม่ ไม่อาจยืนยันได้แต่มีการใช้ภาษาเขมร ที่เดิมใช้สำหรับการอธิบายท่าเอาขาไขว้ หรือขัดกัน ที่เรียกว่านั่งขัดสมาธิ หรือขัดตะหมาด ที่คนไทยใช้ในภาษาพูดจริงๆ แล้ว พะแนง แปลว่าท่านั่งแบบขัดสมาธิ ใช้อธิบายคำในภาษาไทยตั้งแต่ต้น หรือก่อนอยุธยา คือ พระพะแนงเชิง คือ นั่งขัดสมาธิซ้อนกัน มีทั้งพะแนง และเชิง ซึ่งมีที่มาจากภาษาเขมร และกร่อนเสียงเป็นพระพนัญเชิง ในเวลาต่อมา (แต่ไม่ขอยืนยันว่าสมมติฐานนี้ได้รับการรับรองทางวิชาการ)
คนไทยโบราณนั้นใช้ไก่ทั้งตัวทำเป็นไก่พะแนง เอาน้ำพริกแกงซึ่งไม่ใช่แกงคั่ว เพราะมีถั่วลิสงตำละเอียดปนอยู่ด้วย ผสมกับหัวกะทิ ทาไก่ทั้งในและนอกแล้วเอาขึ้นย่างไฟ ระหว่างที่ย่างนั้นก็ใช้น้ำพริกผสมหัวกะทิคอยประพรมและทาไปจนกว่าไก่จะสุก
ไก่ทั้งตัวนี้พับท่อนขาซึ่งอาจจะรวมทั้งเท้าไก่ด้วยเข้าไปไว้ในท้อง แบบเดียวกับที่ฝรั่งย่างไก่
คำว่าพะแนงในที่นี้จึงตรงกับคำว่าพะแนงในแพนงเชิงนั้นเอง
แปลว่าพับขาหรือเอาขาขัดเข้าไว้ในท้อง
ต่อมาการทำไก่พะแนงแบบนั้นอาจไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวงเพราะต้องกินเวลานานมาก จึงได้ยักย้ายเปลี่ยนมาเป็นเป็ดหรือไก่สับชิ้นโต ๆ เอาลงผัดกับเครื่องแกงและกะทิในกระทะหรือหม้อ กลายเป็นไก่พะแนงหรือเป็ดพะแนงอย่างที่รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน
พะแนงเนื้อก็มีกินในทุกวันนี้ และเนื้อนั้นก็หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เช่นเดียวกับแกงเผ็ด ผิดกันแต่เครื่องน้ำพริกเท่านั้น”
ไก่พะแนง จึงเป็นการนำไก่ทั้งตัว มาขัดขากัน และทำในหม้อใบใหญ่ ใช้เครื่องแกงแขก แบบแกงมุสลิม และเรียกว่าไก่พะแนง คั่วไปจนน้ำขลุกขลิก เหมือนอาหารอินเดียมุสลิมอื่นๆ ใช้เครื่องเทศเฉพาะ