เอาอยู่ค่ะ เอาอยู่ ขอเลียนแบบสำนวนยอดฮิตในช่วงนี้หน่อยนะคะ มวลน้ำก้อนใหญ่ที่ใครๆ ก็บอกว่าเอาอยู่ ตอนนี้แวะไปทักทายสาวๆ รึยังจ๊ะ เอาเป็นว่าไม่ต้องห่วงนะจ๊ะ ได้สัมผัสน้องเค้ากันถ้วนหน้า ช้า-เร็ว ต่างกันไป หนักหนาแค่ไหนก็แล้วแต่ชัยภูมิของบ้านเรานะคะสาวๆ
เอาล่ะ พูดถึงเรื่องที่เราแก้ไม่ได้ก็ปวดใจเปล่าๆ น้ำท่วมบ้านอย่าให้มั่นท่วมใจเรานะคะ หลายคนติดอยู่ในบ้านก็เครียด เข้าบ้านไม่ได้ก็เครียด ต้องอพยพก็เครียด ห่วงคนข้างหลังบ้าง ต้องกระจัดกระจายไปคนละทิศละทางบ้าง ความเครียดก็แตกต่างกันไป แต่ก็นั่นล่ะค่ะสาวๆ สิ่งที่ยังอยู่กับเราทุกวันก็คือจิตใจของเรานี่ล่ะค่ะ วิธีเสริมกำลังใจง่ายๆ ที่ช่วยให้เราได้มีสติที่จะเผชิญเหคุการณ์ที่ยังไม่อาจรู้ได้ในวันพรุ่งนี้ ก็คือ "สมาธิ" นี่ล่ะค่ะ
สมาธิ เสริมกำลังใจ-คลายเครียด
พูดถึงสมาธิสาวๆ หลายคนคงคิดถึงการนั่งสมาธิในเวลาเรียนพุทธศาสนา ไม่ก็การปฏิบัติธรรมบรรลุโสดาบันอะไรกันไป นั่นก็ไม่ผิดค่ะ แต่จุดนี้เราขอปรับใช้สมาธิให้เข้ากับภาวะวิกฤติสักนิดด้วยการกำหนดจิตใจให้ อยู่นิ่งๆ กับลมหายใจของเราค่ะ แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วสมาธิจะสร้างกำลังใจได้อย่างไร?
เพราะสมาธิทำให้เรามีสติค่ะ สติทำให้เราเข้าใจชีวิต เข้าใจโลก มองเห็นเพื่อนมนุษย์ที่แย่กว่าเรา มองเห็นข้อดีในความเลวร้ายและไม่คิด ไม่ทำให้อะไรๆ แย่ไปกว่าเดิม หลาย คนน้ำท่วมแค่ข้อเท้า เดินลุยกันคันยุบยิบ แต่นั่นสู้ไม่ได้เลยกับคนที่น้ำท่วมมิดบ้าน สาวๆ คนไหนติดอยู่ในบ้าน ไปทำงานไม่ได้ ก็จะเห็นใจกันตอนนี้ล่ะค่ะ ว่าใครรักเราจริง
และสมาธิยังช่วยคลายเครียดได้อีกด้วย ว่ากันตามหลักวิทยาศาสตร์ได้เลย เพราะการทำสมาธิเป็นการหายใจอย่างเป็นจังหวะ ลึกและยาว ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้มากขึ้น เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อหลายตัวลง ส่งผลต่อความเครียดตึงที่อยู่ตามกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ลดลงด้วยค่ะ
สมาธิ ทำได้ ง่ายนิดเดียว
การทำสมาธินั้นทำได้ง่ายมากค่ะ แต่ก็ไม่ใช่ว่าแค่นั่งหลับตาแล้วภาวนาตามลมหายใจเข้าออกเท่านั้น เรามีวิธีง่ายๆจากคุณหมอผศ.พญ.วินิทรา นวลละออง จากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาแนะนำกันค่ะ สำหรับสาวๆ ที่เพิ่งเริ่มและรู้ตัวดีว่าจิตใจฟุ้งซ่านง่ายเหลือเกิน ให้เริ่มในที่เงียบสงบสักหน่อย
• เริ่มจากให้นั่งลงในท่าที่สบายบนเก้าอี้หรือบนพื้นก็ได้ หรืออาจจะนอนลงถ้ารู้สึกสบายมากกว่า อาจจะหลับตาหรือมองลงไปที่พื้นบริเวณที่อยู่ด้านหน้าเราไปประมาณ 2-3 นิ้ว เมื่อนั่งลงแล้ว ให้พิจารณาการหายใจของเรา โดยเพิ่งสมาธิไปยังสิ่งที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น
• อย่าพยายามเปลี่ยนจังหวะการหายใจ เพียงแค่สังเกตว่าเราอยู่สึกอย่างไรที่ปอดและทรวงอกของเราขณะนั้นก็พอ
• ถ้าจิตของเรายังฟุ้งซ่านอยู่ อย่ากังวลหรือท้อใจว่าทำไมจึงทำไม่ได้ ลองสังเกตความคิดของตนเองดู เช่น "เราฟุ้งซ่านเพราะกังวลว่าพรุ่งนี้ต้องไปประชุมตอนสิบโมงเช้า" เมื่อ รับรู้ความคิดแล้วก็ให้ปล่อยมันไป แล้วดึงสมาธิกลับมาสู่ปัจจุบัน กลับมาสู่การหายใจของเราเช่นเดิม เราอาจลองทำเช่นนี้หลายๆ ครั้งระหว่างที่ทำสมาธิอยู่ก็ได้ ไม่ต้องฝืนพยายามหยุดคิดทุกครั้ง
• ระหว่างทำสมาธิ เราอาจรู้สึกถึงอารมณ์บางอย่าง เช่น โกรธ, ทนไม่ไหว, เศร้า, หรือสุข อย่าพยายามยึดหรือทิ้งความรู้สึกเหล่านี้ไปเพราะสิ่งเหล่านี้คือประสบการณ์ หนึ่งในปัจจุบัน ณ เวลานั้นด้วยเช่นกัน
• พยายามตั้งสมาธิอยู่กับการหายใจจะช่วยให้เรายังคงมีสมาธิอยู่ได้และไม่หลง อยู่ในกระแสความคิดซึ่งอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวจุดประกายให้เกิดขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ถ้าเรารู้สึกว่าทนทำสมาธิจนจบไม่ได้แน่ๆ เราต้องรีบไปซักผ้าแล้ว ลองพิจารณาว่าเราสามารถตั้งสมาธิอยู่ที่ความรู้สึกทนไม่ได้นี้นานกว่าความ คิดที่อยากไปซักผ้าหรือไม่ ความรู้สึกทนไม่ได้นี้ส่งผลต่อร่างกายส่วนใดบ้าง เรารู้สึกตึงปวดไหม การหายใจของเราเปลี่ยนแปลงไหม