หากปล่อยฟันคุดทิ้งไว้ จะเกิดอะไรขึ้น ?

หากปล่อยฟันคุดทิ้งไว้ จะเกิดอะไรขึ้น ?


วิธีการเอาฟันคุดออกจะต่างจากการถอนฟัน เพราะฟันคุดส่วนใหญ่จะล้มเอียงตัดกับฟันข้างเคียง การดึงฟัน ถอนฟันแบบธรรมดาไม่สามารถดึงออกได้ง่ายๆ จึงต้องใช้วิธีการผ่าตัดเอาออก

ทพ.พจนารถ พุ่มประกอบศรีประสบการณ์ การทำฟันในคนช่วงวัยรุ่น นอกจากจะอุดฟัน จัดฟันแล้ว ฟันคุดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายๆ คนประสบกับตัวเองในช่วงอายุ 17-21 ปี ฟันกรามซี่สุดท้าย (ซี่ที่สาม) จะขึ้นหรือโผล่ในช่องปาก ฟันซี่นี้มักมีความพิเศษหลายอย่าง ระหว่างที่ฟันขึ้น จะรู้สึกเจ็บปวดมาก หรืออาจมีอาการอักเสบ แก้มบวมโย้บาง คนไม่พบว่ามีฟันซี่นี้ขึ้น แต่ถ้าตรวจโดยภาพเอกซเรย์แล้ว จะพบลักษณะของฟันล้มนอน หรือเอียงชนฟันข้างหน้า ทำให้ขึ้นไม่ได้ ที่เรารู้จักกันดีว่า ฟันคุด

คุณ สามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง ลองนับฟันในช่องปากดู ฟันแท้จริงๆ แล้วมี 32 ซี่ ส่วนใหญ่จะนับได้ 28 ซี่ อีก 4 ซี่ที่หายไปให้สันนิษฐานไว้ได้เลยว่า เป็นฟันคุด คือไม่โผล่ให้เห็นชัดเจนในช่องปาก ทางที่ดี ถ้าคุณมีอายุครบ 17 ปีขึ้นไป น่าจะตรวจเอกซเรย์ เช็คดูว่าฟันซี่สุดท้ายมีลักษณะอย่างไรบ้าง เพราะทันตแพทย์มักแนะนำให้ถอนฟันคุด หรือผ่าเอาออกเสียตั้งแต่ยังไม่มีอาการเจ็บปวด เพราะถ้าปล่อยให้ฟันคุดต่อไปนอกจากจะไม่เป็นประโยชน์แล้ว กลับจะมีผลเสียต่อสุขภาพของช่องปากอีกด้วย

ถ้าปล่อยฟันคุดทิ้งไว้ จะเกิดอะไรขึ้น ?
ทำ ให้เศษอาหารติดบริเวณฟันคุด และฟันข้างเคียงได้ง่าย เป็นสาเหตุทำให้ฟันข้างเคียงผุ ซึ่งเป็นฟันหลักในการบดเคี้ยว หากฟันคุดผุไม่เป็นไร เพราะเราต้องเอาออกอยู่แล้ว แต่ถ้าฟันแท้ซี่ที่ 2 ผุ ก็จะเป็นที่น่าเสียดายมากเพราะเป็นซี่สำคัญที่เราใช้เคี้ยว

ฟันคุดจะทำให้ปวด บวม ติดเชื้อได้ ขนาดแก้มโย้เลยทีเดียว กินข้าวกินปลาไม่ได้เลย

ฟันคุดเป็นต้นเหตุให้เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อหุ้มฟัน โดยอาจเปลี่ยนเป็นเนื้องอกหรือเนื้อร้ายได้

ฟัน คุดเป็นตัวการทำให้เกิดฟันซ้อน เก ได้ เพราะแรงผลักที่ส่งต่อไปกระทบให้ฟันข้างหน้าเคลื่อนออกนอกแนว หลายๆ ท่านที่จัดฟันมักจะถูกถอนฟันคุดออกก่อน

