9 กุมภาพันธ์ จะมีก็ต่อเมื่อเป็นปีที่หารได้ด้วย 4 ลงตัว กว่าจะมี 29 วัน ก็จะเป็นปี 2012 ซึ่งในประเทศไทยเรียกว่า "ปีอธิกสุรทิน"
"ปีอธิกสุรทิน" คือ ปีที่มีวันหรือเดือนเพิ่มเข้ามา เพื่อทำให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์หรือปีฤดูกาล
ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ฤดูกาลและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ไม่ได้วนกลับมาเป็นจำนวนวันที่ลงตัว ใน"ปฏิทินเกรโกเรียน" ซึ่งเป็นต้นแบบของปฏิทินสุริยคติไทยในปัจจุบัน จะเพิ่มวันในเดือนกุมภาพันธ์ให้มี 29 วัน
ในปีที่เป็นปีอธิกสุรทิน จึงทำให้ปีอธิกสุรทินมี 366 วัน ใน"ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ" จะกำหนดให้เดือนซุลฮิจญะหฺซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายมี 30 วัน จึงทำให้ปีอธิกสุรทินของปฏิทินฮิจเราะหฺมี 355 วันการตรวจสอบว่าปีใดในระบบคริสต์ศักราชเป็นปีอธิกสุรทินหรือไม่ ทำได้โดยการหารปีนั้นด้วย 4 หากหารลงตัวจะเป็นปีอธิกสุรทิน
อย่างไรก็ตาม ด้วยกฎเหล่านี้จึงทำให้ ค.ศ. 1800, 1900, 2100, 2200 เป็นปีปกติสุรทิน แต่ ค.ศ. 1600, 2000, 2400 เป็นปีอธิกสุรทิน
ทั้งนี้เมื่อเอ่ยถึงคำว่า "อธิกวาร" "อธิกมาส" และ "อธิกสุรทิน" เป็น ไปได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันอาจไม่รู้ความหมายของคำเหล่านี้ เพราะเป็นคำที่มีความหมายเข้าใจยาก และเป็นคำที่ไม่ได้ใช้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน คำทั้งสามคำเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปฏิทิน หรือการนับวันเดือนปี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในวัฒนธรรม ผู้เขียนจึงต้องการอธิบายความหมายของคำเหล่านี้พอเป็นสังเขปเพื่อให้คนที่ ยังไม่รู้จักคำเหล่านี้เข้าใจความหมายเมื่อได้ยินหรืออ่านพบคำดังกล่าวใน สื่อต่างๆ
คำว่า "อธิกวาร" "อธิกมาส" และ "อธิกสุรทิน" ประกอบด้วย คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด หน่วยหน้าศัพท์ อธิก- (อ่านว่า อะ-ทิ-กะ) ในที่นี้หมายถึง "เกิน, เพิ่ม" ส่วนคำว่า วาร แปลว่า "วัน" มาส แปลว่า "เดือน" คำว่า สุรทิน มาจาก สุร + ทิน ทิน แปลว่า "วัน" สุร ในที่นี้น่าจะแปลว่า "พระอาทิตย์"
ในจำนวนคำทั้งสามดังกล่าว คำว่า อธิกสุรทิน น่าจะเป็นคำที่คุ้นเคยมากที่สุดสำหรับคนไทยปัจจุบัน เพราะเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับปฏิทินแบบสุริยคติ ซึ่งใช้ในสังคมไทยปัจจุบัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของ อธิกสุรทิน ไว้ว่า "วันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ คือในปีนั้นเพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีกวันหนึ่งเป็น 29 วัน" ตามธรรมดาเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน ปฏิทินบางฉบับเรียกปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันว่า "ปีปกติสุรทิน" และเรียกปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ว่า "ปีอธิกสุรทิน"
ปีอธิกสุรทินจะมี 4 ปีครั้ง ปีพ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) เป็นปีอธิกสุรทิน ปีอธิกสุรทินต่อไปคือปีพ.ศ. 2547 ข้อสังเกตง่ายๆว่าปีใดเป็นปีอธิกสุรทินคือให้เอาปีค.ศ. ตั้งหารด้วยเลข 4 ถ้าหารลงตัวจะเป็นปีอธิกสุรทิน ถ้าหารไม่ลงตัวก็เป็นปีปรกติ เช่นปีค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) หารด้วยเลข 4 ลงตัว และทั้งหมดเป็นปีอธิกสุรทิน
