ได้เวลาบอกลาขวดนม...ของเจ้าตัวน้อย

ได้เวลาบอกลาขวดนม...ของเจ้าตัวน้อย









































































ขวดนม กับ เด็ก ดูจะเป็นของคู่กัน เด็กที่โตขึ้นมาโดยไม่ได้ผ่านการดูดขวดนมคงจะเป็นเรื่องที่แปลก!!
 
ในแต่ละปี มีเด็กเกิดในโลกนี้นับเป็นล้าน ๆ คน และเกิดในประเทศไทยปีละประมาณ 800,000 คน เด็กเกือบทั้งหมดจะมีขวดนมอยู่ในชีวิตประจำวัน ขวดนมจึงเหมือนสัญลักษณ์คู่กับเด็กที่พบเห็นจนชินตา เนื่องจากสามารถใช้ได้สะดวก ดูดได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนอน เดิน หรือนั่ง เพราะนมไม่หก ทำให้เป็นที่พึงพอใจของพ่อ-แม่เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กติดขวดนมได้ง่ายและไม่ยอมเลิกเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
 
ยิ่งในยุคปัจจุบัน ขวดนมกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทารกและเด็กเล็ก  โดยเฉพาะทารกที่ต้องกินนมผสม แม้แต่เด็กที่กินนมแม่ จะพบเสมอว่า แม่มักจัดเตรียมขวดนมไว้สำหรับใส่น้ำหรือให้กินนมผสมเสริม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้ขวดนม
 
พญ.สุรภี เรืองสุวรรณ ผอ. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี อธิบายถึงการใช้ขวดนมให้ฟังว่า ทางสถาบันเด็กฯ สนับสนุนให้เด็กดูดนมแม่ ยกเว้นในกรณีที่แม่ไม่สามารถให้เด็กดูดจากเต้านมได้ ด้วยภาวะต่าง ๆ ทางสังคม ถึงจะให้ใช้ขวดนม ซึ่งก็อยากให้แม่ปั๊มนมใส่ขวดเก็บไว้ในตู้เย็นไว้ให้ลูกอยู่ดี ประโยชน์ของขวดนมจึงอยู่ตรงนี้
 
การเลือกซื้อขวดนม ควรดูที่ความนิ่มของจุกนมให้เหมาะกับความแรงที่เด็กดูดและให้พอเหมาะกับลักษณะของปากเด็กในแต่ละวัย ไม่ควรมีสีสันมากนักจะให้ดีควรเป็นขวดใส สิ่งสำคัญของขวดนมอยู่ที่รูของจุกนม โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ดูดนมแรงต้องระวังในส่วนนี้ให้มาก ถ้ารูจุกนมมีขนาดใหญ่อาจทำให้เด็กสำลัก ได้ อย่ามองข้ามในเรื่องของการทำความสะอาด ควรนึ่งหรือต้มในน้ำที่เดือดแล้ว อย่างน้อย 5 นาที
 
ด้านการใช้งานของขวดนมนั้น ให้ดูที่สภาพของขวดนมเป็นหลัก ตราบใดที่สภาพยังดีอยู่และมีการทำความสะอาดที่ถูกต้องก็สามารถใช้ได้อยู่ แต่ต้องหมั่นตรวจดูจุกนม ถ้ามีการเปื่อย มีขนาดรูที่ใหญ่กว่าเดิม ควรเปลี่ยนจุกนมอย่างเดียวหากสภาพของขวดนมยังอยู่ในสภาพที่ดีอยู่
   
เด็กที่ไม่ได้ดูดนมแม่และมีความจำเป็นต้องใช้ขวดนม ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือในช่วงขวบปีแรกตามที่มี การแนะนำ ทั้งจากสมาคมกุมารแพทย์ สมาคมทันต แพทย์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ้ายังเลิกไม่ได้ก็ไม่ควรเกิน 1 ขวบครึ่ง
 
การฝึกเลิกใช้ขวดนม หากล่วงเลยถึงช่วงวัยเตาะแตะ คือระยะอายุ 2-3 ขวบ เด็กมักติดใจขวดนมไปแล้ว วัยนี้มีการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง ยึดตนเองเป็นผู้ใหญ่ หากรอจนถึงช่วงนี้เด็กจะมีโอกาสต่อต้าน อาละวาด เกิดปัญหาความสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดูได้มากกว่าการเลิกก่อนอายุระยะนี้
 
 เมื่อถึงเวลาแล้วยังไม่ยอมเลิกกินนมจากขวด จะส่งผลไป     สู่ปัญหาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของฟัน รายงานการสำรวจของกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย นับตั้งแต่ปี 2532-2544 พบว่าเด็กอายุ 3 ขวบ ซึ่งเป็นอายุที่เพิ่งมีฟันน้ำนมขึ้นครบทั้งปาก มีโรคฟันผุไปแล้วถึงร้อยละ 65.7 ความชุกของโรคในภาพรวมค่อนข้างคงที่ แต่ในเขตชนบทเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากร้อยละ 66.8 ในปี 2532 เป็นร้อยละ 67.8 และ 70.3 ในปี 2537 และ 2544 ตามลำดับ
 
