มาตราริกเตอร์

มาตราริกเตอร์

มาตราริกเตอร์ (อังกฤษ: Richter magnitude scale) เป็นมาตรที่ใช้กำหนดขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว เสนอขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1935 โดยนักวิทยาแผ่นดินไหวสองคน คือ เบโน กูเทนเบิร์ก (Beno Gutenbrg) และ ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Charles Francis Richter)


เดิมนั้นมีการกำหนดมาตรานี้เพื่อใช้วัดขนาดของแผ่นดินไหวในท้องถิ่นทางใต้ของแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกา ที่บันทึกได้ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า
เครื่องวัดความไหวสะเทือน (seismograph) แผ่นดินไหวที่มีขนาดน้อยที่สุดในเวลานั้นถือเป็นค่าใกล้เคียงศูนย์ มาตราดังกล่าวแบ่งเป็นระดับ โดย ทุกๆ 1 ริกเตอร์ที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าแผ่นดินไหวแรงขึ้น 10 เท่า


มาตราริกเตอร์ไม่มีขีดจำกัดว่ามีค่าสูงสุดเท่าใด แต่โดยทั่วไปกำหนดไว้ในช่วง 0 - 9

ภายหลังเมื่อเครื่องวัดความไหวสะเทือนมีความละเอียดมากขึ้น สามารถวัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ละเอียด ทั้งในระดับที่ต่ำกว่า 0 (สำหรับค่าที่ได้น้อยกว่า 0 ถือเป็นค่าติดลบ) และที่สูงกว่า 9

ตารางมาตราริกเตอร์

ตัวเลขริกเตอร์จัดอยู่ในระดับผลกระทบอัตราการเกิดทั่วโลก
1.9 ลงไปไม่รู้สึก (Micro)ไม่มี8,000 ครั้ง/วัน
2.0-2.9เบามาก (Minor)คนทั่วไปมักไม่รู้สึก แต่ก็สามารถรู้สึกได้บ้าง และตรวจจับได้ง่าย1,000 ครั้ง/วัน
3.0-3.9เบามาก (Minor)คนส่วนใหญ่รู้สึกได้ และบางครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง49,000 ครั้ง/ปี
4.0-4.9เบา (Light)ข้าวของในบ้านสั่นไหวชัดเจน สามารถสร้างความเสียหายได้ปานกลาง6,200 ครั้ง/ปี
5.0-5.9ปานกลาง (Moderate)สร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง แต่กับสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงนั้นไม่มีปัญหา800 ครั้ง/ปี
6.0-6.9แรง (Strong)สร้างความเสียหายที่ค่อนข้างรุนแรงได้ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร120 ครั้ง/ปี
7.0-7.9รุนแรง (Major)สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในบริเวณกว้างกว่า18 ครั้ง/ปี
8.0-8.9รุนแรงมาก (Great)สร้างความเสียหายรุนแรงได้ในรัศมีเป็นร้อยกิโลเมตร1 ครั้ง/ปี
9.0-9.9รุนแรงมาก (Great)'ล้างผลาญ' ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีเป็นพันกิโลเมตร1 ครั้ง/20 ปี
10.0 ขึ้นไปทำลายล้าง (Epic)ไม่เคยเกิด จึงไม่มีบันทึกความเสียหายไว้0




ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์