ในช่วงปี ค.ศ. 1800 นักวิทยาศาสตร์ได้สกัดสารซาลิซิน (salicin) มาจากต้นหลิว (willow) เป็นสารตัวยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวด แต่ข้อจำกัดของสารตัวนี้ก็คือ เมื่อรับประทานไปแล้วก่อให้เกิดผลข้างเคียง คือการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
ในปี ค.ศ. 1853 นักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อนายชาร์ลส์ เฟรเดอริก เกอร์ฮาร์ด (Charles Frederic Gerhardt) ได้เติมโซเดียม และอะเซทิลคลอไรด์ (sodium and acetyl chloride) ลงไปในซาลิซิน ซึ่งช่วยแก้อาหาระคายเคืองกระเพาะอาหารไปได้ แต่เขาไม่สนใจที่จะผลิตเพื่อการขาย ดังนั้นสูตรการคิดค้นอันนี้ก็สูญหายไปด้วย
ในปี ค.ศ. 1899 เฟลิกซ์ ฮอฟฟ์มัน (Felix Hoffman) นักเคมีชาวเยอรมัน ทำงานในบริษัทไบเออร์ (Bayer Company) ได้ค้นพบกรดอะซิทิล ซาลิไซลิก (acetyl salicylic acid) โดยบังเอิญ ซึ่งเป็นตัวยาเดียวกันกับที่เฟรเดอริกค้นพบ บริษัทไบเออร์ผลิตตัวยาจากสูตรนี้ขึ้นมา ให้ชื่อว่า “แอสไพริน” (aspirin) วางจำหน่ายในรูปยาผง ต่อมาในปี ค.ศ. 1915 จึงผลิตเป็นยาเม็ดแอสไพรินวางตลาดเป็นครั้งแรก บริษัทไบเออร์พยายามคงสิทธิ์ในการผลิตยาตัวนี้แต่เพียงผู้เดียว แต่ว่าถูกบีบให้สละชื่อการค้าตัวนี้ และให้ชื่อนี้ลอยตัวเป็นชื่อสาธารณะในปี ค.ศ. 1919 ด้วยสนธิสัญญาแวร์ซายน์
บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ จำกัด และวิชาการดอทคอม