ดัง นั้นหากคุณตรวจสุขภาพฟันแล้วพบว่ายังมีฟันคุดอยู่ก็ขอแนะนำให้รีบเอาออกเสีย ในช่วงอายุน้อยๆ หากปล่อยให้เนิ่นนานอายุมาก การผ่าตัดออกจะยากขึ้น และผลเสียต่างๆดังกล่าวก็จะตามมาด้วย หากว่าในขณะที่ยังไม่ได้เอาฟันคุดออกก็ต้องรักษาความสะอาดของเหงือกและฟัน ให้ดี ปกติซี่ในสุดการแปรงฟันอาจจะเข้าไม่ถึง คุณอาจใช้น้ำยาบ้วนปากช่วยได้ อย่างน้อยก็กำจัดแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของฟันผุและกลิ่นปากได้ในระดับ หนึ่ง 
 

การผ่าตัดถอนฟันคุด

•ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์โรค
◦ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน
◦ในบางกรณีการถ่ายเอ๊กซเรย์อาจมีความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาซึ่งสามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้
◦ทันตแพทย์จะทำการจดบันทึกข้อมูลและประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด ปัญหาสุขภาพเช่นโรคตับ และโรคเบาหวาน และการแพ้อาหารและยาประเภทต่างๆ เป็นต้น

•การเตรียมบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
◦ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
•ขั้นตอนการผ่าตัด
◦การผ่าตัดเปิดเหงือก
◦การถอนฟันคุดออก
◦การเย็บปิดปากแผล

•ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน
หลัง การผ่าตัดถอนฟันคุด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที เลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้นๆ และแผลจะสามารถสมานตัวได้เอง แต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบติดเชื้อ บริเวณแผลได้ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ หรือการอยู่กลางแจ้ง อาการที่เกิดขึ้นได้และถือว่าปกติคือ

•อาการ บวมของใบหน้าข้างที่ทำการผ่าตัดเหมือนการผ่าตัดทั่วไปที่อาจมีการบวมอยู่ ประมาณ 2-3 วัน
•อาการปวดแผลผ่าตัด ซึ่งต้องทานยาแก้ปวดเช่นเดียวกับการถอนฟันตามปกติ
•บริเวณแก้มอาจมีสีเหลือง เขียว ซึ่งจะหายไปในที่สุด
•บริหารขากรรไกรโดยให้อ้าปากให้กว้างๆสม่ำเสมอหลังผ่าฟันคุด

ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดฟันคุดมีดังนี้

•ประคบด้วยถุงเย็นประมาณ 30 นาทีทันทีหลังการผ่าตัด
•ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆประมาณ 30 นาที เพื่อห้ามเลือด และควรเปลี่ยนผ้าชิ้นใหม่หลังจากนั้นจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
•ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากภายใน 6 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
•ในกรณีที่มีเลือดออกเล็กน้อย ควรทำการอมน้ำเกลือเย็นๆไว้สักครู่
•ไม่ควรบ้วนน้ำภายใน 12 ชั่วโมงหลังการถอน
•สามารถบ้วนปากได้ด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) 12 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
•สามารถแปรงฟันได้ตามปกติแต่ควรให้ความระมัดระวังบริเวณแผล
•ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เย็นๆ และรสไม่จัดในช่วง 2 – 3 วันแรก
•หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
•อาการปวดหลังการถอนสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่สั่งโดยทันตแพทย์


อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นคือ

1.อาการติดเชื้อหลังผ่าตัด จะพบว่าบางครั้งหมอฟันจะให้ยาแก้อักเสบหลังผ่าตัดเสร็จแล้วด้วย
2.แพ้ยา แก้ปวด,แก้อักเสบ หรือลดบวม ต้องรีบพบทันตแพทย์เพื่อเปลี่ยนยาทันที
3.เลือด ออกมาก ซึ่งคงต้องดูเป็นกรณีไปเช่น มีการติดเชื้อมากก่อนทำ หรือฟันคุดอยู่ใกล้เส้นเลือด หรือแผลอาจฉีกขาดเป็นต้น
4.อาการชาริมฝีปาก หลังผ่าตัด เพราะฟันคุดอยู่ใกล้หรือเกี่ยวอยู่กับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงฟัน

ผลเสียของการเก็บฟันคุดไว้คือ

1.อาจเกิดการติดเชื้อแบบฉับพลัน หรือติดเชื้อแบบเรื้อรัง เป็นๆหาย
2.ฟันคุดถ้าฝังอยู่ในขากรรไกรมักมีถุงหุ้มฟันอยู่ ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นถุงน้ำได้
3. ปวดฟัน
4.ฟันซี่ที่ติดกับฟันคุดจะผุและอาจเสียหายไปด้วย เพราะฟันคุดเอียงมาชนทำให้ยากต่อการทำความสะอาด
5.เป็นจุดอ่อนของขากรรไกรกรณีได้รับอุบัติเหตุ 

