ใช้ยาถ่าย ยาระบายต้องระวัง

ยาถ่าย และยาระบาย

เป็นยาที่ช่วยบำบัดอาการท้องผูก คำว่ายาระบาย มักใช้กับยาที่มีฤทธิ์อ่อน คือ ทำให้เกิดอาการถ่ายที่ไม่รุนแรง อุจจาระอาจมีลักษณะอ่อนนุ่ม ส่วนยาถ่ายจะใช้กับยาที่มีฤทธิ์แรงขึ้น ทำให้เกิดอาการถ่ายที่รุนแรงกว่า อุจจาระมักเป็นน้ำมากขึ้น แต่ยาระบาย หากใช้ในขนาดสูงขึ้น จะแสดงฤทธิ์เป็นยาถ่ายได้ ยาถ่าย และยาระบายสามารถ
 
แบ่ง
ออกเป็น 5 ประเภท ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ประเภทที่รู้จักกันแพร่หลายคือ

ใช้ยาถ่าย ยาระบายต้องระวัง


ประเภทที่ 1
 ยาที่ทำให้อุจจาระเกาะตัวเป็นก้อน เช่น เมทธิลเซลลูโลส ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ต้องกินพร้อมกับน้ำ ยาจะดูดน้ำและพองตัวได้ ทำให้เพิ่มปริมาณน้ำและเนื้ออุจจาระ ทำให้ลำไส้ขยายและบีบตัวมากขึ้น ยาไม่ถูกดูดซึมในสำไส้ จึงมีฤทธิ์อ่อน ค่อนข้างปลอดภัย

ข้อควรระวังคือ

ต้องดื่มน้ำตามไปมาก ๆ หรือผสมกับน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ประมาณ 1 แก้ว ให้ยาพองตัวในน้ำให้ดีก่อนรับประทาน เพราะถ้าหากกินในรูปผงแห้งหรือมีน้ำไม่เพียงพอ อาจเกิดการอุดตันในหลอดอาหารและสำไส้ และยังทำให้อุจจาระอัดเป็นก้อนแข็ง ขับถ่ายยาก ดังนั้นจึงห้ามใช้ยานี้ในกรณีสำไส้อุดตันและอุจจาระอัดเป็นก้อนแข็ง อุดตันลำไส้

ใช้ยาถ่าย ยาระบายต้องระวัง


ประเภทที่ 2
 
ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนตัวของลำไส้และทำให้ระคายเคือง เช่น บิสซาโคดีล และมะขามแขก ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ทำให้เพิ่มการหลั่งน้ำและเกลือแร่ และกระตุ้นเพิ่มการการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ถ่ายอุจจาระออกมา หากใช้มากไปจะทำให้ขาดน้ำและเกลือแร่บางอย่างในร่างกาย

 ข้อควรระวัง คือ

ไม่ควรใช้เป็นประจำติดต่อกันนาน ๆ เพราะจะทำให้ร่างกายเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ ปวดท้อง การทำงานของลำไส้ใหญ่ลดลง เยื่อผุผนังลำไส้ผิดปกติ และเกิดการเปลี่ยนแปลงของปมประสาทในลำไส้


ยาถ่ายและยาระบาย

ห้ามใช้เมื่อมีอาการปวดท้อง หรือคลื่นไส้อาเจียน และห้ามใช้ในผู้ป่วยที่อ่อนเพลียมาก ๆ อย่างไรก็ตาม การรักษาอาการท้องผูกควรแก้ที่ต้นเหตุ คือควรรับประทานอาหารที่มีกากมาก เช่น ผัก และผลไม้ต่าง ๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ การฝึกนิสัยการขับถ่ายอุจจาระทุกวันให้เป็นเวลา


ขอขอบคุณ ที่มา : ข้อมูลอ้างอิงจาก อย.

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์