ผลวิจัยพบว่า คนที่นอนหลับน้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมง เสี่ยงเป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบแม้มีสุขภาพดีก็ตาม
นักวิจัยบอกว่า คน ในวัยกลางคนซึ่งนอนน้อยมีโอกาศเสี่ยงมากขึ้น ที่จะมีอาการของเส้นเลือดสมองตีบ เมื่อเทียบกับคนที่นอนอย่างน้อย 9 ชั่วโมง ถึงจะมีน้ำหนักตัวเหมาะสมและครอบครัวไม่มีประวัติเป็นโรคนี้
ผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยแอละแบมา ได้ติดตามภาวะสุขภาพของผู้ร่วมโครงการกว่า 5,000 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 45 ปีจนถึงวัยเกษียณ เป็นเวลา 3 ปี
คนที่นอนไม่ถึงวันละ 6 ชั่วโมงมีแนวโน้มจะมีอาการหลายอย่าง เช่น ชา, ซีกหนึ่งของร่างกายอ่อนแรง, วิงเวียน, หน้ามืด หรือจู่ๆ ก็ไม่สามารถพูดหรือเขียนได้
ผู้เข้าร่วมได้ถูกแบ่งเป็น 5 กลุ่มตามจำนวนชั่วโมงของการนอนหลับ คนเหล่านี้ได้รายงานอาการของตนเองทุกๆ 6 เดือน
เวอร์จิเนีย โฮเวิร์ด ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยา บอกว่า ผู้คนจำนวนมากมีอาการเหล่านี้ แต่ไม่รู้ว่านั่นเป็นอาการเริ่มต้นของเส้นเลือดสมองตีบ เวลาไปหาหมอก็ไม่ได้บอก
"อุปนิสัยในการนอนจะยิ่งทำให้อาการเหล่านี้แย่ลง ซึ่งจะนำไปสู่โรคเส้นเลือดสมองตีบ"
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยวอริกในอังกฤษเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งศึกษาคนไข้นับแสนคน ระบุว่า การอดนอนมีความเชื่อมโยงกับโรคเส้นเลือดสมองตีบและโรคหัวใจ แต่งานวิจัยชิ้นนี้เน้นที่อาการเริ่มแรกของเส้นเลือดสมองตีบ ซึ่งมักถูกมองข้ามไป
ทีมวิจัยของศาสตราจารย์โฮเวิร์ด มีแผนจะติดตามภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมเหล่านี้ต่อไปอีกหลายปี เพื่อดูอัตราการเกิดโรคนี้ และดูว่าการตรวจพบอาการแต่เนิ่นๆ จะเป็นประโยชน์หรือไม่
หัวหน้าทีมวิจัย ดร.เมแกน ริตเตอร์ จะนำเสนอผลการวิจัยนี้ต่อที่ ประชุมสมาคมการแพทย์เกี่ยวกับการนอนอเมริกันต่อไป ทั้งนี้ ดร.แคลร์ วอลตัน แห่งสมาคมโรคเส้นเลือดสมองในอังกฤษ บอกว่า ผล วิจัยก่อนหน้านี้หลายชิ้นระบุว่า การนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงเป็นประจำ หรือนอนเกิน 9 ชั่วโมง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดสมองตีบ แต่ทั้งหมดนี้ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม.