รู้ไหม “ความเหนื่อย” บ่งบอกโรคได้


ระดับความต้องการออกซิเจนเป็นตัวชี้

รู้ไหม “ความเหนื่อย” บ่งบอกโรคได้


           ออกซิเจนเป็นสารที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่ถ้าขาดออกซิเจนคนเราจะถึงแก่กรรมในระยะเวลาอันสั้น ... การหายใจ เป็นการนำออกซิเจนเข้าไปสู่ในปอด และแลกเปลี่ยนกับเลือดที่ไหลมายังปอด ออกซิเจนจะซึมเข้าไปในกระแสเลือด และไหลออกไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในภาวะปกติการหายใจจะเป็นสัดส่วนกับความต้องการออกซิเจนของร่างกาย ปกติแล้วการหายใจควบคุมโดยสมองส่วนกลาง โดยที่เราไม่ต้องคิดที่จะหายใจเอง 
           ในภาวะปกติเราจะไม่รู้สึกเหนื่อย อาการเหนื่อยเป็นความรู้สึกที่บอกตัวเราว่าเราต้องออกแรงหายใจมากกว่าปกติ จะเป็นเพราะเราต้องหายใจเอาอากาศเข้า-ออกเป็นปริมาณมาก ๆ หรือมีหลอดลมตีบทำให้หายใจลำบากขึ้นก็ได้ คนปกติจะไม่รู้สึกเหนื่อยในขณะที่ใช้ชีวิตและทำงานอย่างธรรมดาประจำวัน แต่จะรู้สึกเหนื่อยเมื่อต้องออกกำลังมาก เช่น ในขณะที่เล่นกีฬา หรือต้องทำงานหนัก เช่น แบกของเป็นต้น การเหนื่อยง่ายถือว่าผิดปกติ ถ้าหาก 
           
เมื่อออกกำลังหรือทำงานแล้วรู้สึกเหนื่อยในขณะที่คนอื่น ๆ ไม่รู้สึกมีอาการเหนื่อยในขณะที่ทำงาน หรือออกกำลังซึ่งแต่เดิมสามารถทำได้โดยไม่มีอาการเหนื่อย ตัวอย่างเช่น แต่ก่อนเดิน 100 เมตรได้ไม่เหนื่อย แต่ในปัจจุบันเดินแล้วเหนื่อย อาการเหนื่อยอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากโรค และไม่ใช่โรค และอาจเกิดจากโรคที่มีอันตรายถึงตายได้ หากรักษาหรือแก้ไขไม่ทัน สาเหตุของการเหนื่อยง่ายจากโรคอาจแบ่งเป็น โรคหัวใจ โรคปอด โรคโลหิตจาง โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคของประสาท และกล้ามเนื้อ

สาเหตุของการเหนื่อยง่ายที่ไม่ได้เกิดจากโรคอาจแบ่งเป็น 
           
ร่างกายอ่อนแอ เนื่องจากการขาดการอกกำลังกาย (Physical unfit) ร่างกายอ่อนแอ เนื่องจากเพิ่งฟื้นไข้ และขาดอาหาร ร่างกายอ่อนแอ เนื่องจากพักผ่อนไม่พอ มีความเครียดกังวลมาก ท้อแท้ หรือที่เรียกว่าเหนื่อยใจ
           
ผู้ที่มีอาการเหนื่อยง่าย ควรจะไปพบแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการเหนื่อยง่ายเพิ่งเกิดขึ้นไม่นานในการวินิจฉัยหาสาเหตุอาการเหนื่อยนั้นแพทย์จำเป็นต้องซักถามประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยเฉพาะระบบทางด้านปอด และหัวใจ นอกจากนั้นจำเป็นต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติเพื่อหาสาเหตุของอาการเหนื่อย การตรวจโดยขั้นต้นได้แก่ 
           
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ตรวจปัสสาวะ (Urine exam ) ตรวจเบาหวาน ตรวจการทำงานของตับ และไต ตรวจระดับฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ เอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest X-ray) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ตรวจสมรรถภาพปอด (Spirogram) 
           
การตรวจขั้นต่อไป ถ้ามีการผิดปกติ เช่น มีประวัติและตรวจร่างกาย แนะนำว่าเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะมีคลื่นหัวใจที่ผิดปกติ และมีหัวใจโตในเอกซเรย์ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจแพทย์ทางด้านหัวใจต่อไป 
           
ในกรณีที่พบว่าเป็นโรคเบาหวาน หรือต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ต้องพบอายุรแพทย์ผู้ชำนาญทางด้านต่อมไร้ท่อ กรณีที่ผู้ป่วยมีโลหิตจาง จำเป็นต้องตรวจต่อ เพื่อดูว่าโลหิตจางเป็นจากการเสียเลือด หรือโรคเลือดโดยตรง หรือจากโรคมะเร็ง ซึ่งถ้าตรวจพบ ต้องไปพบแพทย์ผู้ชำนาญโรคเฉพาะทาง ถ้าเป็นร่างกายอ่อนแอเนื่องจากการขาดกำลัง และอื่นๆ ตามที่กล่าวมา ควรพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เข้าโครงการทำ Physical Fitness ถ้าเป็นจากทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นกว่า 50% ของผู้ป่วย อาการเหนื่อยมักจะเป็นจากข้อนี้ อาจลองให้ยาคลายเครียด Reassure แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการทางด้านจิตมาก ก็ควรจะส่งแพทย์ทางด้านจิตเวช ขอบคุณที่มา :: ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์