10 อันดับ ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก

10 อันดับ ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก


จากความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันของผู้คนในโลก ไม่ว่าจะเป็นผลมาจากผลผลิตมวลรวม อัตราการอ่านออกเขียนได้ หรืออัตราการจ้างงานก็ตาม นั่นคือตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ จากรายงานขององค์การสหประชาชาติพบว่า ได้มีผู้หิวโหยได้เสียชีวิตไปประมาณวันละ 25,000 คน ซึ่งในจำนวนนั้นมีเด็กมากว่าผู้ใหญ่....

982 ล้านคนของประชากรจาก 4.8 พันล้านคนในประเทศกำลังพัฒนา มีความเป็นอยู่ด้วยเงินเพียงวันละ 1 เหรียญสหรัฐ และกว่า 2.5 พันล้านคนก็มีรายได้แฉลี่ยน้อยกว่าวันละ 2 ดอลลาร์สหรัฐ ประชากรยากจน 40% มีรายรับรวมกันเพียง 5 % ของรายได้รวมของโลก ขณะที่ 20%ของคนรวยมีรายรับถึง 75% ของรายได้รวม ในปี 2005.

ประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี 765 ดอลลาร์สหรัฐ หรือน้อยกว่า ถูกกำหนดว่าเป็นประเทศยากจน....

ต่อไปนี้คือ 10 อันดับประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก

อันดับ10. Ethiopia 

ประเทศ เอธิโอเปีย อยู่ในอันดับที่ 170 จาก 177 ของดัชนีประเทศยากจน ครึ่งหนึ่งของผลผลิตมวลรวมขึ้นอยู่กับภาคการเกษตร เนื่องจากขาดแคลนเทคโนโลยี ใช้วิธีเพาะปลูกที่ล้าสมัย จึงทำให้ผลผลิตในภาคการเกษตรต่ำลงและผลมาจากสภาพอากาศไม่อำนวย 50% ของประชากรจำนวน 74.7 ล้านคน มีฐานะยากจน อีก 80% มีชีวิตรอดด้วยการขอรับบริจาคอาหาร ผู้ชายเพียง 47 % และผู้หญิง 31 % ที่สามารถอ่านออกเขียนได้ ประชากรบางส่วนของ เอธิโอเปีย มีความเสี่ยงต่อ ตับอักเสบ A, ตับอักเสบ E, ไข้ไทรอยด์, มาลาเรีย, โรคพิษสุนัขบ้า, เยื่อหุ้มสมองอักเสบม และ schistosomiasis


อันดับ 9. Niger

รายได้ต่อหัวต่อปี 700 เหรียญสหรัฐ

ไนเจอร์ หนึ่งใน ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก มีประชากร 12.5 ล้านคน ฝน คือ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนอาหาร 63% ของประชากร อาศัยอยู่ด้วยเงินจำนวนต่ำกว่า 1 เหรียญสหรัฐต่อวัน ผู้ใหญ่สามารถอ่านออกเขียนได้เพียง 15% ผู้คนส่วนมากเสียชีวิตจาก ตับอักเสบ A, ท้องร่วง, มาลาเรีย, ไข้สมองอักเสบ, และไข้ไทรอยด์

อันดับ 8. Central African Republic

รายได้ต่อหัวต่อปี 700 เหรียญสหรัฐ

สาธารณรัฐอัฟริกากลาง อยู่ในลำดับที่ 171 ของประเทศยากจน เกษตรกรรมคืออาชีพหลักที่พยุงเศรษฐกิจ ประชากรมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์

อันดับ 7. Guinea-Bissau

รายได้ต่อหัวต่อปี 600 เหรียญสหรัฐ

ประเทศ กีนี บิสเซา ชื่ออาจไม่คุ้น แต่รู้ไว้ว่าพี่เค้ายากจนอันดับที่ 172 อาชีพสำคัญคือการทำไร่และประมง รายได้ของประชากรไม่เท่ากัน ต่างกันไปตามแต่ละภาคของประเทศ ประมาณ 10% ของผู้ใหญ่มีความเสี่ยงต่อโรคเอดส์