เหตุที่จะต้องมีปีอธิกสุรทินทุก 4 ปี เพราะตามระบบของปฏิทินทางสุริยคติ จะต้องเพิ่มวันเข้าไป 1 วันเพื่อให้ปีนั้นมี 366 วัน วันที่เพิ่มเข้าไปนี้เรียกว่า "อธิกสุรทิน" การที่ต้องเพิ่มวันเนื่องจากในปีหนึ่งๆนั้นตามความเป็นจริงมีจำนวนวัน 365.25 วัน ไม่ใช่ 365 วันถ้วนอย่างที่เราเข้าใจกันทั่วไป
"ดังนั้นเพื่อรวมเศษที่ตกค้างในแต่ละปีให้เป็น 1 วันได้ก็จะทำได้ทุก 4 ปี ทำให้สะดวกในการนับจำนวนวันในแต่ละปี คือนับจำนวนถ้วนๆ โดยให้ปีที่ 1, 2, และ3 มี 365 วัน และปีที่ 4 มี 366 วัน เป็นดังนี้เรื่อยไป"
"อธิกมาส" และ"อธิกวาร" เป็นคำที่คนไทยสมัยใหม่อาจไม่คุ้นเคยเพราะเกี่ยวข้องกับปฏิทินแบบจันทรคติ ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้อย่างเป็นทางการแล้วในสังคมไทย อย่างไรก็ตามหากเราเข้าใจที่มาหรือเหตุผลของการเพิ่มวันเป็นอธิกสุรทิน ก็คงไม่ยากนักที่จะเข้าใจเหตุผลของการเพิ่มเดือนหรือเพิ่มวันเข้าไปในปฏิทิน ทางจันทรคติเช่นกัน
"อธิกมาส" หมายถึง เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือในปีนั้นมี 13 เดือน มีเดือน 8 สองหน สาเหตุที่ต้องเพิ่มเดือน 8 เข้าไปอีก 1 เดือน เช่นในปีนี้ (พ.ศ. 2545) ก็เพื่อให้ปฏิทินทางจันทรคติเทียบได้กับปฏิทินทางสุริยคติได้ โดยจำนวนวันไม่ต่างกันมากเกินไป ดังรายละเอียดที่ผเคยอธิบายไว้แล้วในเรื่อง "ปฏิทินไทยดั้งเดิม" ปฏิทินบางฉบับเรียกปีที่มีอธิกมาสหรือปีที่มีเดือน 8 สองหนว่า "ปีอธิกมาส" และเรียกปีที่มีเดือน 8 หนเดียวว่า "ปีปกติมาส"
"อธิกวาร" หมายถึงวันที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือในปีนั้นเดือน 7 เป็นเดือนเต็มมี 30 วัน ตามปรกติเดือนที่เป็นเลขคี่ ในปฏิทินทางจันทรคติจะเป็นเดือนขาด มี 29 วัน และเดือนเลขคู่เป็นเดือนเต็มมี 30 วัน แต่ด้วยเหตุผลทำนองเดียวกันกับการเพิ่มเดือนเป็นอธิกมาส ในรอบประมาณ 5 ปี ปฏิทินทางจันทรคติซึ่งแม้จะมีอธิกมาสแล้ว แต่ก็จะมีจำนวนวัน ต่างจากปฏิทินทางสุริยคติอยู่อีกหนึ่งวัน จึงต้องเพิ่มเสีย เพื่อให้เท่ากัน
โดยเพิ่มวันเข้าไป ในเดือน 7 ทำให้เดือน 7 ในปีนั้นมี 30 วัน วันสุดท้ายของเดือน 7 ดังกล่าวจะเป็นวันแรม 15 ค่ำแทนที่จะเป็นวันแรม 14 ค่ำเหมือนเดือนขาดทั่วไป วันที่เพิ่มเข้าไปนี้เรียกว่า "อธิกวาร" ปีที่มีอธิกวารเรียกว่า "ปีอธิกวาร" ที่ไม่มีเรียกว่า "ปีปกติวาร" คำทั้งสามคำที่ได้อธิบายไปนั้นแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีระบบในการนับและการ คำนวณวันเดือนปี ที่น่าสนใจ จึงทำให้คนไทยสามารถเข้าใจความคล้ายคลึงและความมีส่วนร่วมกันของมโนทัศน์ ทั้งสามประการได้เป็นอย่างดี
ส่วนทางฝั่งตะวันตกจะเรียกปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ว่า "Leap year" และคนโชคดีที่เกิดวันนี้จะถูกเรียกว่า "Leaper" ซึ่งด้วยความแปลกอันนี้ในบางประเทศ เช่น ไอร์แลนด์ รัฐบาลจะให้เงินรางวัลเป็นการเฉลิมฉลองกับครอบครัวที่มีเด็กเกิดในวันนี้เลย ทีเดียว
แม้ว่าความพิเศษของ 29 กุมภาพันธ์จะไม่ได้เป็นวันหยุดทำงานสากล แต่กิจกรรมพิเศษของวันนี้ตามธรรมเนียมของทางตะวันตก ซึ่งริเริ่มในประเทศสกอตแลนด์คือ ผู้หญิงจะได้รับการยินยอมให้เป็นฝ่ายขอผู้ชายไปเดท ขอความรัก หรือแม้กระทั่งขอแต่งงานกับฝ่ายชายได้โดยไม่ขัดกับจารีตธรรมเนียมประเพณีแต่ อย่างใด และ "ถ้าฝ่ายชายปฏิเสธก็ต้องหาผ้าพันคอ หรือถุงมือให้เป็นการปลอบใจ"