วิธีการเอาฟันคุดออกจะต่างจากการถอนฟัน เพราะฟันคุดส่วนใหญ่จะล้มเอียงตัดกับฟันข้างเคียง การดึงฟัน ถอนฟันแบบธรรมดาไม่สามารถดึงออกได้ง่ายๆ จึงต้องใช้วิธีการผ่าตัดเอาออก

ทพ.พจนารถ พุ่มประกอบศรีประสบการณ์ การทำฟันในคนช่วงวัยรุ่น นอกจากจะอุดฟัน จัดฟันแล้ว ฟันคุดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายๆ คนประสบกับตัวเองในช่วงอายุ 17-21 ปี ฟันกรามซี่สุดท้าย (ซี่ที่สาม) จะขึ้นหรือโผล่ในช่องปาก ฟันซี่นี้มักมีความพิเศษหลายอย่าง ระหว่างที่ฟันขึ้น จะรู้สึกเจ็บปวดมาก หรืออาจมีอาการอักเสบ แก้มบวมโย้บาง คนไม่พบว่ามีฟันซี่นี้ขึ้น แต่ถ้าตรวจโดยภาพเอกซเรย์แล้ว จะพบลักษณะของฟันล้มนอน หรือเอียงชนฟันข้างหน้า ทำให้ขึ้นไม่ได้ ที่เรารู้จักกันดีว่า ฟันคุด

คุณ สามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง ลองนับฟันในช่องปากดู ฟันแท้จริงๆ แล้วมี 32 ซี่ ส่วนใหญ่จะนับได้ 28 ซี่ อีก 4 ซี่ที่หายไปให้สันนิษฐานไว้ได้เลยว่า เป็นฟันคุด คือไม่โผล่ให้เห็นชัดเจนในช่องปาก ทางที่ดี ถ้าคุณมีอายุครบ 17 ปีขึ้นไป น่าจะตรวจเอกซเรย์ เช็คดูว่าฟันซี่สุดท้ายมีลักษณะอย่างไรบ้าง เพราะทันตแพทย์มักแนะนำให้ถอนฟันคุด หรือผ่าเอาออกเสียตั้งแต่ยังไม่มีอาการเจ็บปวด เพราะถ้าปล่อยให้ฟันคุดต่อไปนอกจากจะไม่เป็นประโยชน์แล้ว กลับจะมีผลเสียต่อสุขภาพของช่องปากอีกด้วย

ถ้าปล่อยฟันคุดทิ้งไว้ จะเกิดอะไรขึ้น ?
ทำ ให้เศษอาหารติดบริเวณฟันคุด และฟันข้างเคียงได้ง่าย เป็นสาเหตุทำให้ฟันข้างเคียงผุ ซึ่งเป็นฟันหลักในการบดเคี้ยว หากฟันคุดผุไม่เป็นไร เพราะเราต้องเอาออกอยู่แล้ว แต่ถ้าฟันแท้ซี่ที่ 2 ผุ ก็จะเป็นที่น่าเสียดายมากเพราะเป็นซี่สำคัญที่เราใช้เคี้ยว
ฟันคุดจะทำให้ปวด บวม ติดเชื้อได้ ขนาดแก้มโย้เลยทีเดียว กินข้าวกินปลาไม่ได้เลย

ฟันคุดเป็นต้นเหตุให้เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อหุ้มฟัน โดยอาจเปลี่ยนเป็นเนื้องอกหรือเนื้อร้ายได้
ฟัน คุดเป็นตัวการทำให้เกิดฟันซ้อน เก ได้ เพราะแรงผลักที่ส่งต่อไปกระทบให้ฟันข้างหน้าเคลื่อนออกนอกแนว หลายๆ ท่านที่จัดฟันมักจะถูกถอนฟันคุดออกก่อน

ดัง นั้นหากคุณตรวจสุขภาพฟันแล้วพบว่ายังมีฟันคุดอยู่ก็ขอแนะนำให้รีบเอาออกเสีย ในช่วงอายุน้อยๆ หากปล่อยให้เนิ่นนานอายุมาก การผ่าตัดออกจะยากขึ้น และผลเสียต่างๆดังกล่าวก็จะตามมาด้วย หากว่าในขณะที่ยังไม่ได้เอาฟันคุดออกก็ต้องรักษาความสะอาดของเหงือกและฟัน ให้ดี ปกติซี่ในสุดการแปรงฟันอาจจะเข้าไม่ถึง คุณอาจใช้น้ำยาบ้วนปากช่วยได้ อย่างน้อยก็กำจัดแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของฟันผุและกลิ่นปากได้ในระดับ หนึ่ง 
 