อันดับ 6. Union of the Comoros

รายได้ต่อหัวต่อ ปี 600 เหรียญสหรัฐ

สหภาพโคโมโรส ประชากรส่วนใหญ่ไม่มีงานทำ จึงส่งผลให้ภาพรวมของเศรษฐกิจย่ำแย่ และด้วยความหนาแน่นของประชากร 1,000 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นผลให้สภาพแวดล้อมวิกฤต กระทบต่อการเกษตร ประมาณ 40% มีระดับการศึกษาต่ำ ทำให้ขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพ สรุปความเป็นอยู่ของผู้คนขึ้นอยู่กับเงินช่วยเหลือจากนานาชาติ!

อันดับ 5. Republic of Somalia

รายได้ต่อหัวต่อปี 600 เหรียญสหรัฐ

ภาคการเกษตรคือหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจ แห่ง สาธารณรัฐโซมาเลีย ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของแอฟริกา ประชากรส่วนใหญ่เร่ร่อน อยู่ไม่เป็นที่ อาชีพหลัก คือ การทำปศุสัตว์ อุตสาหกรรมทางการเกษตรให้ผลผลิตมวลรวมเพียง 10% ของทั้งหมด

อันดับ 4. The Solomon Islands

รายได้ต่อหัวต่อปี 600 เหรียญสหรัฐ

หมู่เกาะโซโลมอน เป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการประมงเป็นหลัก กว่า 75% ของแรงงานประกอบอาชีพประมง ไม้คืออุตสาหกรรมหลักมาจนถึง ค.ศ. 1998 กระทั่งน้ำมันปาล์กับมะพร้าว กลายเป็นสินค้าส่งออก หมู่เกาะโซโลมอล มีแร่ธาตุมากมาย เช่น สังกะสี ตะกั่ว ทองคำ และนิกเกิล

อันดับ 3. Republic of Zimbabwe

รายได้ต่อหัวต่อปี 500 เหรียญสหรัฐ

อีกหนึ่งที่ยกให้เป็น ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก สาธารณรัฐซิมบัพเว ตั้งอยู่ระหว่าง แม่น้ำ Limpopo และ Zabezi ในแอฟริกาใต้ เศรษฐกิจหยุดชะงักเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ บวกกับขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ รวมถึงการที่ ซิมบัพเว ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจทรุดตัวของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทำให้อัตราการตกงานของประชากรสูงถึง 80%

อันดับ 2. Republic of Liberia

รายได้ต่อหัวต่อปี 500 เหรียญสหรัฐ

สาธารณรัฐไลบีเรีย อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแอฟริกา 1 ใน 10 ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก เหตุเพราะการส่งออกพืชผลที่ลดลง นักลงทุนหดหาย ขโมยชุม คนรุมแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรเพชรอย่างไม่ยุติธรรม และการค้ากำไรเกินควรในช่วงสงครามกลางเมือง ค.ศ. 1990 ทำให้เศรษฐกิจของ ไลบีเรีย ทรุดตัว ส่งผลให้การกู้เงินจากต่างประเทศมีมากกว่าผลผลิตมวลรวม

อันดับ 1. Republic of the Congo

รายได้ต่อหัวต่อปี 300 เหรียญสหรัฐ

มาถึง ประเทศที่ยากจนที่สุดของโลก กับ สาธารณรัฐคองโก ประเทศแถบแอฟริกากลาง ที่อดอยากยากแค้น เพราะการเสื่อมค่าของเงินฟรังค์ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มระดับสูง ใน ปี ค.ศ. 1994 ความวุ่นวายจากสงครามกลางเมือง และราคาน้ำมันที่ตกต่ำใน ปี ค.ศ. 1998 ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศย่อยยับ


ที่มา: www.hottnez.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์