ฟันผุในฟันน้ำนมจะลุกลามสู่โพรงประสาทฟันได้เร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันน้อยกว่าฟันแท้ ฟันผุในระยะเริ่มแรกสามารถลุกลามเป็น ฟันผุระดับรุนแรงได้ในเวลาเพียง 6-12 เดือน ผลเสียต่อสุขภาพจากการมีฟันผุ นอกจากจะเกิดความเจ็บปวด ทำให้เด็ก มีข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร เกิดปัญหาการบดเคี้ยว ไม่สามารถเคี้ยวอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ได้ดี ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน น้ำหนักน้อยและเกิดผลเสียต่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังมีผลต่อฟันแท้ที่จะงอกขึ้นมาในอนาคตอีกด้วย
     
อีกทั้งยังส่งผลถึง ภาวะการโภชนาการของเด็ก เด็กจะมีความสุข กับการดูดนมมาก สิ่งนี้เป็นเรื่องธรรมชาติอยู่แล้ว จะเห็นว่าเด็กบางคนไม่ได้ดูดขวดนมจะดูดนิ้วมือแทน เด็กหลังอายุ 1 ขวบ ควรได้รับอาหารหลักวันละ 3 มื้อ และได้กินนมวันละ 2-3 มื้อ แต่ถ้ายังดูดนมจากขวด เด็กจะมีแนวโน้มติดใจการดูด บางครั้งไม่หิวก็ยังอยากดูด ทำให้ได้ปริมาณนมมากจนอิ่ม และกรณีที่ยังดูดนมมื้อดึก ทำให้ยังคงอิ่มเมื่อตื่นขึ้นมา จึงนำไปสู่ปัญหาเด็กไม่ยอมกินข้าว นอกจากนี้ เด็กที่ติดขวดนมมักคุ้นเคยกับการทานอาหาร เหลว ๆ ที่กลืนง่ายเหมือนนม ไม่ชอบกินอาหารที่ต้องเคี้ยว จึงเกิดปัญหาทานยาก ปฏิเสธอาหาร เลือกอาหาร ชอบอมข้าว ไม่ยอมเคี้ยว มีสุขนิสัยการทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
 
ปัญหาที่ตามมา คือ โรคอ้วน พบมากในวัยอนุบาล ต่อเนื่องจนเป็นผู้ใหญ่ในกลุ่มเด็กดูดขวดนมมากกว่ากลุ่มที่ได้ดูดนมแม่ และในเด็กที่เลิกขวดนมหลัง 15 เดือน จะมีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนเพิ่มขึ้น เดือนละ 3 เปอร์เซ็นต์ ปกติเด็กวัย 2-3 ขวบ ต้องการนม 16-24 ออนซ์ต่อวัน เท่านั้น แต่การติดขวดนมมักทำให้ดูดนมปริมาณมากถึง 32 ออนซ์ต่อวัน เกินความต้องการของร่างกายทำให้เด็กเป็นโรคอ้วนได้ง่าย
 
รวมทั้ง รบกวนวงจรการนอน การนอนเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ร่างกายได้พักและปรับสภาพเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมองที่ดี ปกติเด็กอ่อนมักนอนหลับช่วงสั้น ๆ 2-3 ชม. และตื่นบ่อย แต่เมื่ออายุ 4 เดือน        วงจรการนอนจะปรับเปลี่ยน ทำให้เด็กสามารถนอนหลับในช่วงกลางคืนติดต่อกันถึง 6-8 ชม. โดยไม่หิว เมื่ออายุ 6 เดือน บางคนอาจนอนหลับยาวได้ 8-10 ชม. ระหว่างนี้สรีรวิทยาของร่างกายจะสลับเป็นวงจรระหว่างการหลับลึก (non rem sleep) และตื้น (rem Sleep) ซึ่งเด็กอาจมีการร้องหรือขยับตัวเป็นพัก ๆ โดยที่เด็กไม่รู้สึกตัว หากผู้เลี้ยงดูตอบสนองโดยการอุ้มขึ้นมากล่อมหรือให้นม จะทำให้วงจร การนอนเกิดการเปลี่ยนแปลงจนเด็กเคยชินกับการร้องและตื่นกลางดึก เพื่อกินนมหรือให้พ่อแม่กล่อม เรียกว่า trained night criers and trained night feeders ซึ่งเป็นสุขนิสัยการกิน และการนอนที่ไม่ดี นำไปสู่ปัญหาเด็กติดขวดนมและร้องตื่นตอนกลางดึก
 
ยังเป็นการ ลดโอกาสพัฒนา การทางภาษาและลดทักษะการใช้มือ ไม่ถึงกับรุนแรง แต่ทำให้เด็กขาดโอกาสพัฒนาการที่เหมาะสม ด้านกล้ามเนื้อ เด็กที่ติดขวดนมถือติดตัว ทำให้กิจกรรมที่ใช้มือ 2 ข้าง ประสานกันน้อยลง ด้านภาษา เด็กที่อมขวดนมบ่อย ๆ อาจไม่พยายามพูด แต่จะใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารแทน ด้านอารมณ์ เด็กที่ติดขวดนม จะยึดขวดนมเป็นสิ่งปลอบโยนหรือสิ่งที่ช่วยลดความหงุดหงิดคับข้องใจของตนเอง แทนที่จะฝึกระบายอารมณ์ความรู้สึกเพื่อแก้ไขความคับข้องใจ ส่วนด้านสังคม มักถูกล้อเลียน หากมีฟันหลอ ทำให้เกิดความอาย ขาดความมั่นใจ     
 
กินนมมากเกินไปยังเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก สิ่งสำคัญในการพัฒนาสมอง สาเหตุเกิดจากในน้ำนมมีแคลเซียม ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก ทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากนมผงได้เพียงร้อยละ 4 การกินนมปริมาณ 1 ลิตร ร่างกายได้ธาตุเหล็กเพียง 0.2-0.4 มิลลิกรัม ในขณะที่เด็กวัย 1-3 ขวบ ต้องการธาตุเหล็กแต่ละวันสูงถึง 5-6 มิลลิกรัม การกินนมอย่างเดียวจะได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องสร้างนิสัยให้เด็กทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ ไข่แดง ผักใบเขียว พญ.สุรภี  เล่าถึงผลที่เกิดขึ้นให้ฟัง
 
แม่นก-สุธีรา เสรีชุษณะ เล่า ถึงพฤติกรรมการกินนมของลูกน้อย น้องอาท วัย 2 ขวบ ให้ฟังว่า น้องเป็นเด็กไม่ชอบดูดขวดนม คือจะติดดูดนมแม่มากกว่า เพราะจนเดี๋ยวนี้ก็ยังดูดนมแม่อยู่ แต่จะทานหนัก ๆ ช่วง 6 เดือนแรก พอระยะหลังจะทานนมแม่เฉพาะก่อนนอน ซึ่งก็เป็นปัญหาอีกแบบหนึ่ง จึงเริ่มสอนให้น้องหัดดูดนมกล่อง ต้องค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ ตะล่อม แรก ๆ ก็ได้รับการปฏิเสธบ้างเป็นเรื่องปกติ อยากจะฝากบอกคุณแม่ท่านอื่น ๆ ว่า นมแม่ถือว่าสำคัญมากสำหรับลูกเพราะมีสารอาหาร แร่ธาตุที่ครบ มีประโยชน์ทั้งทางร่างกายและการพัฒนาการต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ส่วนลูกที่ติดขวดนมนั้น แม่ต้องมีความอดทนสูงมาก พยายามเปลี่ยนปรับใช้แก้วหรือหลอดแทน โดยให้ลูกได้ทดลองด้วยตนเองหรือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เพราะเด็กชอบที่จะลองสิ่งใหม่ รวมทั้งลูกยังฝึกการช่วยเหลือตัวเองอีกด้วย
 
ลองหันกลับไปมองเจ้าตัวเล็กของคุณดูซิว่า วันนี้ถึงเวลาบ๊ายบาย ขวดนมกับเขาบ้างแล้วหรือยัง??.


เทคนิคเพื่อป้องกันการติดขวดนมของลูกน้อย


- เริ่มจากการฝึกลูกให้เข้านอนเป็นเวลาและหลับได้ด้วยตนเอง โดยวางบนที่นอนขณะที่ลูกยังตื่น หรือเมื่อเริ่มง่วง ไม่พาหลับโดยกกกอด หรือให้ดูดนมจนหลับ เพราะจะชิน ตื่นกลางดึกไม่มีใครพาหลับก็มักจะร้อง ลงท้ายต้องดูดขวดนมทั้งที่อาจไม่ได้หิว 
 
- เมื่อลูกหลับแล้วมีการขยับตัวให้รอสักพัก หรือตบก้นเบา ๆ เด็กมักหลับต่อได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสร้างบรรยากาศกลางคืนให้เหมาะสม ไม่เปิดไฟสว่าง ไม่เปิดทีวีนอน หรืออุ้มเล่นกลางดึก อาจหาตุ๊กตาหรือของที่ลูกชอบพาเข้านอนด้วย เมื่อลูกอายุ 4-5 เดือน เป็นสิ่งปลอบใจและเป็นเพื่อนลูกแทนขวดนม
 
- ฝึกลด/เลิกขวดนมมื้อดึก หลังเที่ยงคืนไปแล้ว ตั้งแต่เด็กอายุ 4-6 เดือน บางรายหลับยาวตั้งแต่ 3 ทุ่ม ก็ไม่จำเป็นต้องปลุก เพราะเด็กแต่ละคนปรับการนอนได้เร็วช้าต่างกัน ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะนอนหลับยาวกลางคืนได้ 6-8 ชม. โดยไม่หิว
 
- ให้นมมื้อกลางวันแต่ละมื้อให้อิ่ม นมมื้อดึกกินพอหายหิว ค่อย ๆ ลดจนเลิกได้ ไม่บังคับหรือคะยั้นคะยอให้กินทั้งที่ลูกไม่ได้หิว
 
- ฝึกลูกให้ใช้ขวดนมเมื่อเวลาหิวเท่านั้น ไม่ใช้เป็นของเล่นเดินถือไปมา
 
- สร้างบรรยากาศการกินให้ลูกรู้สึกมีความสุข แม้จะเลิกใช้ขวดนม ด้วยการเล่านิทาน ร้องเพลงหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ แทน.


