นางกวัก หรือแม่นางกวัก
ตามประวัติพุทธสาวกในสมัยพุทธกาลที่เมืองมิจฉิกาสีณฑนคร อยู่ไม่ไกลนักจากเมืองสาวัตถีมีครอบครัวหนึ่ง ประกอบอาชีพซื้อขายสินค้าต่าง ๆ เลี้ยงชีพสองสามีภรรยามีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ "สุภาวดี" ต่อมาสุจิตตพราหมณ์ผู้เป็นพ่อ ได้ขยายกิจการซื้อเกวียนมา ๑ เล่ม นำสินค้าไปเร่ขายในต่างถิ่น บางครั้งบุตรสาวขออนุญาตเดินทางไปด้วยเพื่อเที่ยวชมสถานที่ต่าง ๆ การไปค้าขายกับบิดานี่เองณ จุดพักขายสินค้า ทำให้สุภาวดี ได้มีโอกาสพบกับ "พระกัสสปเถรเจ้า" เป็นอริยสงฆ์แสดงธรรม
นางกวัก หญิงที่ผู้คนบูชา
หลังจากสุภาวดีฟังธรรมเทศนาอย่างตั้งใจแล้ว พระกัสสปเถรเจ้ากำหนดจิตเป็นอำนาจจิตพระอรหันต์ ประสิทธิประสาทพรให้สุภาวดีและครอบครัว โดยได้ตั้งกุศลจิตประสาทพรเช่นนี้ทุกครั้งที่สุภาวดีมีโอกาสไปฟังจนจบอำลากลับ เมื่อสุภาวดีติดตามบิดาไปค้าขายยังเมืองอื่น ด้วยกุศลบารมีบันดาลให้สุภาวดีมีโอกาสฟังธรรมพระอริยสงฆ์อีกท่านหนึ่งนามว่า "พระสิวลีเถรเจ้า" ในถิ่นที่บิดานำสินค้าไปขายการได้ฟังธรรมอย่างตั้งใจ สุภาวดีจึงมีความรู้แตกฉานในหลักธรรมต่าง ๆ เป็นอันมาก
พระสิวลีเป็นผู้มีชีวิตอัศจรรย์กว่าพระสงฆ์อื่น คือท่านอยู่ในครรภ์มารดานานถึง ๗ ปี ๗ เดือน จึงคลอดออกมา พร้อมด้วยวาสนา บารมี ที่ติดกับวิญญาณธาตุของท่านท่านจึงเป็นผู้มีลาภสักการบูชามาหาท่านตลอด เมื่อถึงคราวจำเป็นและต้องการ ทุกครั้งที่สุภาวดีได้ฟังธรรมและลากลับ พระสิวลีเถรเจ้าได้กำหนดกุศลจิตประสาทพรให้สุภาวดีและครอบครัว เช่นเดียวกัน จิตของสุภาวดีจึงได้รับประสาทพรจากพระอรหันต์ถึง๒ องค์ ส่งผลให้บิดาทำการค้าได้กำไรไม่เคยขาดทุน
ผู้คนต่างรับรู้เรื่องราวและบารมีของสุภาวดี(นางกวัก) ที่เป็นที่มาแห่งความร่ำรวยก่อโชคลาภทางการค้าขาย ทั้งเป็นผู้มีศีลธรรม และคุณธรรม แม้เมื่อสุภาวดีตายไปแล้ว ความมีอิทธิฤทธิ์ในทางโชคลาภและการค้า ก็เล่าสืบต่อกันมาถึงคนรุ่นหลัง มีผู้นับถือมากมายถึงกับปั้นรูปสุภาวดีไว้บูชา ขอให้การค้ารุ่งเรืองและความเชื่อดังกล่าวนี้ก็แพร่หลายเข้ามายังสุวรรณภูมิ จากการเผยแพร่ของพราหมณ์
"การสร้างนางกวัก มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งเก่าและใหม่ ท่านที่ปรารถนาอยากจะได้นางกวักไว้บูชาเพื่อให้การค้าขายเจริญรุ่งเรือง ก็ลองไปดูตามวัดวาอารามต่าง ๆ จะนิยมสร้างกันมาก ส่วนราคาถ้าเก่าหายากก็แพง ถ้าใหม่ก็ไม่แพง หรือบางท่านไปซื้อ(นางกวัก)ตามร้านเครื่องสังฆภัณฑ์ และนำ(นางกวัก)ไปให้พระเกจิอาจารย์ที่นับถือ อธิษฐานจิตปลุกเสก พุทธคุณก็เหมือนกัน"
board.postjung