โกรธอย่างไรไม่ทำร้ายตัวเอง?

โกรธอย่างไรไม่ทำร้ายตัวเอง?


เป็นธรรมดาที่เมื่อมีสิ่งมากระทบร่างกาย หรือ จิตใจ แล้วก่อให้เกิดความรู้สึกด้านลบ สร้างความเจ็บปวด หรือ ความไม่พอใจ ย่อมกระตุ้นให้เกิด “อารมณ์โกรธ” แต่คีย์สำคัญ คือ โกรธอย่างไรไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต ไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ตลอดจนไม่กระทบสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง?

ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การปรับเปลี่ยนมุมมองจาก “ใครที่ทำให้เราโกรธ” เป็นการมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหา เพื่อให้เหตุการณ์ หรือ อุปสรรคนั้นคลี่คลายลง เพราะการจมความหัวเสียอยู่ที่ตัวบุคคลเป็นหลักนั้น นอกจากทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว ยังเป็นการบั่นทอนสุขภาพจิตด้วย

ขณะที่ การเขียนระบายความในใจ ความรู้สึกลงในไดอารี่ หรือ บอกเล่าให้ครอบครัว หรือ เพื่อนสนิทฟัง ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอารมณ์ขุ่นมัวในใจ ลดความโกรธ และความเครียดได้ดี ทั้งยังอาจได้มุมมองทางออกใหม่ ๆ

นอกจากนั้น การเล่นกีฬา ออกกำลังกาย ก็ช่วยทำให้ความไม่แจ่มใสเบิกบานของอารมณ์ค่อย ๆ จางลง เพราะร่างกายจะหลั่งสารโดปามีน เอ็นโดฟินส์ สารที่ช่วยให้มีความสุข และรู้สึกดีขึ้น

การรู้เท่าทันอารมณ์โกรธ และขจัดอย่างเหมาะสม ไม่เพียงส่งผลดีต่อสุขภาพกาย-สุขภาพจิตของตนเอง ตลอดจนคนรอบข้างเท่านั้น หากแต่ยังทำให้เกิดสติอันเป็นพื้นฐานที่ดีในการตั้งรับกับปัญหาด้วย.


การรู้เท่าทันอารมณ์โกรธ และขจัดอย่างเหมาะสม ไม่เพียงส่งผลดีต่อสุขภาพกาย-สุขภาพจิตของตนเอง ตลอดจนคนรอบข้างเท่านั้น หากแต่ยังทำให้เกิดสติอันเป็นพื้นฐานที่ดีในการตั้งรับกับปัญหาด้วย.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์