เตรียมตัวเด็กให้พร้อมเพื่อเลิกใช้ขวดนม


 อายุ 6 เดือน คอตั้งได้มั่นคง ลักษณะดันลิ้นออกจะค่อย ๆ หายไป สามารถเริ่มฝึกให้เด็กดื่มน้ำ ดื่มนม จากแก้วได้ทีละน้อย จึงควรเริ่มฝึกเด็กให้ดื่มนมจากแก้ว
    
อายุ 8 เดือน นั่งได้เองโดยไม่ต้องพยุง รู้จักเคี้ยว สามารถถือของมือเดียวและถ่ายโอนไปยังอีกมือได้ จึงควรเริ่มฝึกให้เด็กถือแก้วใบเล็ก เพื่อให้เด็กทำความคุ้นเคยเปรียบเสมือนของเล่นชิ้นหนึ่งของเด็ก
    
อายุ 10 เดือน เข้าใจคำสั่ง ชอบเลียนแบบพ่อ-แม่ พ่อ-แม่ จึงควรดื่มน้ำจากแก้วให้เด็กดูเป็นตัวอย่างอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้เด็กดูดน้ำจากขวดนม
    
อายุ 1 ขวบ ถือแก้วได้ดีขึ้น เริ่มเดินได้ สนใจสำรวจสิ่งแวดล้อม ทำให้ความสนใจในการดูดนมลดลง ชอบคำชม ต้องการทำให้พ่อ-แม่พึงพอใจ จึงควรเริ่มฝึกเลิกขวดนมควบคู่กับการใช้แรงเสริมทางบวก
    
อายุ 1 ขวบครึ่ง ห่วงเล่นมากกว่ากิน พัฒนาการกล้ามเนื้อดีขึ้น จึงควรหมั่นฝึกเด็ก เด็กจะใช้แก้วได้เก่งขึ้น
    
สิ่งสำคัญควรฝึกให้เด็กมีพฤติกรรมกินอาหารที่เหมาะสมควบคู่ ไปด้วย เช่น อายุ 9-10 เดือน เด็กใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้หยิบจับอาหารได้ ควรส่งเสริมให้หยิบอาหารเข้าปากเอง และค่อย ๆ ฝึกใช้ช้อน ซึ่งภายในอายุ 1 ขวบครึ่ง-2 ขวบ เด็กมักจะใช้ช้อนตักอาหารกินเองได้ดี เด็กจะเริ่มสนใจอาหารทั่วไปมากขึ้น เมื่อเลิกดูดนมจากขวดเด็กจึงไม่หงุดหงิด.


จุฑานันทน์ บุญทราหาญ


ขวดนม กับ เด็ก ดูจะเป็นของคู่กัน เด็กที่โตขึ้นมาโดยไม่ได้ผ่านการดูดขวดนมคงจะเป็นเรื่องที่แปลก!!
 
ในแต่ละปี มีเด็กเกิดในโลกนี้นับเป็นล้าน ๆ คน และเกิดในประเทศไทยปีละประมาณ 800,000 คน เด็กเกือบทั้งหมดจะมีขวดนมอยู่ในชีวิตประจำวัน ขวดนมจึงเหมือนสัญลักษณ์คู่กับเด็กที่พบเห็นจนชินตา เนื่องจากสามารถใช้ได้สะดวก ดูดได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนอน เดิน หรือนั่ง เพราะนมไม่หก ทำให้เป็นที่พึงพอใจของพ่อ-แม่เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กติดขวดนมได้ง่ายและไม่ยอมเลิกเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
 
ยิ่งในยุคปัจจุบัน ขวดนมกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทารกและเด็กเล็ก  โดยเฉพาะทารกที่ต้องกินนมผสม แม้แต่เด็กที่กินนมแม่ จะพบเสมอว่า แม่มักจัดเตรียมขวดนมไว้สำหรับใส่น้ำหรือให้กินนมผสมเสริม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้ขวดนม
 
พญ.สุรภี เรืองสุวรรณ ผอ. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี อธิบายถึงการใช้ขวดนมให้ฟังว่า ทางสถาบันเด็กฯ สนับสนุนให้เด็กดูดนมแม่ ยกเว้นในกรณีที่แม่ไม่สามารถให้เด็กดูดจากเต้านมได้ ด้วยภาวะต่าง ๆ ทางสังคม ถึงจะให้ใช้ขวดนม ซึ่งก็อยากให้แม่ปั๊มนมใส่ขวดเก็บไว้ในตู้เย็นไว้ให้ลูกอยู่ดี ประโยชน์ของขวดนมจึงอยู่ตรงนี้
 
