สมมติว่า หากใครสักคนเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้บนสมาร์ทโฟน Android ของคุณได้ โดยเฉพาะมัลแวร์ประเภทสปายแวร์ที่ขยันรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของคุณ เพื่อส่งออกไปให้นายมัน (แฮคเกอร์) หลังจากที่แฮคเกอร์ได้ข้อมูลเหล่านี้่ไปแล้ว พวกเขาสามารถใช้อีเมล์ของคุณ เพื่อทำการต่างๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัวได้ หรือแม้แต่ลบอีเมล์ทั้งหมดใน Inbox ตลอดจนแอบอ่านอีเมล์ทั้งหมด รวมถึงแอบลบข้อมูลบนการ์ดหน่วยความจำ SD ก่อนที่จะแช่แข็งไม่ให้ Android Phone ของคุณทำงานได้ (brick your phone) จากสถิติปี 2011 มีรายงานผู้ใช้กว่า 250,000 ราย ตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์บน Android เล่ามาซะยืดยาว ยังไม่ได้เข้าเรื่องสักที เพื่อความปลอดภัยของคุณ โดยเฉพาะผู้ทีใช้สมาร์ทโฟน Androdi ทิปนี้จะแนะนำให้สมาร์ทโฟนของคุณปลอดภัยจากมัลแวร์ สปายแวร์ และภัยคุกคามอื่นๆ บนออนไลน์ได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ช่วยให้คุณปลอดภัยทีสุด รวมถึงสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ ซึ่งผู้ใช้สมาร์ทโฟน Android ควรทราบเป็นอย่างยิ่ง
1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ระบบปฎิบัติการ และแอพฯ ที่ใช้ในสมาร์ทโฟน Android ของคุณอัพเดทแล้ว และเฟิร์มแวร์ที่ติดตั้งในเครื่องเป็นเวอร์ชันล่าสุด หากเปรียบเทียบกับร่างกายมนุษย์แล้ว ระบบปฏิบัติการที่อัพเดทจะทำหน้าที่คล้ายกับเซลล์เม็ดเล็ดขาว โดยมันจะไม่ต้อนรับแอพพลิเคชันที่ติดมัลแวร์ หรือความพยายามในการเจาะระบบของแฮคเกอร์ และเพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น คุณควรจะอัพเกรดซอฟต์แวร์ รวมถึงการอัพเดทเฟิร์มแวร์ล่าสุดของอุปกรณ์ที่ใช้ด้วย การหมั่นอัพเดททั้ง 3 ส่วนนี้จะช่วยให้ Android Phone ของคุณปลอดภัย และแข็งแรง
*Tip: ไม่ควรทิ้งสมาร์ทโฟนให้ทางร้านรับซ่อมทั่วไปทำการอัพเกรดซอฟต์แวร์ หรือเฟิร์มแวร์ เพราะผู้ให้บริการเหล่านี้ บางรายที่ไม่ได้ใส่ใจมากนัก อาจทำให้สมาร์ทโฟนของคุณติดไวรัส หรือแม้แต่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างโอกาสหาเงินผ่านมัลแวร์อันตราย โดยที่คุณไม่รู้ตัวได้เลยก็ได้
2. หลีกเลี่ยงการติดตั้งแอพพลิเคชันจากผู้ให้บริการรายอื่นๆ ที่ไม่น่าเชื่อถือ (แนะนำให้ใช้บริการจาก Android Market) หรือติดตั้งจากไฟล์ .APK สำหรับคำแนะนำข้อสองนี้ก็คือ คุณควรจะติดตังแอพพลิเคชันจาก Android Market เป็นหลัก หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ต่างๆ ยิ่งกว่านั้น คุณไม่ควรติดตั้งแอพพลิเคชันผ่านไฟล์ .APK เนื่องจากคุณจะไม่รู้เลยว่าภายในโค้ดของไฟล์ APK (ไฟล์แพคเกจติดตั้งแอพที่รวมทุกอย่างไว้แล้ว สามารถก็อปปี้เข้าไปในมือถือ สามารถติดตั้งผ่านไฟล์แมแนเจอร์ได้) มีอะไรซุกซ่อนอยู่ ซึ่งอาจหมายถึงมัลแวร์ก็ได้ โดยผลลัพธ์ก็มีตั้งแต่แช่แข็งเครื่องไปจนถึงล้วงข้อมูลส่งให้แฮคเกอร์