อันดับที่ 7 แมลงสาบอินเตอร์ (อยู่มันซะทุกทวีป)
คำว่าแมลงสาบมาจากภาษาสเปนคำว่า Cucaracha ส่วนภาษาอังกฤษแรกเริ่ม(ปี 1624)เขียนว่า Cacarootch แต่กระนั้นแมลงสาปนั้นมีอยู่ทั่วโลก ทุกทวีป ทั่วประเทศ จึงไม่น่าแปลกที่มันมีคำเรียกหลายภาษา เช่น ภาษาดัตซ์: kakkerlak m ,ฮิบรู:(jook) , ญี่ปุ่น: (gokiburi), มองโกเลีย: (joom), รัสเซีย: (tarakan), สวีเดน: kackerlacka, ตุรกี: hamam , อูดุ(Urdu)เป็นภาษาของชาวปากีสถานและอินเดียเหนือ
อันดับที่ 6 เสียงของแมลงสาบมาดากัสการ์
แมลงสาบไม่ใช่ทุกพันธุ์ที่จะบินได้ เช่น แมลงสาบมาดากัสการ์เป็นแมลงสาบที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาแ มลงสาบด้วยกัน ชื่อสามัญว่า “Madagascan Giant Hissing roach” ที่มาของชื่อเนื่องจากมันชอบร้องเสียงดังในระหว่างกา รผสมพันธุ์ และเมื่อมันถูกรบกวน หรือต้องการสื่อสารกับพวกให้รู้ถึงอันตราย อย่าง ที่บอกคือความสามารถพิเศษแมลงสาบมาดากัสการ์คือเสียง โดยตัวเต็มวัยของทั้งสองเพศและตัวอ่อนในระยะหลังสามา รถทำเสียงได้ เสียงนั้นคล้ายเสียงขู่ของงู (hissing sound) อวัยวะที่ให้กำเนิดเสียงของแมลงสาบชนิดนี้อยู่ที่รูหายใจ (spiracle) จากด้านข้างของท้องปล้องที่ 4 ทั้งสองข้าง แมลงสาบยักษ์ทำเสียงเพื่อใช้ในการเกี้ยวพาราสีก่อนผส มพันธุ์ แมลงสาบเพศผู้อาจใช้เสียงขู่เพื่อไล่ตัวผู้อื่นๆเพื่อแย่งตัวเมีย นอกจากนี้เสียงขู่ยังใช้สำหรับป้องกันตัวเองจากศัตรู ธรรมชาติ
อันดับที่ 5 แมลงสาปหัวขาดแล้ว แต่ยังไม่ตาย
ด้วยลักษณะโครงสร้างของแมลงสาบ ทำให้มันค่อนข้างทนทานกับแรงกระแทกและอื่นๆอีกมากมาย บางครั้งก็เอาของหนักวางทับมัน มันก็ไม่ตาย และที่อึดยิ่งกว่านั้น คือ หัวขาดแล้วยังมีชีวิตอยู่ได้เป็นอาทิตย์ ซึ่งน่าแปลกมากทำไมแมลงสาปโดนตัดหัวแล้วไม่ตาย แต่ในขณะที่มนุษย์โดนตัดหัวถึงตาย นักวิทยาศาสตร์ได้ให้คำอธิบายว่า เปรียบเทียบระหว่างคนและแมลงสาปโดนตัดหัวว่า คนเรานั้นเมื่อโดนตัดหัวจะเสียชีวิตทุกรายเพราะเสียเลือดแรงดันเลือดต่ำลง ทำให้ไม่สามารถส่งออกซิเจนและสารอาหารเดินทางไปเลี้ย งเนื้อเยื่อในส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ อีกประการหนึ่ง คนหายใจทางปากและจมูก มีสมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานที่สำคัญ เมื่อไม่มีศีรษะระบบหายใจก็หยุดทำงาน และไม่มีช่องทางสำหรับอาหารเข้าสู่ร่างกาย
