หัวใจเป็นอวัยวะที่ต้องทำงานตลอดเวลาแม้ในขณะหลับ เราจึงควรหาวิธีบริหารหัวใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ
1. เน้นการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เพื่อให้หัวใจทำงานได้อย่างเต็มที่ เช่น เต้นแอโรบิก, เดินเร็ว, วิ่ง, ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน, ปีนเขา, เดินป่า, เต้นรำ
2. ใช้ชีพจร เป็นตัวกำหนดการออกกำลังกายที่เหมาะสม
โดย คำนวณจากตัวเลข 220 (คือชีพจรสูงสุดมาตรฐาน) ลบกับ อายุของเรา ค่าที่ได้คือ ชีพจรสูงสุดของอายุ นำมาอ้างอิงกับการออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังกายที่ดีควรอยู่ที่ประมาณ 60 – 80 % ของชีพจรสูงสุดของอายุนั้น
เช่น คุณยอดชายมีอายุ 40 ปี ต้องการทราบชีพจรสูงสุด ให้นำ 220 - อายุ 40 ชีพจรสูงสุดของคุณยอดชายในวัย 40 ปี จะได้เท่ากับ 180 ดังนั้นคุณยอดชายควรออกกำลังกายให้หัวใจเต้นระหว่าง 108 – 144 ครั้งต่อนาที เพื่อผลดีต่อหัวใจ (เราสามารถทราบได้ว่าหัวใจเต้นได้ตามจังหวะหรือไม่ โดยการทดสอบจับชีพจรระหว่างออกกำลังกาย)
3. ก่อนออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกายประมาณ 5 – 10 นาที ตามด้วยการออกกำลังกายต่อเนื่องครั้งละ 30 – 40 นาที อย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์
4. ควรหยุดออกกำลังกายเมื่อเริ่มมีอาการเหนื่อยกว่าปกติ ใจสั่น แน่นหน้าอก หน้ามืด เวียนศีรษะ
5. ไม่ควรออกกำลังกายแบบเดิมซ้ำๆ เพราะจะทำให้ข้อเสื่อม เนื่องจากแรงกระแทก ควรเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกายไปเรื่อยๆ เช่น วิ่ง, เดิน, เต้นแอโรบิกสลับกันบ้าง ให้กล้ามเนื้อได้ออกกำลังกายทุกสัดส่วน
6. การบริหารหัวใจสำหรับผู้มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม ควรเน้นการออกกำลังประเภทที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ว่ายน้ำ เดินในน้ำ ปั่นจักรยานอยู่กับที่ (ถ้าไม่มีอาการเจ็บ)
ให้หัวใจได้ออกกำลัง
ขอบคุณ : โรงพยาบาลสมิติเวช
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!