ข้อมูลเยอะ ไร้ระเบียบ ทำให้ลืมง่าย
บ่อยครั้งที่เราจำชื่อคนไม่ได้ จำเบอร์โทรศัพทร์ผิด นักวิทยาศาสตร์บอกว่าปัญหาคือเรามีข้อมูลมากเกินไปและไม่เป็นระเบียบ สมองจึงต้องการความปลอดโปร่ง
ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าความสามารถในการจดจำที่ลดลงสอดคล้องกับอายุ ไม่ใช่เพราะพื้นที่หน่วยความจำน้อยลงแต่เพราะสมองชะลอการทำงานลง
ควรโทษการใช้งานสมองในการค้นหาข้อมูลที่ยากและมากมันจึงหยุดข้อมูลไม่สัมพันธ์กันและรบกวนการทำงานขณะนั้น
การศึกษาขั้นแรกโดยเปรียบเทียบการทำงานระหว่างความจำของหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ การทำงานของความจำนั้นเกี่ยวพันธ์ข้อมูลที่อยู่ในจิตใจ
จากการศึกษากลุ่มทดลองโดยให้ประโยคข้อความหนึ่งและถามความรู้สึกที่มีต่อประโยคนั้น ต่อจากนั้นให้จดจำคำสุดท้ายของประโยคไว้
ผลปรากฎว่าหนุ่มสาวที่มีอายุประมาณ 23 ปี จะทำได้ดีที่สุด รายงานโดยวารสารผู้ชำนาญการด้านจิตวิทยา
นักวิจัยชาวแคนนาดาได้ทดสอบครั้งที่สองเพื่อชี้ให้เห็นว่าอุปสรรค์ของกลุ่มทดลองที่อายุมากที่มีอายุเฉลี่ย 67 ปี
โดยแสดงภาพสัตว์ให้ดู 8 ภาพและให้จำลำดับภาพ ต่อจากนั้นให้ผู้ทดลองดูภาพ 12 ภาพในคอมพิวเตอร์และให้คลิกเม้าส์เมื่อเห็นภาพแรกใน 8 ภาพที่ให้จำก่อนหน้านี้ และทำอย่างนี้จนครบจำนวน 8 ภาพ พบว่ามันเป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้สูงอายุ
มาวิน แบลร์ จากมหาวิทยาลัยคอนคอร์เดีย กล่าวว่า พวกเราพบว่าผู้มีอายุมากจะมีความยากลำบากในการขจัดข้อมูลที่ได้รับมาก่อนหน้านี้ การมีข้อมูลในสมองมากเกินไปทำให้ทำเกิดปัญหาในการทำงานของความจำ
นายแบลร์กล่าวว่าสมองผูสูงอายุมีปัญหากับการขจัดข้อมูลที่ไม่สัมพันธ์กันออกไป ทำให้ยากที่จะเพ่งความสนใจในสิ่งที่ทำขณะนั้นได้
สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านความจำ เขาแนะนำให้พักผ่อนและนอนหลับให้เพียงพอ การรักษาจิตใจให้เป็นหนุ่มสาว โดยการเรียนภาษาหรือดนตรีสามารถช่วยได้
แบลร์กล่าวเพิ่มเติมว่าวัยหนุ่มสาวก็อาจมีปัญหากับความจำได้เกิดจากการขัดขว้างของข้อมูลภายนอก การนอนไม่หลับทำให้ยากสำหรับการทำงานที่เหมาะสมของสมอง
การวิจัยก่อนหน้าที่พบว่าส่วนของสมองที่ทำให้เกิดความรู้สึกละอายจะเสื่อมลงตามอายุอีกด้วย และนั้นทำให้คนเราสูญเสียความยั้บยั้งชั่งใจ
ทำอย่าไรให้จำดี
1.เข้านอนแต่หัวค่ำ
2.นั่งสมาธิหรือเล่นโยคะเพื่อให้จิตใจสงบ
3.เรียนภาษาหรือดนตรีเพื่อรักษาจิตใจให้เยาว์วัย
4.เล่นครอสเวิร์ดหรือปริศนาอักษรไขว้เพื่อกระตุ้นสมอง
5.ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกายและใจที่ดี
6.การเข้าสังคมจะช่วยลับสมองให้เฉียบคม