การเลือกซื้อขวดนม ควรดูที่ความนิ่มของจุกนมให้เหมาะกับความแรงที่เด็กดูดและให้พอเหมาะกับลักษณะของปากเด็กในแต่ละวัย ไม่ควรมีสีสันมากนักจะให้ดีควรเป็นขวดใส สิ่งสำคัญของขวดนมอยู่ที่รูของจุกนม โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ดูดนมแรงต้องระวังในส่วนนี้ให้มาก ถ้ารูจุกนมมีขนาดใหญ่อาจทำให้เด็กสำลัก ได้ อย่ามองข้ามในเรื่องของการทำความสะอาด ควรนึ่งหรือต้มในน้ำที่เดือดแล้ว อย่างน้อย 5 นาที
 
ด้านการใช้งานของขวดนมนั้น ให้ดูที่สภาพของขวดนมเป็นหลัก ตราบใดที่สภาพยังดีอยู่และมีการทำความสะอาดที่ถูกต้องก็สามารถใช้ได้อยู่ แต่ต้องหมั่นตรวจดูจุกนม ถ้ามีการเปื่อย มีขนาดรูที่ใหญ่กว่าเดิม ควรเปลี่ยนจุกนมอย่างเดียวหากสภาพของขวดนมยังอยู่ในสภาพที่ดีอยู่
   
เด็กที่ไม่ได้ดูดนมแม่และมีความจำเป็นต้องใช้ขวดนม ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือในช่วงขวบปีแรกตามที่มี การแนะนำ ทั้งจากสมาคมกุมารแพทย์ สมาคมทันต แพทย์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ้ายังเลิกไม่ได้ก็ไม่ควรเกิน 1 ขวบครึ่ง
 
การฝึกเลิกใช้ขวดนม หากล่วงเลยถึงช่วงวัยเตาะแตะ คือระยะอายุ 2-3 ขวบ เด็กมักติดใจขวดนมไปแล้ว วัยนี้มีการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง ยึดตนเองเป็นผู้ใหญ่ หากรอจนถึงช่วงนี้เด็กจะมีโอกาสต่อต้าน อาละวาด เกิดปัญหาความสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดูได้มากกว่าการเลิกก่อนอายุระยะนี้
 
 เมื่อถึงเวลาแล้วยังไม่ยอมเลิกกินนมจากขวด จะส่งผลไป     สู่ปัญหาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของฟัน รายงานการสำรวจของกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย นับตั้งแต่ปี 2532-2544 พบว่าเด็กอายุ 3 ขวบ ซึ่งเป็นอายุที่เพิ่งมีฟันน้ำนมขึ้นครบทั้งปาก มีโรคฟันผุไปแล้วถึงร้อยละ 65.7 ความชุกของโรคในภาพรวมค่อนข้างคงที่ แต่ในเขตชนบทเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากร้อยละ 66.8 ในปี 2532 เป็นร้อยละ 67.8 และ 70.3 ในปี 2537 และ 2544 ตามลำดับ
 
ฟันผุในฟันน้ำนมจะลุกลามสู่โพรงประสาทฟันได้เร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันน้อยกว่าฟันแท้ ฟันผุในระยะเริ่มแรกสามารถลุกลามเป็น ฟันผุระดับรุนแรงได้ในเวลาเพียง 6-12 เดือน ผลเสียต่อสุขภาพจากการมีฟันผุ นอกจากจะเกิดความเจ็บปวด ทำให้เด็ก มีข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร เกิดปัญหาการบดเคี้ยว ไม่สามารถเคี้ยวอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ได้ดี ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน น้ำหนักน้อยและเกิดผลเสียต่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังมีผลต่อฟันแท้ที่จะงอกขึ้นมาในอนาคตอีกด้วย
     
อีกทั้งยังส่งผลถึง ภาวะการโภชนาการของเด็ก เด็กจะมีความสุข กับการดูดนมมาก สิ่งนี้เป็นเรื่องธรรมชาติอยู่แล้ว จะเห็นว่าเด็กบางคนไม่ได้ดูดขวดนมจะดูดนิ้วมือแทน เด็กหลังอายุ 1 ขวบ ควรได้รับอาหารหลักวันละ 3 มื้อ และได้กินนมวันละ 2-3 มื้อ แต่ถ้ายังดูดนมจากขวด เด็กจะมีแนวโน้มติดใจการดูด บางครั้งไม่หิวก็ยังอยากดูด ทำให้ได้ปริมาณนมมากจนอิ่ม และกรณีที่ยังดูดนมมื้อดึก ทำให้ยังคงอิ่มเมื่อตื่นขึ้นมา จึงนำไปสู่ปัญหาเด็กไม่ยอมกินข้าว นอกจากนี้ เด็กที่ติดขวดนมมักคุ้นเคยกับการทานอาหาร เหลว ๆ ที่กลืนง่ายเหมือนนม ไม่ชอบกินอาหารที่ต้องเคี้ยว จึงเกิดปัญหาทานยาก ปฏิเสธอาหาร เลือกอาหาร ชอบอมข้าว ไม่ยอมเคี้ยว มีสุขนิสัยการทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
 
