อย่าประมาท ความเครียดมีผลต่อสุขภาพ
ความเครียดฆ่าคุณได้อย่างช้า ๆ ไม่ได้ทำร้ายเราโดยตรง แต่ก่อโรคร้ายสารพัด
ชีวิตสมัยใหม่ที่เร่งรีบ เราหลีกหนีความเครียด ความกดดันได้ยาก ร่างกายต้องเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้ตลอดเวลา ฮอร์โมนความเครียดหลั่งออกมากระตุ้นร่างกายให้พร้อมรับกับทุกสถานการณ์
หากเราใช้ร่างกายแบบเหยียบคันเร่งจนสุดทุกวัน ร่างกายของเราไม่ทนให้เราใช้ได้นาน อาการต่าง ๆ ต้องออกมาให้เราได้เห็น
ความเครียดระยะสั้น (Acute Stress) เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด รู้จักกันดีว่าเป็นการตอบสนองเพื่อการต่อสู้ และจะมีผลต่อภาวะทางจิตและกายภาพของบุคคลภายใต้สถานการณ์นี้เมื่ออุปสรรคได้ผ่านไประดับของฮอร์โมนความเครียดลดลงจนถึงระดับที่ปกติ
แต่ในสังคมยุคปัจจุบันนั้นสภาวะแวดล้อมและการดำรงชีวิตมักก่อให้เกิดความเครียดต่อเนื่อง แต่หากความเครียดดังกล่าวเกิดขึ้นทุกวันและไม่ได้รับการปลดปล่อย ในที่สุดก็จะกลายเป็นความเครียดเรื้อรังซึ่งความเครียดเรื้อรังนี้จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ
1. ความเครียดแบบเฉียบพลัน (Acute Stress Level)
ผลทางจิตใจ : เมื่อยล้า กังวล ขาดความเชื่อมั่น
ผลทางร่างกาย : ความดันสูง หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ อยากอาหารทำให้อ้วน ไม่มีสมาธิ พูดไม่รู้เรื่อง นอนไม่หลับ
2. ความเครียดชนิดเรื้อรัง (Chronic Stress Level)
- โรคหัวใจและหลอดเลือด - โรคเส้นเลือดในสมอง - โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร - ความจำสั้น
- ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง - โรคที่เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ กระดูก
ความเครียดเรื้อรัง - ซึมเศร้า - อ้วน - ไม่มีสมาธิ - นอนไม่หลับ
การแก้ปัญหาด้วยการหลีกเลี่ยงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยได้ การใช้ยาเพื่อลดความเครียดตามแบบวิถีตะวันตกไม่ควรเลียนแบบเพราะเป็นการสร้างปัญหาซ้อนปัญหาเข้าไปอีก
วิถีตะวันออก การผ่อนคลายทางร่างกายพร้อมกับการพักผ่อนด้านจิตใจมีมากมาย เช่น โยคะ รำมวยจีน ทำสมาธิ หรือ แบบยาสามัญประจำบ้านคือการออกกำลังกายให้ได้เหงื่อเป็นยาคลายเครียดที่ดีที่สุดในโลก
ขอบคุณ : Naver-age.com