การเตรียมตัวก่อนใช้สิทธิ์ - ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัคร ไม่ว่าจะเป็นผลงาน ประวัติ หรือคุณงามความดี เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ - ตรวจสอบรายชื่อของตน ว่าอยู่ในเขตเลือกตั้งไหน และต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งใด ถ้าหากลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดไว้ ต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกลางนอกเขตจังหวัดของจังหวัดที่ตนลงทะเบียน ในวันที่ 26 มิถุนายน 2554 เท่านั้น - เตรียมบัตรประชาชนเอาไว้ให้พร้อม - เตรียมไปเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลา 08.00 - 15.00 น.
หลักฐานใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้ง - บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุแล้วก็ได้ใช้ - บัตรหรือหลักฐานอื่นของทางราชการที่มีรูปถ่าย และหลายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก อาทิเช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง
ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้ง 1. ตรวจสอบรายชื่อและลำดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง หรือจากหนังสือแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ส่งไปยังเจ้าบ้าน หรือทาง www.khonthai.com 2. ยื่นบัตรประชาชน และลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 3. ลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ด้วยลายนิ้วหัวแม่มือขวาบนต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง พร้อมรับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต และบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 4. เข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมาย x ลงในช่องทำเครื่องหมาย - บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต เลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว - บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เลือกพรรคการเมืองได้เพียงพรรคเดียว - หากไม่ต้องการเลือกใครหรือพรรคการเมืองใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาทฝนช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน 5. พับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 บัตร ให้เรียบร้อย และใส่บัตรทีละบัตรลงในหีบบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภทด้วยตนเอง
การแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
หากในวันเลือกตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้เพราะมีกิจธุระจำเป็น ต้องไปแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเทียนท้องถิ่นที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เสียสิทธิ 3 ประการ การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 1. มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล 2. เจ็บป่วย พิการ สูงอายุ ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ 3. พิการ หรือสูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ 4. เดินทางออกนอกราชอาณาจักร 5. มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กม. 6. มีเหตุสุดวิสัยอื่นที่ กกต.กำหนด วิธีการแจ้งเหตุ ระหว่างก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน จนถึงหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน (ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2554) 1. กรอกแบบฟอร์มหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ (ส.ส. 28) โดยระบุหมายเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน 2. แนบหลักฐานเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ 3. ยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ได้ 3 วิธีการ คือ 3.1 ยื่นด้วยตนเอง 3.2 มอบหมายบุคคลอื่นไปยื่นแทน 3.3 ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ใบเหลือง ใบแดง คืออะไร ? เพื่อให้เข้าใจง่าย จึงขอเปรียบเทียบกับกีฬาฟุตบอล เมื่อกรรมการให้ “ใบเหลือง”นักฟุตบอล แปลว่า นักฟุตบอลคนนั้นเล่นผิดกติกา แต่ยังไม่ถึงกับไล่ออกจากสนาม ยังให้เล่นต่อไปได้ ถ้าให้ “ใบแดง” แปลว่า นักฟุตบอลคนนั้นทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง ต้องไล่ออก จากสนาม กฎหมายเลือกตั้งทุกประเภทก็กำหนดกติกาการเลือกตั้งไว้คล้ายๆ กับกติกากีฬาฟุตบอล ดังนี้ การให้ใบเหลือง แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใด หมายความว่า กกต. เห็นว่า มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้น เช่น การซื้อสิทธิ-ขายเสียง การแจกเงิน สิ่งของ เป็นต้น แต่เป็นการทุจริตที่แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานที่เชื่อได้ว่าผู้สมัครได้เป็นคนกระทำด้วยตนเอง แต่ก็เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตนั้น กกต. จึงลงโทษด้วยการสั่งให้เลือกตั้งใหม่ โดยผู้สมัครที่ได้ใบเหลืองยังคงเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งต่อไปได้ การให้ใบแดง แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หมายความว่า กกต. เห็นว่ามีหลักฐาน อันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้นเช่นเดียวกับกรณีการให้ใบเหลือง แต่ต่างกันตรงที่ว่าผู้สมัครเป็นผู้กระทำหรือมีส่วนรู้เห็นการทุจริตนั้น จึงมีผลต้องถูก เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 1 ปี และหากผู้นั้นได้รับคะแนนเสียงอยู่ในเกณฑ์ที่ จะได้รับการเลือกตั้ง ก็จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่แทน โดยผู้ถูกเพิกถอนสิทธินั้น จะไม่มีสิทธิลงสมัคร ทั้งยังถูกดำเนินคดีอาญา และต้องชดใช้ค่าเสียหายในการเลือกตั้งใหม่ด้วย
ข้อห้ามกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
• ห้ามซื้อเสียง หรือจัดเตรียมการซื้อเสียง • ห้ามรับเงินและประโยชน์อื่นใด เพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง • ห้ามหาเสียงและห้ามขายหรือจัดเลี้ยงสุรา ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อน วันเลือกตั้งจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง • ห้ามนายจ้างขัดขวางการไปใช้สิทธิของลูกจ้าง • ห้ามขัดขวางหรือหน่วงเหนียวมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ณ ที่เลือกตั้ง • ห้ามจัดยานพาหนะ (ยกเว้นหน่วยงานรัฐ) ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปเลือกตั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร • ห้ามฉีกบัตรเลือกตั้ง หรือทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุดอย่างจงใจ • ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ตนเองได้ลงคะแนนแล้วด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด • ห้ามเล่นการพนันขันต่อใดๆ เกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง • ห้ามเผยแพร่หรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผล การเลือกตั้ง (โพลล์) ในระหว่าง 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง (เวลา 15.00 น.)
|