อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทยตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีโบราณสถานทั้งหมด 215 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง รวมทั้งสุสานวัดชมชื่น และเตาสังคโลกโบราณ

ในปัจจุบันจากการประเมินของกรมศิลปากร นับว่ามีการต่อเติมโบราณสถานจากสภาพเดิมน้อยกว่าที่ใด ยังคงรักษาภูมิทัศน์ของเมืองประวัติศาสตร์ไว้ได้ครบถ้วน

"เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns)
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย บริเวณที่เรียกว่า “แก่งหลวง” ห่างจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัยลงมาทางอำเภอสวรรคโลก 11 กิโลเมตร หรือห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 550 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตของตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ ตำบลท่าชัย ส่วนตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัยอยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย มีพื้นที่ทั้งหมดประณ 45.14 ตารางกิโลเมตร เดิมชื่อว่า เมืองเชลียง” แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “ศรีสัชนาลัย” ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถาน และโบราณวัตถุทั้งหมด 215 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง
อุทยานฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น.
อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท
ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าภายในเขตอุทยานฯ เสียค่าธรรมเนียมอีก ราคา 10 - 50 บาท
มีบริการรถรางนำชมโบราณสถานทั่วบริเวณชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท

หากนักท่องเที่ยวที่ต้องการขอวิทยากรนำชม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130 โทร. 0 - 5567 - 9211
การเดินทาง
  • รถยนต์ จากตัวเมืองสุโขทัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 เส้นสุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย ไปจนถึงระหว่างกิโลเมตรที่ 17 - 19 เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแม่น้ำยม จะมีทางแยกขวาเข้าอุทยานฯ ไป ประมาณ 1.5 กิโลเมตร เป็นระยะทาง 68 กิโลเมตร
  • รถโดยสารประจำทาง มีรถสายสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ออกจากท่ารถที่ตลาดเทศบาลไปอุทยานฯ ทุกวัน นอกจากนี้นักท่องเที่ยวสามารถใช้เส้นทางจากอำเภอสวรรคโลกไปตามทางหลวงหมายเลข 1201 ไปจนถึงตำบลเมืองเก่า บริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำยมแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ อีก 2 กิโลเมตร รวมระยะทาง 22 กิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย


โบราณสถานที่สำคัญ
เมืองโบราณศรีสัชนาลัย มีขอบเขตของผังเมืองที่ก่อสร้างทับซ้อนอยู่บนบริเวณ เมืองเชลียงเดิม กล่าวคือ แนวกำแพงเมืองเชลียง
เดิม ทำเป็นคันดินยาวขนานไปตามลำน้ำยมโดยเริ่มจาก บริเวณวัดมหาธาตุเชลียงขนานลำน้ำยมเลยผ่านเขาพนมเพลิงออกไป
ซึ่งยังคงปรากฎหลักฐานคันดินให้เห็นอยู่เป็นระยะ ๆ
ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น จึงได้พิจารณาเลือกบริเวณที่มีสภาพ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา กำหนดขอบเขต
การก่อสร้างกำแพงเมืองจากศิลาแลง ลักษณะผังเมืองเป็น รูปหลายเหลี่ยมไม่สม่ำเสมอตามทิศทางของแม่น้ำยม ในช่วงนี้
ลักษณะของกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยมี หลายแนวเพราะคงมีการผสมผสานเอาแนวกำแพงคันดินในสมัยที่เป็นเมืองเชลียงเข้ามา
ใช้ประโยชน์ด้วย โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีทั้งภายในและภายนอกกำแพงเมือง ซึ่งรวมทั้งหมดมีไม่น้อย
กว่า 215 แห่งโบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้

3.1 โบราณสถานภายในกำแพงเมือง
สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 28 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดนางพญา วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้ว เป็นต้น
3.2 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 35 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดกุฎีราย เตาทุเรียงบ้านป่ายาง เตา ทุเรียงบ้านเกาะน้อย ซึ่งเป็น แหล่งผลิตภาชนะดินเผา “เครื่องสังคโลก” ที่สำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย
3.3 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดสวนสัก วัดป่าแก้ว เป็นต้น
3.4 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 24 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดชมชื่น วัดเจ้าจันทร์ และวัดโคกสิงคาราม เป็นต้น
3.5 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 19 แห่ง ที่สำคัญ คือ วัดพญาดำ วัดราหู วัดสระประทุม วัดพรหมสี่หน้า วัดยายตา เป็นต้น
3.6 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองบนภูเขา
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 15 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดเขาใหญ่บน วัดเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์รอบ และวัดเขาใหญ่ล่าง เป็นต้น

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกันกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทย ยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย


ขอบคุณภาพจาก thai-tour

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์