สุภาษิตโดนๆ ที่คนมักเอามาหลอกด่ากัน

สุภาษิตโดนๆ ที่คนมักเอามาหลอกด่ากัน


สุภาษิตโดนๆ ที่คนมักเอามาหลอกด่ากัน

กำขี้ดีกว่ากำตด : ความหมายว่า ได้ในสิ่งที่เห็นหรือเป็นของได้แน่ ดีกว่าคิดอยากได้ในสิ่งหรือของที่ไม่เห็นเหมือนไม่มีตัวตน การกินการอยู่ใครไม่สู้พ่อ การพายการถ่อพ่อไม่สู้ใคร : สำนวนนี้อธิบายความหมายอยู่ในตัวแล้วแสดงว่า เรื่องกินแล้วเก่งจนไม่มีใครสู้แต่ถ้าเรื่องงานแล้วยอมแพ้ ซึ่งแปลว่าขี้เกียจนั้นเอง.

กินที่ลับไข่ที่แจ้ง : สำนวนนี้ มีความหมายไปในทำนองที่ว่า ทำอะไรไว้ในที่ลับแล้วอดปากไว้ไม่ได้เอามาเปิดเผย ให้คนทั้งหลายรู้เพื่อจะอวดว่าตนกล้าหรือสามารถทำอย่างนั้นได้โดยไม่กลัวใคร ผิดกฎหมาย อะไรทำนองนั้นหรือไม่กลัว

กินน้ำใต้ศอก : หมายไปในทางที่ว่าถึงจะได้อะไรสักอย่างก็ไม่ เทียมหน้าหรือไม่เสมอหน้าเขา เช่นหญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย   ก็เรียกว่า "กินน้ำใต้ศอกเขา" ที่มาของสำนวนนี้ คนในสมัยก่อนอธิบายว่า คนหนึ่งเอาสองมือกอบน้ำมากิน มากิน อีกคนหนึ่งรอหิวไม่ไหวเลยเอาปากเข้าไปรองน้ำที่ไหลลงมาข้อศอก ของคนกอบน้ำกินนั้นเพราะรอหิวไม่ทันใจ.

กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา : แปลว่าคนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับ คนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิด ีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อนคนโบราณเอาลักษณะของแมวที่ไม่ดี คือกินแล้วไม่ขี้ให้เป็นที่กลับขึ้นไปขี้บนหลังคาให้เป็นที่สกปรกเลอะเทอะ เพราะคนสมัยก่อนต้องการให้หลังคาสะอาดเพื่อรองน้ำฝนไว้กิน จึงเอาแมวชั่วนี้ มาเปรียบเทียบกับคนชั่วที่ไม่รู้จักบุญคุณคน.

กินปูนร้อนท้อง : สำนวนนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู ) มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง
จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญ มีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า " ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง 

เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า : สำนวนนี้  เวลาพูดมักจะใช้คำตรง ๆ ว่า " เขียนด้วยมือลบด้วยตีน " เป็นความเปรียบเปรยถึง  คนที่แต่แรกทำความดีจนเป็นที่เชื่อถือไว้แล้ว แต่ภายหลัง กลับทำความชั่วลบล้างความดีของตนเสียง่าย ๆ หรือเปรียบอีกทางหนึ่งถึงคนที่ออกคำสั่ง หรือให้สัญญาไว้แต่แรกอย่างหนึ่ง แล้วปุบปับกลับเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือสัญญานั้นเสีย ให้อยู่ในลักษณะตรงข้ามโดยไม่มีเหตุผล.

คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล  :  สำนวนนี้ มีความหมายหรือคำบรรยายอยู่ในตัวแล้ว คือคบคนชั่ว คนชั่วก็ชักพาเราให้พลอยไปทำชั่วด้วย ถ้าคบคนดีมีความรู้ ก็ทำให้เราได้รับผลดีหรือได้รับความรู้ดีตามไปด้วย.

ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก  : หมายความว่า มีเรื่องราวเดือดร้อนเกิดขึ้น ยังไม่ทันจะแก้ไขหรือจัดการให้สงบดี ก็เกิดมีเรื่องใหม่ซ้อนขึ้นมาอีก กลายเป็น ๒ เรื่องขึ้นในคราวเดียว.

ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด  : สำนวนนี้ หมายถึงคนที่มีวิชาความรู้ดี หรือรู้สารพัดเกือบทุกอย่าง แต่ถึงคราวเกิดเรื่องขึ้นกับตัวเอง กลับจนปัญญาแก้ไข หรือความหมายอีกทางหนึ่งว่า มีความรู้อยู่มากมายแต่ใช้วิชาหากินไม่ถูกช่อง ทำให้ต้องตกอยู่ในฐานะยากจนอยู่เรื่อยมา สู้คนที่ไม่รู้หนังสือเลย แต่หากินจนร่ำรวยไม่ได้.

ตีวัวกระทบคราด  :  เป็นสำนวนหมายถึง  การแสร้งทำหรือแสร้งพูด  เพื่อให้กระทบกระเทือนไปถึงอีกฝ่ายหนึ่ง  การเอาวัวกับคาดมาเปรียบ  ก็เพราะคราดซึ่งใช้เป็นเครื่องมือกวาดลานฟางหรือหญ้าในนานั้นผูกเป็นคันยาว ใช้วัวลากและคราดจะเป็นฝ่ายกระตุ้นให้วัวทำงานลากคราดไป  ซึ่งผลงานคงจะอยู่ที่คราดเป็นตังกวาด  เมื่อคราดไม่ทำงานก็เลยใช้วิธีตีวัวให้ลากคราด  เป็นทำนองว่า  " ตีวัวกระทบคราด "  วัวเลยกลายเป็นแพะรับบาปเพราะคราด  ความหมายคล้ายกับว่า  เราทำอะไรคนหนึ่งไม่ได้  เช่น  โกรธเขาแต่กลับไปเล่นงานสัตว์เลี้ยงหรือคนใกล้ชิดของเขา  เป็นการตอบแทน.

ตัวเป็นขี้ข้า  อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ  :
สำนวนนี้เป็นสุภาษิต เก่าแก่  ที่สอนให้คนเราประพฤติชอบแต่ในทางที่ดีไม่ให้ประพฤติตนไปในทางเสื่อมเสีย  แม้จะมีฐานะยากจน  เป็นตนใช้หรือลูกจ้างเขาก็ตามแต่  ก็ต้องรักษาความดีความซื่อสัตว์  รวมทั้งความสะอาดกายไปในตัวด้วย  อย่าปล่อยตัวเองให้ตกเป็นทาสของความชั่ว.

น้ำท่วมทุ่ง  ผักบุ้งโหรงเหรง  : เป็นความหมายถึง  คนที่พูดมาก  แต่ถ้อยคำที่พูดนั้นได้เนื้อความน้อยหรือมีสาระเพียงนิดเดียว  สำนวนนี้เรามักใช้พูดสั้น ๆ ว่า  "  น้ำท่วมทุ่ง "  หรือ  " พูดเป็นน้ำท่วมทุ่ง "  เสียส่วนมาก  แต่ก็เป็นความหมายชัดเจนอย่างว่าดี.

น้ำนิ่งไหลลึก  : เป็นสำนวนที่หมายถึง  คนที่ดูภายนอกสงบเสงี่ยมหรือเป็นคนหงิม ๆ ไม่ค่อยพูดจา  แต่มักจะเป็นคนมีความคิดฉลาด  หรือทำอะไรได้แคล่วคล่องว่องไว  เปรียบเหมือนน้ำที่ดูตอนผิวหนังที่สงบนิ่ง  แต่ลึกลงไปข้างใต้นั้นกลับไหลแรง.

พูดไปสองไพเบี้ย  นิ่งเสียตำลึงทอง  : หมายความว่า  พูดไปก็ไม่มีประโยชน์  สู้นิ่งไว้ดีกว่า.

ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้  :
หมายความว่า  อะไรก็ตามที่เกิดขึ้น  มักจะต้องมีเหตุหรือมีเค้ามูลมาก่อน  ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ.

เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ  :  สำนวนนี้  บางทีก็ว่า  " ยืมจมูกคนอื่นเขามาหายใจ "  มีความหมายไปในทำนองที่ว่า  อาศัยความคิดหรือแรงของคนอื่นมาทำงานให้ตน  โดยไม่คิดว่าจะได้รับผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่ากับที่ตนเองทำหรือไม่  และมักจะไม่ได้ผลดังที่ตนต้องการทีเดียวนัก.


fwmail

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์