แต่ระบบร่างกายของแมลงสาบ ไม่ได้เป็นอย่างนั้น แมลงสาบไม่มีแรงดันโลหิตเหมือนคน มันไม่มีเครือข่ายเส้นเลือด หรือเส้นเลือดฝอยเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียน แมลงสาบใช้ระบบเส้นเลือดไหลเวียนแบบเปิด ซึ่งใช้มีแรงดันโลหิตน้อยมาก หลังจากแมลงสาบถูกตัดหัวขาดแล้ว แผลที่คอจะสมานอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดไม่ไหลทะลักออกจนตาย แมลงสาบยังหายใจผ่านทางท่อหายใจขนาดเล็กที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่จำเป็นต้องใช้สมองควบคุมการหายใจ และเลือดไม่ได้เป็นตัวลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกาย แต่เนื้อเยื่อต่อตรงเข้ากับท่อหายใจโดยตรง
แมลงสาบยังเป็นสิ่งมี ชีวิตที่เรียกว่า สัตว์เลือดเย็น หมายความว่า กินอาหารน้อยกว่ามนุษย์ ดังนั้น ถ้ามันได้กินอาหารสักมื้อ มันสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้หลายสัปดาห์ ตราบใดที่มันไม่ถูกสัตว์นักล่าสวาปาม แค่มันทำตัวนิ่งเฉย ไม่เดินเพ่นพ่านให้ติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือไวรัส มาปลิดชีพ นอกจาก นี้ อวัยวะแต่ละส่วนของแมลงสาบยังมีกลุ่มเนื้อเยื่อประสา ทเฉพาะของตัวเอง คอยตอบสนองระบบประสาทพื้นฐาน ถึงจะไม่มีสมองร่างกายของมันยังทำงานพื้นๆ ได้ เช่น ยืน และขยับตัวได้เมื่อถูกแตะ และไม่ใช่แต่ลำตัวเท่านั้นที่แสดงปฏิกิริยาตอบสนองได ้ แม้แต่หัวที่ขาดกระเด็นออกมาจากร่างกาย ยังสามารถขยับหนวดไปมาได้หลายชั่วโมงจนกว่าพลังงานหมด หรือถ้าเอาสารอาหารป้อนแล้วไปเลี้ยงในตู้เย็น หัวแมลงสาบยังขยับได้อีกนาน
อันดับที่ 4 แมลงสาบตัวการโรคภูมิแพ้
แมลงสาบเป็นตัวก่อโรคสำคัญหนึ่งของมนุษย์ คือโรคภูมิแพ้ โดยแมลงสาบจะปล่อยสาร คัดหลั่งจากตัว ไม่ว่าจะเป็นอึ หรือ อะไรก็ตามที่อยู่บนตัวมัน เป็น Allergen (สารก่อภูมิแพ้) ชั้นดี ดังนั้น เด็กที่อยู่บ้านสกปรกก็อาจจะเป็นภูมิแพ้ได้ง่าย ซึ่งภูมิแพ้นี้ถ้าเป็นเรื้อรัง จะมีโอกาสพัฒนาไปสู่การเป็นโรคหอบหืดได้ แทบ ไม่น่าเชื่อเลยว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคแพ้แมลงสาบ (roach allery) มากขึ้นเรื่อยๆ โดยพบอัตราการเกิดโรคสูงเป็นอันดับสองรองจากโรคแพ้ไร ฝุ่น (แพ้ไรฝุ่นประมาณ 60% , แมลงสาบ 40%) อาการที่พบในผู้แพ้แมลงสาบ คือ หายใจไม่สะดวกหรือจับหืด (asthma) อันเนื่องมาจากการสูดดมสารแพ้ (roach allergens) เข้าไป ปัจจุบันนักวิจัยให้การยอมรับว่าแมลงสาบสามารถก่อให้ เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหอบหืด และโรคแพ้อากาศ (rhinitis)
อันดับที่ 3 แมลงสาปเจ้าแห่งความเร็ว
มีการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความเร็วที่สุดของแมลงสาบพันธุ์อเมริกันมีความ เร็ว เฉลี่ย 2.0 ไมล์ต่อชั่วโมง(75 เซนติเมตรต่อวินาที) ซึ่งหากเปลี่ยนเทียบกับสัตว์ใหญ่สักตัวละก็ มีวิ่งเร็วพอๆ กับเสือชีตาห์!!( 110-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ด้วยโครงสร้างที่เบา อีกทั้งสรีระที่แบนๆ ทำให้มันกระจายน้ำหนักได้ดี ดังนั้นเราจึงเห็นมันวิ่งเร็วมากจนตบแทบไม่ทัน แต่กระนั้นมันก็ชอบหลงทิศหลงทาง ต้องใช้หนวดและตาในการคลำหาเส้นทาง และมันจะปล่อยสารไว้ตามทางที่มันเดินเพื่อจะได้กลับไปที่เดิมได้เร็ว ดังนั้นจึงไม่แปลกใจแต่อย่างใดหากเราจะเหยียบแมลงสาบ แล้วพบว่าแมลงสาบจะวิ่ง สะเปะสะปะ
อันดับที่ 2 แมลงสาบผู้รอดชีวิตจากสงครามนิวเคลียร์
แมลงสาบมีชื่อเสียงมานานแล้วว่า เป็นสิ่งมีชีวิตที่ทนทายาด และมีการยืนกรานแล้วว่าแมลงสาบเป็นสิ่งมีชีวิตที่รอดชีวิตจากระเบิด นิวเคลียร์แน่นอน แต่กระนั้นเราก็ไม่สามารถหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ เลยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น บางทีอาจเป็นเพราะเซลล์ของแมลงสาบอาจสามารถฆ่ารังสีที่เป็นตัวก่อมะเร็ง, หรืออาจเป็นเพราะมันสามารถทนอยู่กับสภาพกัมมันตรังสี ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งได้
อันดับที่ 1 แมลงสาบซอมบี้
Emerald roach wasp มีชื่อไทยว่าต่อสาบมรกต หรือต่อมณีรัตน์ เป็นเป็นต่อชนิดหนึ่งพบได้ในแถบ แอฟริกา อินเดียและหมู่เกาะแปซิฟิก มันจะแสวงหาแมลงซักตัวเพื่อเป็นที่พักตัวอ่อนให้กับมัน โดยเหยื่อที่มันชอบคือแมลงสาบ แม้แมลงสาบมันจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวมันหลายช่วงตัวก็ตาม ซึ่งมันก็จะเข้าไปโจมตีโดยการต่อยแล้วปล่อยสารพิษประสาทที่ชื่อ Octopamine ให้แมลงสาบ ส่งผลให้แมลงสาบเป็นอัมพาตแต่ไม่สามารถจะเดินได้ด้วยตัวเอง จากนั้นต่อจะสามารถบังคับหนวดของแมลงสาบให้เดินตามมันไปยังรังของมันได้ตาม ต้องการอย่างว่าง่าย (คล้ายจูงหมากลับบ้าน) เมื่อเข้ารังแล้วปล่อยไข่ไว้ในตัวมันแล้วมันก็จะเด็ด กินหนวดของเหยื่อของมัน อ๊ะ! เหยื่อยังไม่ตายนะจากนั้นมันก็จะฝังแมลงสาบไว้เพื่อเ ป็นอาหารให้ลูกมันซึ่ง เมื่อลูกฟักจากไข่ก็จะเริ่มกินอาหารก็คือเนื้อแมลงสาบ ซึ่งขณะนั้นแมลงสาบไม่สามารถทำอะไรได้ (แต่ดิ้นได้ เพราะยังไม่ยอมตาย – -) ก็จะทรมานกับการถูกกินทั้งเป็นและเป็นอาหารจนตัวอ่อนโตขึ้น ซึ่งแมลงสาบก็จะเหลือแต่ซากแล้วล่ะ (ยอมตายซะที)
ที่มา : www.clipmass.com
|