ประวัติ Akira Yoshizawa อากิระ โยชิซาวะ บิดาแห่งโอริงามิสมัยใหม่ เกิดวันที่ 14 มีนาคม 2454 เป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในศิลปะการพับกระดาษ เขาได้พัฒนารูปแบบใหม่ๆของการพับกระดาษมากกว่า 50,000 ชิ้นงาน เพื่อให้เป็นรูปแบบที่แน่นอนและถูกต้อง เขาได้ทำหนังสือรวบรวมงานของเขา(ซึ่งอาจใช้เวลามากกว่า 2,000 ปี) ถึงจะเสร็จ
Akira Yoshizawa อากิระ โยชิซาวะ นักพับกระดาษเขาคือใคร
ต่อมา Origami ได้ถูกใช้เป็นสื่อการสอนด้านการศึกษาคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเรขาคณิตต่างๆ Robert Harbin ได้นำการพับกระดาษโลกตะวันตกมาประยุกต์ใช้ในการแสดงมายากลของเขา เขาได้รวบรวมงานทั้งหมดและตีพิมพ์ลงในหนังสือที่ชื่อ Paper Margin จากนั้นรูปแบบการดีไซน์หลายๆอันก็ได้ปรากฎในหนังสือหลายๆเล่ม
ปัจจุบัน Origami รูปแบบต่างๆได้มีให้เห็นบ่อยๆตามหนังสือ นิตยสาร กระดาษห่อ หรือแม้กระทั่งการ์ดอวยพรในงานต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว Origami จะต้องไม่มีการใช้กาว, การฉีก, การตัด, การตกแต่งอื่นๆนอกจากกระดาษ 1 แผ่นเท่านั้น และกระดาษนั้นต้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสอย่างสมบูรณ์(Perfect)
Akira Yoshizawa อากิระ โยชิซาวะ (吉澤 章 Yoshizawa อากิระ ; 14 มีนาคม 2454-14 มีนาคม 2548) ถือว่าเป็นแกรนด์มาสเตอร์ของโอริงามิ
โอริงามิ เป็นชื่อเรียกศิลปะการพับกระดาษของญี่ปุ่น เกิดจากคำสองคำเชื่อมกัน คือ โอรุ (oru) แปลว่าพับ และ คามิ (kami) แปลว่า กระดาษ
มีความเป็นมาอย่างไร? นิตยสาร สารคดี ฉบับล่าสุดบนแผงให้ข้อมูลไว้อย่างละเอียด โดย เอกสิทธิ์ เข้มงวด แห่งชมรมนักพับกระดาษไทย
ศิลปะการพับกระดาษของญี่ปุ่นเกิดขึ้นในยุคสมัยใดยังคลุมเครือ แต่คำว่า โอริงามิ เริ่มใช้เมื่อประมาณ 100 ปีมานี้เอง
ด้วยเหตุที่การพับกระดาษถูกเก็บงำเป็นความลับนี้เองจึงอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เราไม่พบหลักฐานเป็นชิ้นเป็นอันใดๆ
อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานบทกวีของ อิฮาระ ไซกากุ ทำให้ได้ข้อสันนิษฐานถึงการมีอยู่จริงของศิลปะการพับกระดาษ โดยแพร่หลายในตระกูลซามูไรที่นิยมพับกระดาษเป็นรูปผีเสื้อประดับขวดเหล้าสาเกเพื่อใช้ในพิธีกรรมหรือพิธีเฉลิมฉลองอันเป็นมงคล จึงเชื่อกันว่าศิลปะการพับกระดาษถูกถ่ายทอดอย่างลับๆ ในตระกูลซามูไรชั้นสูง จากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่สมัยเฮอันเรื่อยมา
โอริงามิ ดำรงอยู่ท่ามกลางความลึกลับมาอีกยาวนานหลายยุคสมัยของญี่ปุ่น หลังสิ้นสุดยุคซามูไร โอริงามิก็ถูกบุกเบิกโดยนักพับกระดาษยากจนคนหนึ่งคือ อากิระ โยชิซาวะ (Akira Yoshizawa)
งานของเขาแหวกแนวโอริงามิที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ เป็นงานศิลป์ชั้นครูที่ยากจะลอกเลียนแบบ โมเดลของเขาไม่ได้เน้นความสมจริง แต่เน้นการแสดงออกถึงชีวิตที่สัมผัสได้จริง มีผู้ยกย่องงานของเขาว่า หากคุณให้เขาพับไก่ คุณแทบจะได้ยินเสียงไก่ขันอยู่ทีเดียว แม้คุณจะไม่เห็นขนของมันเลยสักเส้น
ไม่แปลกหรอก ที่นักพับกระดาษทั่วโลกจะพร้อมใจกันยกให้ อากิระ โยชิซาวะ เป็น บิดาแห่งโอริงามิสมัยใหม่
การพับกระดาษในยุคสมัยใหม่ คือ การพับกระดาษที่ไม่ยึดติดกับความเชื่อเก่าๆ และพร้อมที่จะกระโดดรับแนวความคิดใหม่ๆ จนถึงขั้นที่จะพับเป็นอะไรก็ได้ตามใจนึก มันถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมานี้เอง นักพับกระดาษเริ่มรู้ว่าเขาไม่จำเป็นต้องเริ่มด้วยการพับครึ่งตามแบบฉบับของโอริงามิแบบคลาสสิกอีกแล้ว การตัดกระดาษและการใช้กาวติดก็ลืมไปได้เลย ผลที่ได้คือโมเดลที่แปลกใหม่ ตระการตา และเหนือจินตนาการ มีการศึกษาโอริงามิอย่างจริงจังทั้งในเชิงคณิตศาสตร์ และวิศวกรรมกลศาสตร์ การพับกระดาษสามารถถอดสมการพหุนาม อธิบายตรีโกณมิติ และหาค่ารากที่สองของจำนวนจริงได้ ทั้งยังใช้ในการพับแผนที่ พับถุงลมนิรภัย บรรจุบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แม้กระทั่งเป็นต้นแบบให้กับการพับแผงเซลแสงอาทิตย์ของดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปสู่อวกาศ ทุกวันนี้นักพับกระดาษบางคนได้คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบโอริงามิของพวกเขา จนเราสามารถพูดได้ว่าขอบเขตของโอริงามิไม่มีขีดจำกัดอีกแล้ว
ที่มา
- jat-languagecafe
-th.asiaonline
-khaosod
-thaiorigami-club