สันนิษฐานว่าไข่เยี่ยวม้ามีกำเนิดมาจากทางภาคใต้ของจีนแล้วแพร่ไปทางเหนือ
บางคนว่ามีกำเนิดจากบริเวณแม่น้ำยงสีจุดมุ่งหมายในการทำไข่เยี่ยวม้าก็เพื่อถนอมอาหารเก็บเอาไว้กินนาน ๆ
ไข่ที่นำมาทำไข่เยี่ยวม้าใช้ได้ทั้งไข่ไก่ไข่เป็ด พอกด้วยส่วนผสมดังนี้คือ ใบชา
ปูนขาว เกลือป่น ขี้เถ้า โดยนำส่วนผสมทั้งหมดคลุกปนกับน้ำร้อนหรือน้ำเย็นก็ได้
ให้เหนียวขนาดแป้งเปียก แล้วพอกไข่หนา ๗-๑๐ เซนติเมตร หลังจากนั้นก็นำไปคลุกแกลบ บรรจุลงภาชนะ เช่น ไห โอ่ง ถังไม้ ใช้กระดาษน้ำมันหรือพลาสติกปิดฝากันอากาศเข้า เก็บไว้ที่อุณหภูมิ ๒๔-๒๕ องศาเซลเซียส เปิดฝาทุก ๗ วันเพื่อกลับไข่ให้ไข่แดงอยู่ตรงกลางเก็บไว้นาน ๔๐-๕๐ วันก็กินได้ หรืออาจบรรจุภาชนะปิดฝาฝังดินไว้นาน ๕-๖ เดือน ไข่ที่ได้ที่แล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน ๑ ปีไข่เยี่ยวม้าที่ดี ไข่ขาวต้องเป็นสีน้ำตาลคล้ำใสเชื่อกันว่าไข่เยี่ยวม้าเป็นอาหารบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิตทำให้เจริญอาหาร ผู้ผลิตบางรายอาจใส่สารตะกั่วลงไปด้วยเพื่อควบคุมความเป็นกรดด่างของไข่ สารตะกั่วนี่เองที่ทำให้ไข่เยี่ยวม้าเป็นอาหารที่ไม่ปลอดภัยนัก
การทำไข่เยี่ยวม้า โปรตีนและ ฟอสโฟไลปิด (phospholipids) บางส่วนในไข่จะสลายตัวทำให้เกิดแอมโมเนีย นอกจากนี้ไขมันในไข่แดง (yolk fat) ก็ลดน้อยลงไปด้วย ได้มีการศึกษาเรื่อง การทำไข่เยี่ยวม้าว่าในกระบวนการทำไข่เยี่ยวม้านั้น ไข่ที่ใช้ถ้ามีเชื้อ Salmonella (เป็นเชื้อโรคทำให้เกิดท้องร่วง ท้องเสีย) หรือเชื้อโรคจำพวก พารไทฟอยด์อยู่ เมื่อทำเป็นไข่เยี่ยวม้าได้ที่แล้วเชื้อนี้จะตายไปถึงแม้ว่าไข่เยี่ยวม้ามีประโยชน์ในการบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต ก่อให้เกิดกำลังและเจริญอาหาร แต่ในกระบวนการผลิตไข่เยี่ยวม้าบางครั้ง ผู้ผลิตจะใส่สารประกอบของตะกั่วลงไป เพื่อควบคุมความเป็นกรดด่าง (pH) ให้คงที่ ซึ่งช่วยให้ไข่ขาวแข็งตัวอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นในไข่เยี่ยวม้า จึงอาจมีสารตะกั่วในรูปของตะกั่วซัลไฟด์อยู่ โดยสังเกตได้จากส่วน ของไข่ขาวจะมีสีดำมาก ลักษณะขุ่น ส่วนไข่เยี่ยวม้าที่ไม่มีตะกั่วซัลไฟด์ ไข่ขาวจะมีสีน้ำตาลคล้ำและมีลักษณะใส ซึ่งถ้าพบไข่เยี่ยวม้ามีลักษณะ ไข่ขาวขุ่นไม่ใสก็ควรจะหลีกเลี่ยงไม่รับประทาน
กล่าวง่าย ๆ คือ การที่ไข่เยี่ยวม้ามีสีดำนั้นมีผลจากการใส่สารประกอบของตะกั่วลงไป เพื่อควบคุมความเป็นกรดด่าง (pH) นั่งเอง