วิจัยชี้แสงแดดลดเสี่ยงหัวใจล้มเหลว

วิจัยชี้แสงแดดลดเสี่ยงหัวใจล้มเหลว


ลืมยาสลายลิ่มเลือดหรือแอสไพรินไปได้เลย เพราะตอนนี้การบำบัดผู้ป่วยโรคหัวใจอาจใช้วิธีง่ายๆ เช่น การออกไปตากแดด แค่นี้ก็ลดความเสี่ยงหัวใจล้มเหลวได้แล้ว

ทีมแพทย์วิจัยเผยว่า การรับแสงแดดตอนกลางวันสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะหัวใจวาย หรือโรคหัวใจเรื้อรังได้ อนึ่ง ผู้ป่วยที่พักฟื้นอยู่โรงพยาบาลหลังโรคหัวใจกำเริบ จะหายเร็วขึ้นหากออกไปตากแดดอย่างสม่ำเสมอ

นาฬิกาชีวิต (Circadian Rhythm) ถูกกำหนดโดยโปรตีนในสมอง โดยโปรตีนนี้ก็เป็นชนิดเดียวกับที่อยู่ในหัวใจ โทบิแอส เอ็คเคิล แพทย์หัวใจและคณะประจำมหาวิทยาลัยโคโลราโดในเดนเวอร์พบว่า โปรตีนชนิดพีเรียด 2 มีบทบาทหลักในการลดความเสี่ยงจากภาวะหัวใจล้มเหลว

แทบจะไม่มีออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงหัวใจระหว่างที่ผู้ป่วยอาการกำเริบ ซึ่งเมื่อเกิดภาวะนี้หัวใจจะสลับไปใช้พลังงานจากกลูโคสแทนไขมัน หากไม่ได้รับการรักษาให้ระบบเผาผลาญพลังงานหรือเมตาบอลิซึ่มในหัวใจทำงานอย่างปกติ กล้ามเนื้อหัวใจอาจตายได้

งานวิจัยระบุว่า โปรตีนพีเรียด 2 มีส่วนสำคัญต่อการสับเปลี่ยนพลังงานหัวใจจากไขมันเป็นกลูโคส และช่วยให้ขบวนการสันดาปของหัวใจทำงานได้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า แสงแดดจ้าก็สามารถกระตุ้นให้สัตว์ผลิตโปรตีนพีเรียด 2และลดความเสี่ยงภาวะหัวใจวายได้เช่นเดียวกับมนุษย์

งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature Medicine ทั้งนี้การต่อยอดงานวิจัยในอนาคตจะพยายามหาคำตอบว่า แสงอาทิตย์ส่งผลต่อขบวนการสันดาปในหัวใจมนุษย์ได้อย่างไร เพื่อนำไปพัฒนาวิธีรักษาผู้ป่วย



ขอบคุณ : ไทยโพสต์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์