ปัญหาที่ตามมา คือ โรคอ้วน พบมากในวัยอนุบาล ต่อเนื่องจนเป็นผู้ใหญ่ในกลุ่มเด็กดูดขวดนมมากกว่ากลุ่มที่ได้ดูดนมแม่ และในเด็กที่เลิกขวดนมหลัง 15 เดือน จะมีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนเพิ่มขึ้น เดือนละ 3 เปอร์เซ็นต์ ปกติเด็กวัย 2-3 ขวบ ต้องการนม 16-24 ออนซ์ต่อวัน เท่านั้น แต่การติดขวดนมมักทำให้ดูดนมปริมาณมากถึง 32 ออนซ์ต่อวัน เกินความต้องการของร่างกายทำให้เด็กเป็นโรคอ้วนได้ง่าย
 
รวมทั้ง รบกวนวงจรการนอน การนอนเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ร่างกายได้พักและปรับสภาพเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมองที่ดี ปกติเด็กอ่อนมักนอนหลับช่วงสั้น ๆ 2-3 ชม. และตื่นบ่อย แต่เมื่ออายุ 4 เดือน        วงจรการนอนจะปรับเปลี่ยน ทำให้เด็กสามารถนอนหลับในช่วงกลางคืนติดต่อกันถึง 6-8 ชม. โดยไม่หิว เมื่ออายุ 6 เดือน บางคนอาจนอนหลับยาวได้ 8-10 ชม. ระหว่างนี้สรีรวิทยาของร่างกายจะสลับเป็นวงจรระหว่างการหลับลึก (non rem sleep) และตื้น (rem Sleep) ซึ่งเด็กอาจมีการร้องหรือขยับตัวเป็นพัก ๆ โดยที่เด็กไม่รู้สึกตัว หากผู้เลี้ยงดูตอบสนองโดยการอุ้มขึ้นมากล่อมหรือให้นม จะทำให้วงจร การนอนเกิดการเปลี่ยนแปลงจนเด็กเคยชินกับการร้องและตื่นกลางดึก เพื่อกินนมหรือให้พ่อแม่กล่อม เรียกว่า trained night criers and trained night feeders ซึ่งเป็นสุขนิสัยการกิน และการนอนที่ไม่ดี นำไปสู่ปัญหาเด็กติดขวดนมและร้องตื่นตอนกลางดึก
 
ยังเป็นการ ลดโอกาสพัฒนา การทางภาษาและลดทักษะการใช้มือ ไม่ถึงกับรุนแรง แต่ทำให้เด็กขาดโอกาสพัฒนาการที่เหมาะสม ด้านกล้ามเนื้อ เด็กที่ติดขวดนมถือติดตัว ทำให้กิจกรรมที่ใช้มือ 2 ข้าง ประสานกันน้อยลง ด้านภาษา เด็กที่อมขวดนมบ่อย ๆ อาจไม่พยายามพูด แต่จะใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารแทน ด้านอารมณ์ เด็กที่ติดขวดนม จะยึดขวดนมเป็นสิ่งปลอบโยนหรือสิ่งที่ช่วยลดความหงุดหงิดคับข้องใจของตนเอง แทนที่จะฝึกระบายอารมณ์ความรู้สึกเพื่อแก้ไขความคับข้องใจ ส่วนด้านสังคม มักถูกล้อเลียน หากมีฟันหลอ ทำให้เกิดความอาย ขาดความมั่นใจ     
 
กินนมมากเกินไปยังเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก สิ่งสำคัญในการพัฒนาสมอง สาเหตุเกิดจากในน้ำนมมีแคลเซียม ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก ทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากนมผงได้เพียงร้อยละ 4 การกินนมปริมาณ 1 ลิตร ร่างกายได้ธาตุเหล็กเพียง 0.2-0.4 มิลลิกรัม ในขณะที่เด็กวัย 1-3 ขวบ ต้องการธาตุเหล็กแต่ละวันสูงถึง 5-6 มิลลิกรัม การกินนมอย่างเดียวจะได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องสร้างนิสัยให้เด็กทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ ไข่แดง ผักใบเขียว พญ.สุรภี  เล่าถึงผลที่เกิดขึ้นให้ฟัง
 
แม่นก-สุธีรา เสรีชุษณะ เล่า ถึงพฤติกรรมการกินนมของลูกน้อย น้องอาท วัย 2 ขวบ ให้ฟังว่า น้องเป็นเด็กไม่ชอบดูดขวดนม คือจะติดดูดนมแม่มากกว่า เพราะจนเดี๋ยวนี้ก็ยังดูดนมแม่อยู่ แต่จะทานหนัก ๆ ช่วง 6 เดือนแรก พอระยะหลังจะทานนมแม่เฉพาะก่อนนอน ซึ่งก็เป็นปัญหาอีกแบบหนึ่ง จึงเริ่มสอนให้น้องหัดดูดนมกล่อง ต้องค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ ตะล่อม แรก ๆ ก็ได้รับการปฏิเสธบ้างเป็นเรื่องปกติ อยากจะฝากบอกคุณแม่ท่านอื่น ๆ ว่า นมแม่ถือว่าสำคัญมากสำหรับลูกเพราะมีสารอาหาร แร่ธาตุที่ครบ มีประโยชน์ทั้งทางร่างกายและการพัฒนาการต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ส่วนลูกที่ติดขวดนมนั้น แม่ต้องมีความอดทนสูงมาก พยายามเปลี่ยนปรับใช้แก้วหรือหลอดแทน โดยให้ลูกได้ทดลองด้วยตนเองหรือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เพราะเด็กชอบที่จะลองสิ่งใหม่ รวมทั้งลูกยังฝึกการช่วยเหลือตัวเองอีกด้วย
 
ลองหันกลับไปมองเจ้าตัวเล็กของคุณดูซิว่า วันนี้ถึงเวลาบ๊ายบาย ขวดนมกับเขาบ้างแล้วหรือยัง??.