การผ่าตัดถอนฟันคุด

•ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์โรค
◦ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน
◦ในบางกรณีการถ่ายเอ๊กซเรย์อาจมีความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาซึ่งสามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้
◦ทันตแพทย์จะทำการจดบันทึกข้อมูลและประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด ปัญหาสุขภาพเช่นโรคตับ และโรคเบาหวาน และการแพ้อาหารและยาประเภทต่างๆ เป็นต้น

•การเตรียมบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
◦ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
•ขั้นตอนการผ่าตัด
◦การผ่าตัดเปิดเหงือก
◦การถอนฟันคุดออก
◦การเย็บปิดปากแผล

•ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน
หลัง การผ่าตัดถอนฟันคุด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที เลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้นๆ และแผลจะสามารถสมานตัวได้เอง แต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบติดเชื้อ บริเวณแผลได้ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ หรือการอยู่กลางแจ้ง อาการที่เกิดขึ้นได้และถือว่าปกติคือ

•อาการ บวมของใบหน้าข้างที่ทำการผ่าตัดเหมือนการผ่าตัดทั่วไปที่อาจมีการบวมอยู่ ประมาณ 2-3 วัน
•อาการปวดแผลผ่าตัด ซึ่งต้องทานยาแก้ปวดเช่นเดียวกับการถอนฟันตามปกติ
•บริเวณแก้มอาจมีสีเหลือง เขียว ซึ่งจะหายไปในที่สุด
•บริหารขากรรไกรโดยให้อ้าปากให้กว้างๆสม่ำเสมอหลังผ่าฟันคุด

ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดฟันคุดมีดังนี้

•ประคบด้วยถุงเย็นประมาณ 30 นาทีทันทีหลังการผ่าตัด
•ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆประมาณ 30 นาที เพื่อห้ามเลือด และควรเปลี่ยนผ้าชิ้นใหม่หลังจากนั้นจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
•ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากภายใน 6 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
•ในกรณีที่มีเลือดออกเล็กน้อย ควรทำการอมน้ำเกลือเย็นๆไว้สักครู่
•ไม่ควรบ้วนน้ำภายใน 12 ชั่วโมงหลังการถอน
•สามารถบ้วนปากได้ด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) 12 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
•สามารถแปรงฟันได้ตามปกติแต่ควรให้ความระมัดระวังบริเวณแผล
•ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เย็นๆ และรสไม่จัดในช่วง 2 – 3 วันแรก
•หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
•อาการปวดหลังการถอนสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่สั่งโดยทันตแพทย์


อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นคือ

1.อาการติดเชื้อหลังผ่าตัด จะพบว่าบางครั้งหมอฟันจะให้ยาแก้อักเสบหลังผ่าตัดเสร็จแล้วด้วย
2.แพ้ยา แก้ปวด,แก้อักเสบ หรือลดบวม ต้องรีบพบทันตแพทย์เพื่อเปลี่ยนยาทันที
3.เลือด ออกมาก ซึ่งคงต้องดูเป็นกรณีไปเช่น มีการติดเชื้อมากก่อนทำ หรือฟันคุดอยู่ใกล้เส้นเลือด หรือแผลอาจฉีกขาดเป็นต้น
4.อาการชาริมฝีปาก หลังผ่าตัด เพราะฟันคุดอยู่ใกล้หรือเกี่ยวอยู่กับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงฟัน

ผลเสียของการเก็บฟันคุดไว้คือ

1.อาจเกิดการติดเชื้อแบบฉับพลัน หรือติดเชื้อแบบเรื้อรัง เป็นๆหาย
2.ฟันคุดถ้าฝังอยู่ในขากรรไกรมักมีถุงหุ้มฟันอยู่ ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นถุงน้ำได้
3. ปวดฟัน
4.ฟันซี่ที่ติดกับฟันคุดจะผุและอาจเสียหายไปด้วย เพราะฟันคุดเอียงมาชนทำให้ยากต่อการทำความสะอาด
5.เป็นจุดอ่อนของขากรรไกรกรณีได้รับอุบัติเหตุ 


 
 


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์