เรามักคุ้นเคยกับอาการไม่สบายทางกายที่เกิดจากความเครียด เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ แต่ยังมี อาการไม่สบายทางกายอีกชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยแต่ผู้คนยังไม่ค่อยรู้จักกว่าเป็นอาการที่เกิดจากความเครียด คือ การหายใจเร็วเกินไป (Hyperventilation Syndrome) ความผิดปกติที่เกิดขึ้นก็คือเมื่อมีความเครียด คนไข้จะมีอาการ หายใจหอบลึกและมือเท้าจีบเกร็งขึ้นทันทีทันใด เป็นความผิดปกติที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่ถ้าผู้ป่วยและญาติไม่เข้า ใจก็อาจจะรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันหรือก่อให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้
อาการผิดปกติชนิดนี้มักเกิดกับเพศหญิงอายุประมาณ 15-30 ปี ที่มีจิตใจและบุคลิกภาพไม่แข็งแรง เมื่อมีเรื่องขัดใจ ตกใจ หรือโมโหฉุนเฉียวก็จะเกิดอาการกำเริบขึ้นทันทีทันใด การหายใจเร็วเกินเป็นกลุ่มอาการ (Syndrome) เนื่องจาก มีอาการหลายอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันคือ การหายใจเร็ว หอบลึก และเมื่อเป็นอยู่สักพักใหญ่จะทำให้ร่างกายขับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากเกินไป และรับก๊าซออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดมากกว่าปกติ ความเป็นกรดด่างของ เลือดในร่างกายเสียสมดุล ทำให้แคลเซียมในเลือดจับกับสารโปรตีนมากขึ้น และทำให้แคลเซียมในรูปอิสระน้อยลง เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว มีอาการมือเท้าจีบเกร็ง บางรายมีอาการชาที่ ปลายมือ ปลายเท้า และรอบปากร่วมด้วย ความผิดปกติเหล่านี้ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่คนไข้มักตกใจคิดว่าตัวเองเป็น โรคร้ายแรง มีอันตรายถึงชีวิต และมักจะต้องไปโรงพยาบาลหรือห้องฉุกเฉินเพื่อพบแพทย์โดยด่วนด้วยความเข้าใจว่า เป็นโรคทางกายร้ายแรง ทำให้ผู้ป่วยและญาติเสียเวลาและเงินทองในการเดินทางเพื่อการตรวจวินิจฉัยและรับการตรวจ วิเคราะห์ที่ไม่จำเป็น
การเกิดการหายใจเร็วผิดปกติที่เกิดขึ้นในครั้งแรกๆ มักต้องมีความเครียดมากพอสมควร แต่เมื่อเป็นหลายๆ ครั้ง อาการจะเกิดง่ายขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งเพียงแค่ถอนหายใจลึกๆ เฮือกหนึ่งก็เริ่มเกิดอาการได้แล้ว การเกิดอาการขึ้น และต้องไปโรงพยาบาลบ่อยๆ ซึ่งผู้ป่วยและญาติไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง สามารถก่อให้ ปัญหาติดตามมาได้ปลายประการ คือผู้ป่วยอาจกังวลและกลัวเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น และมีปัญหาความ สัมพันธ์กับญาติหรือคนใกล้ชิดที่รู้สึกว่าเป็นภาระในการดูแล พาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลหรืออาจคิดว่าผู้ป่วย แกล้งทำ
คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่หายใจเร็วเกินไป ...
1. ไม่ต้องตกใจต่ออาการที่เกิดขึ้นเพราะไม่มีอันตรายทั้งสิ้น พยายามควบคุมและตั้งสติโดยหายใจให้ช้าลง
2. ถ้ายังไม่ได้ผล ควรใช้วิธีหายใจโดยใช้ถุงกระดาษครอบปากและจมูกไว้ การหายใจแบบนี้เพื่อนำเอาก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์กลับคืนสู่กระแสเลือด ช่วยให้เลือดลดความเป็นด่างลงและทำให้แคลเซียมในเลือดกลับเข้าสุ่ภาวะปกติ จะทำให้มือและเท้าหายจีบเกร็งในที่สุด
3. ญาติหรือคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่ได้แกล้งทำ ควรปลอบและให้กำลังใจผู้ป่วย แต่ไม่ควรเอาใจใส่ หรือตามใจผู้ป่วยจนเกินเหตุ
4. ผู้ป่วยควรหาทางป้องกันด้วยการเสริมสร้างสุขภาพจิตของตนเองให้แข็งแรงขึ้น ฝึกวิธีเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ และฝึกผ่อนคลาย รวมทั้งการออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายและลดโอกาสเกิดอาการ
5. หากยังไม่ได้ผล อาจต้องพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาหรือพิจารณาเรื่องการใช้ยาช่วยเหลือในการ รักษาตามความจำเป็น
"...ถ้าหากมีอาการมากจนรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันหรือก่อให้เกิดปัญหากับความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ผู้ ป่วยควรรับคำปรึกษาและคำแนะนำจากจิตแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาที่ถูกต้อง..."
ที่มา ... โรงพยาบาลมนารมย์
หายใจเร็วเกิน..ไม่อันตราย...อย่าตกใจ
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!