เทคนิคเพื่อป้องกันการติดขวดนมของลูกน้อย


- เริ่มจากการฝึกลูกให้เข้านอนเป็นเวลาและหลับได้ด้วยตนเอง โดยวางบนที่นอนขณะที่ลูกยังตื่น หรือเมื่อเริ่มง่วง ไม่พาหลับโดยกกกอด หรือให้ดูดนมจนหลับ เพราะจะชิน ตื่นกลางดึกไม่มีใครพาหลับก็มักจะร้อง ลงท้ายต้องดูดขวดนมทั้งที่อาจไม่ได้หิว 
 
- เมื่อลูกหลับแล้วมีการขยับตัวให้รอสักพัก หรือตบก้นเบา ๆ เด็กมักหลับต่อได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสร้างบรรยากาศกลางคืนให้เหมาะสม ไม่เปิดไฟสว่าง ไม่เปิดทีวีนอน หรืออุ้มเล่นกลางดึก อาจหาตุ๊กตาหรือของที่ลูกชอบพาเข้านอนด้วย เมื่อลูกอายุ 4-5 เดือน เป็นสิ่งปลอบใจและเป็นเพื่อนลูกแทนขวดนม
 
- ฝึกลด/เลิกขวดนมมื้อดึก หลังเที่ยงคืนไปแล้ว ตั้งแต่เด็กอายุ 4-6 เดือน บางรายหลับยาวตั้งแต่ 3 ทุ่ม ก็ไม่จำเป็นต้องปลุก เพราะเด็กแต่ละคนปรับการนอนได้เร็วช้าต่างกัน ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะนอนหลับยาวกลางคืนได้ 6-8 ชม. โดยไม่หิว
 
- ให้นมมื้อกลางวันแต่ละมื้อให้อิ่ม นมมื้อดึกกินพอหายหิว ค่อย ๆ ลดจนเลิกได้ ไม่บังคับหรือคะยั้นคะยอให้กินทั้งที่ลูกไม่ได้หิว
 
- ฝึกลูกให้ใช้ขวดนมเมื่อเวลาหิวเท่านั้น ไม่ใช้เป็นของเล่นเดินถือไปมา
 
- สร้างบรรยากาศการกินให้ลูกรู้สึกมีความสุข แม้จะเลิกใช้ขวดนม ด้วยการเล่านิทาน ร้องเพลงหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ แทน.


เตรียมตัวเด็กให้พร้อมเพื่อเลิกใช้ขวดนม


 อายุ 6 เดือน คอตั้งได้มั่นคง ลักษณะดันลิ้นออกจะค่อย ๆ หายไป สามารถเริ่มฝึกให้เด็กดื่มน้ำ ดื่มนม จากแก้วได้ทีละน้อย จึงควรเริ่มฝึกเด็กให้ดื่มนมจากแก้ว
    
อายุ 8 เดือน นั่งได้เองโดยไม่ต้องพยุง รู้จักเคี้ยว สามารถถือของมือเดียวและถ่ายโอนไปยังอีกมือได้ จึงควรเริ่มฝึกให้เด็กถือแก้วใบเล็ก เพื่อให้เด็กทำความคุ้นเคยเปรียบเสมือนของเล่นชิ้นหนึ่งของเด็ก
    
อายุ 10 เดือน เข้าใจคำสั่ง ชอบเลียนแบบพ่อ-แม่ พ่อ-แม่ จึงควรดื่มน้ำจากแก้วให้เด็กดูเป็นตัวอย่างอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้เด็กดูดน้ำจากขวดนม
    
อายุ 1 ขวบ ถือแก้วได้ดีขึ้น เริ่มเดินได้ สนใจสำรวจสิ่งแวดล้อม ทำให้ความสนใจในการดูดนมลดลง ชอบคำชม ต้องการทำให้พ่อ-แม่พึงพอใจ จึงควรเริ่มฝึกเลิกขวดนมควบคู่กับการใช้แรงเสริมทางบวก
    
อายุ 1 ขวบครึ่ง ห่วงเล่นมากกว่ากิน พัฒนาการกล้ามเนื้อดีขึ้น จึงควรหมั่นฝึกเด็ก เด็กจะใช้แก้วได้เก่งขึ้น
    
สิ่งสำคัญควรฝึกให้เด็กมีพฤติกรรมกินอาหารที่เหมาะสมควบคู่ ไปด้วย เช่น อายุ 9-10 เดือน เด็กใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้หยิบจับอาหารได้ ควรส่งเสริมให้หยิบอาหารเข้าปากเอง และค่อย ๆ ฝึกใช้ช้อน ซึ่งภายในอายุ 1 ขวบครึ่ง-2 ขวบ เด็กมักจะใช้ช้อนตักอาหารกินเองได้ดี เด็กจะเริ่มสนใจอาหารทั่วไปมากขึ้น เมื่อเลิกดูดนมจากขวดเด็กจึงไม่หงุดหงิด.


