ร้อนจริง ๆ ใช่มั้ยครับไหนจะน้ำแข็งละลาย อยากจะช่วยโลกกันมั้ยครับไม่ต้องคิดไปไกลแค่ทานเนื้อน้อยลงก็ช่วยได้แล้วครับ
การทานเนื้อน้อย ๆ นี้ ช่วยลดจำนวนปศุสัตว์หรือบอกตรงๆ ก็คือลดการเลี้ยงสัตว์นั่นล่ะครับ เมื่อสัตว์น้อยลงปริมาณก๊าซมีเทนก็น้อยลงไปด้วยครับ งานนี้ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารสุขภาพ The Lancet โดยผู้เชี่ยวชาญเค้าแนะนำว่าเราควรจะบริโภคเนื้อและแฮมเบอร์เกอร์ให้น้อยลง หากการบริโภคเนื้อแดงลดลง 10 % สามารถลดปริมาณการผลิตก๊าซจากวัว แพะและแกะได้ครับ
Geri Brewster จากโรงพยาบาล Northern Westchester ใน New York กล่าวว่า
หากคนอื่น ๆ รู้ตัวว่ากำลังบั่นทอนโลก ก่อนจะซื้อแฮมเบอร์เกอร์ครั้งหน้าอาจทำให้เค้าคิดก่อนถึง 2 รอบก็ได้ การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการทำฟาร์มวิธีอื่น คือ ใช้พืชมีคุณภาพสูงเลี้ยงสัตว์แต่ก็ลดได้เพียงแค่ปริมาณหนึ่งเท่านั้นครับ แต่ก๊าซจากสัตว์ที่แปลงร่างลงมาอยู่ในจานดินเนอร์ข้างหน้าคุณคิดเป็น 1 ใน 4 ของก๊าซทั้งหมดที่ปลดปล่อยออกมาทั่วโลกเชียวครับ การทานเนื้อของคนทั่วโลกแตกต่างกันไปครับ ในประเทศพัฒนาแล้วคิดเป็น 224 กรัมต่อวัน แต่ในแอฟริกาคนทานเนื้อกันวันละ 31 กรัมเท่านั้นครับ
กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ช่วยแก้โลกร้อน
ตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญเริ่มวิตกแล้วครับว่าคนต้องการเนื้อเพิ่มขึ้น การปศุสัตว์ก็จะเพิ่มมากขึ้น ก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ก็จะเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้บรรยากาศโลกร้อน
ยกตัวอย่างเช่น ในจีนคนทานเนื้อเพิ่มขึ้นสองเท่ากว่าเมื่อ 10 ปีก่อนดร. John Powles ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัย Cambridge กล่าวว่า หากค่าเฉลี่ยการทานเนื้อแต่ละวันเป็น 90 กรัมต่อวันจะช่วยลดปริมาณก๊าซที่ทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงได้
Powles และคณะกล่าวว่า การทานเนื้อแดงน้อยจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจและโรคมะเร็ง
ผลจากการศึกษาหนึ่งชี้ให้เห็นว่าทุกทุก 100 กรัมของเนื้อแดงที่ตัดไปจากมื้ออาหารจะช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ได้ถึง 1 ใน 3 Brewster เสริมว่า ค่านิยมของสังคมปัจจุบันส่งผลให้คนทานโปรตีนกันมากไป หากทานเนื้อน้อยลงเราก็จะอ้วนน้อยลงด้วย ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าคงต้องใช้เวลาหลาย 10 ปีกว่าจะทำให้ค่านิยมการบริโภคเนื้อของสังคมลดลง โดยดร.Maria Neira หัวหน้าองค์การอนามัยโลกฝ่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า เราต้องทำความเข้าใจว่าเรากินเพื่ออะไรให้มากขึ้น โดยวิธีนี้เป็นทฤษฎีที่ยังต้องทดลองกันต่อไป อย่างน้อยมันก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดก๊าซและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้
เว็บไซด์วิชาการดอทคอม