ภาษาทุกภาษาที่ยังใช้สื่อสารกันเป็นปกติในชีวิตประจำวันต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเกิดจากเสียงบางเสียง ความหมายของคำบางคำ รูปประโยคบางประโยค บางคำอาจเลิกใช้ มีคำใหม่และรูปประโยคแบบใหม่เกิดขึ้น
สาเหตุที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงนั้น เราสันนิษฐานได้หลายประการ เป็นต้นว่า
1. การพูดจากันในชีวิตประจำวัน ถ้าผู้พูดมิได้พยายามพูดให้ชัดเจน เสียงก็อาจกลายไปได้ เช่น อย่างนี้ กลมกลืนเป็นเสียง อย่างงี้ อันหนึ่ง กร่อนเสียงเป็น อนึ่ง นานๆเข้าคำที่เปลี่ยนไปก็ติดอยู่ในภาษา คำเดิมก็อาจค่อยๆสูญไป หรืออาจใช้ในความหมายที่ต่างจากเดิม
2. อิทธิพลของภาษาอื่น เมื่อมีการยืมคำหรือประโยคของภาษาอื่นมา เราอาจพยามเปลี่ยนแปลงให้มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาของเรา หรือบางทีมิได้ดัดแปลง ยังคงใช้ตามภาษาเดิม ก็อาจมีอิทธิพลทำให้ภาษาของเราเปลี่ยนแปลงไป คือมีเสียงเพิ่มขึ้น มีแบบประโยคเพิ่มขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เมื่อมีสิ่งใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ กระบวนการใหม่ๆเกิดขึ้น ก็จะมีศัพท์ใช้เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ สิ่งที่เคยมีอยู่เดิม เมื่อเลิกใช้กันก็อาจทำให้คำที่ใช้เรียกสิ่งนั้นสูญไปจากภาษาด้วย หรือ ถึงแม้คำนั้นจะยังคงอยู่ คนรุ่นใหม่ก็อาจไม่รู้ความหมาย หรือเข้าใจความหมายผิดไปได้ เช่น ถ้าต่อไปมีผู้ใช้แต่หม้อหุงข้าวไฟฟ้าแทนหม้อหุงข้าวแบบเดิม คนรุ่นใหม่ก็จะไม่เข้าใจว่า ดงข้าว หมายความว่าอย่างไร
4. การเรียนภาษาของเด็ก เด็กเรียนภาษาจากบุคคลทั้งหลายที่ได้อยู่ใกล้ชิด เมื่อเด็กได้ฟังคำพูด ได้ฟังภาษาของบุคคลเหล่านั้น ก็ปรุงขึ้นเป็นภาษาของตนเอง เราจะสังเกตเห็นว่าภาษาของเด็กไม่เหมือนภาษาของผู้ใหญ่ เด็กอาจเข้าใจความหมายของคำ การออกเสียงคำ และใช้คำไม่ตรงกับผู้ใหญ่ แต่ก็อาจเป็นได้ว่า ภาษาของเด็กไม่ตรงกับผู้ใหญ่ทีเดียว เมื่อเด็กคนนั้นใช้ภาษาที่เคยใช้นั้นต่อไป ภาษาก็อาจเปลี่ยนไปได้ เช่น คำ หนู เคยเป็นภาษาของเด็กๆ ใช้เป็นสรรพนามแทนตัวเอง เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็ยังคงใช้คำนี้อยู่
การเปลี่ยนแปลงของภาษาดังที่กล่าวมานี้ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่จะต้องเกิดแก่ภาษาทุกภาษา แต่ผู้ใช้ภาษาก็ไม่ควรปล่อยให้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปจนก่อให้เกิดผลเสียแก่การสื่อสาร เช่น ปล่อยให้เสียง ร หรือเสียงควบกล้ำหายไป คำที่มีเสียง ร ก็ออกเสียงเป็น ล เช่น คำ รัก ออกเสียง
สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา
FW
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!