จุฑานันทน์ บุญทราหาญ


ขวดนม กับ เด็ก ดูจะเป็นของคู่กัน เด็กที่โตขึ้นมาโดยไม่ได้ผ่านการดูดขวดนมคงจะเป็นเรื่องที่แปลก!!
 
ในแต่ละปี มีเด็กเกิดในโลกนี้นับเป็นล้าน ๆ คน และเกิดในประเทศไทยปีละประมาณ 800,000 คน เด็กเกือบทั้งหมดจะมีขวดนมอยู่ในชีวิตประจำวัน ขวดนมจึงเหมือนสัญลักษณ์คู่กับเด็กที่พบเห็นจนชินตา เนื่องจากสามารถใช้ได้สะดวก ดูดได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนอน เดิน หรือนั่ง เพราะนมไม่หก ทำให้เป็นที่พึงพอใจของพ่อ-แม่เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กติดขวดนมได้ง่ายและไม่ยอมเลิกเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
 
ยิ่งในยุคปัจจุบัน ขวดนมกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทารกและเด็กเล็ก  โดยเฉพาะทารกที่ต้องกินนมผสม แม้แต่เด็กที่กินนมแม่ จะพบเสมอว่า แม่มักจัดเตรียมขวดนมไว้สำหรับใส่น้ำหรือให้กินนมผสมเสริม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้ขวดนม
 
พญ.สุรภี เรืองสุวรรณ ผอ. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี อธิบายถึงการใช้ขวดนมให้ฟังว่า ทางสถาบันเด็กฯ สนับสนุนให้เด็กดูดนมแม่ ยกเว้นในกรณีที่แม่ไม่สามารถให้เด็กดูดจากเต้านมได้ ด้วยภาวะต่าง ๆ ทางสังคม ถึงจะให้ใช้ขวดนม ซึ่งก็อยากให้แม่ปั๊มนมใส่ขวดเก็บไว้ในตู้เย็นไว้ให้ลูกอยู่ดี ประโยชน์ของขวดนมจึงอยู่ตรงนี้
 
การเลือกซื้อขวดนม ควรดูที่ความนิ่มของจุกนมให้เหมาะกับความแรงที่เด็กดูดและให้พอเหมาะกับลักษณะของปากเด็กในแต่ละวัย ไม่ควรมีสีสันมากนักจะให้ดีควรเป็นขวดใส สิ่งสำคัญของขวดนมอยู่ที่รูของจุกนม โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ดูดนมแรงต้องระวังในส่วนนี้ให้มาก ถ้ารูจุกนมมีขนาดใหญ่อาจทำให้เด็กสำลัก ได้ อย่ามองข้ามในเรื่องของการทำความสะอาด ควรนึ่งหรือต้มในน้ำที่เดือดแล้ว อย่างน้อย 5 นาที
 
ด้านการใช้งานของขวดนมนั้น ให้ดูที่สภาพของขวดนมเป็นหลัก ตราบใดที่สภาพยังดีอยู่และมีการทำความสะอาดที่ถูกต้องก็สามารถใช้ได้อยู่ แต่ต้องหมั่นตรวจดูจุกนม ถ้ามีการเปื่อย มีขนาดรูที่ใหญ่กว่าเดิม ควรเปลี่ยนจุกนมอย่างเดียวหากสภาพของขวดนมยังอยู่ในสภาพที่ดีอยู่
   
เด็กที่ไม่ได้ดูดนมแม่และมีความจำเป็นต้องใช้ขวดนม ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือในช่วงขวบปีแรกตามที่มี การแนะนำ ทั้งจากสมาคมกุมารแพทย์ สมาคมทันต แพทย์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ้ายังเลิกไม่ได้ก็ไม่ควรเกิน 1 ขวบครึ่ง
 
การฝึกเลิกใช้ขวดนม หากล่วงเลยถึงช่วงวัยเตาะแตะ คือระยะอายุ 2-3 ขวบ เด็กมักติดใจขวดนมไปแล้ว วัยนี้มีการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง ยึดตนเองเป็นผู้ใหญ่ หากรอจนถึงช่วงนี้เด็กจะมีโอกาสต่อต้าน อาละวาด เกิดปัญหาความสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดูได้มากกว่าการเลิกก่อนอายุระยะนี้
 
 เมื่อถึงเวลาแล้วยังไม่ยอมเลิกกินนมจากขวด จะส่งผลไป     สู่ปัญหาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของฟัน รายงานการสำรวจของกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย นับตั้งแต่ปี 2532-2544 พบว่าเด็กอายุ 3 ขวบ ซึ่งเป็นอายุที่เพิ่งมีฟันน้ำนมขึ้นครบทั้งปาก มีโรคฟันผุไปแล้วถึงร้อยละ 65.7 ความชุกของโรคในภา

ได้เวลาบอกลาขวดนม...ของเจ้าตัวน้อย


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์