เท้าแบนไม่ใช่โรค แต่ชีวิตจะไม่ราบรื่น

เท้าแบนไม่ใช่โรค แต่ชีวิตจะไม่ราบรื่น


เท้าแบนไม่ใช่โรค แต่ชีวิตจะไม่ราบรื่นยืนให้ตรง แล้วลองก้มดูว่าเท้าของเรามีโค้งเหมือนคนปกติรึเปล่า ถ้าเท้าแบนราบไปกับพื้นเลย ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะนั่นคือ 'เท้าแบน' แต่จะทำอย่างไรกันต่อไปน่ะสิ?

เท้าแบนไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องปกติ หากคุณเท้าแบนแต่ไม่รู้สึกเจ็บปวดเวลาเดิน นั่นคือเป็นโชคดีของคุณ แต่ก็เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เท้าแบนอาจทำให้หลายคนใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้เช่น กัน

จะรู้ได้อย่างไรว่า 'เท้าแบน'

เท้าแบนนั้นสังเกตได้ง่ายในขณะที่คุณเดินหรือยืน หากเท้าแบน คุณจะสังเกตว่าด้านในของเท้าไม่มีแนวโค้ง สังเกตง่าย ๆ คือ ลองยืนบนปลายเท้า ถ้าฝ่าเท้าของคุณโค้งก็แสดงว่าปกติ แต่ถ้าไม่มีโค้ง เท้าของคุณก็มีโอกาสที่จะบิดเข้าข้างในเมื่อเดินหรือวิ่ง หรือถ้ายังไม่แน่ใจ ให้เอาเท้าจุ่มน้ำจนเปียกแล้วเดินในที่ที่คุณจะเห็นรอยเท้าอย่างพื้นคอนกรีต ถ้าเห็นเป็นรูปเท้าเต็ม ๆ ชัดเจน ก็เป็นไปได้ว่าเท้าของคุณแบน อย่างไรก็ดี หากเป็นเด็กก็อาจจะสังเกตเท้าแบนได้ยาก เพราะอาการจะแสดงเมื่ออายุประมาณ 10 ขวบ

อาการเป็นอย่างไร

เท้าแบนอาจไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่อาจจะทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นเขม็ง จึงทำให้รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเดิน โดยคุณอาจจะปวดในบริเวณต่อไปนี้คือด้านในของข้อเท้าอุ้งเท้าด้านนอกของเท้า (หมายถึงแนวตั้งแต่นิ้วก้อย)น่อง (ด้านหลัง)เข่า สะโพก หรือหลัง

คนบางคนที่เท้าแบนนั้นจะพบว่าน้ำหนักตัวกระจายไปไม่สมดุล โดยเฉพาะคนที่เท้าบิดเข้าด้านในมาก ถ้าเป็นเช่นนั้นรองเท้าของคุณก็จะสึกอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับข้อเท้าและเอ็นร้อยหวายของคุณด้วย

5 ประการที่คุณควรจะทราบเกี่ยวกับ 'เท้าแบน'

เท้าแบนเกิดขึ้นได้ทั้งกรรมพันธุ์และไลฟ์สไตล์ วิถีชีวิตบางอย่างอาจทำให้คนที่มีแนวโน้มจะเท้าแบนเลี่ยงอาการได้ โดยในเด็กนั้น การรักษาด้วยศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ที่ไม่จำเป็นอาจทำให้อาการแย่ลง ส่วนโรคอ้วนก็อาจทำให้อาการหนักขึ้นด้วย เช่นเดียวกับการใส่รองเท้าที่แข็งมาก ๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย ตรงกันข้าม เท้าของเด็กมักจะมีอาการดีขึ้นถ้าไม่ใส่รองเท้า หรือใส่รองเท้าที่มีน้ำหนักเบา

1. ไลฟ์สไตล์เท้าแบน เท้าแบนจากอุบัติเหตุ หรืออาการบาดเจ็บในช่วงหนุ่มสาวนั้นป้องกันไม่ได้ แต่ถ้ามาจากโรคอ้วนก็มีไลฟ์สไตล์ที่สามารถเปลี่ยนได้บ้าง ซึ่งความอ้วนนั้นจะส่งแรงกดลงบนส่วนโค้งของเท้าและทำให้มันแบนมากขึ้น

2. อาการปวดที่เท้า อาการปวดเท้าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ถ้าก้มลงไปมองแล้วไม่เห็นอุ้งเท้า ก็เป็นไปได้ว่าเกิดจากเท้าแบน ซึ่งเป็นอาการเด่นชัดที่สุด อย่างไรก็ดี เท้าแบนอาจทำให้เท้าบวม หรือขาส่วนล่างบวมด้วย และถ้าคุณเห็นว่าพื้นรองเท้าของคุณสึกหรอไม่เท่ากันก็อาจเป็นเพราะสาเหตุ เดียวกัน

3. ในการรักษานั้น จำเป็นที่จะต้องพบแพทย์เฉพาะทางซึ่งเชี่ยวชาญด้านเท้า หลายคนที่มีเท้าแบนนั้นไม่เจ็บจึงไม่ต้องการการรักษา บางคนสามารถบรรเทาอาการได้จากการลดน้ำหนัก พักผ่อนมาก ๆ และเสริมส้นรองเท้าด้านใน ส่วนบางคนนั้นแค่เปลี่ยนรองเท้าก็หายแล้ว

4. หากปล่อยไปจะเกิดอะไรบ้าง เท้าแบนบางครั้งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน อย่างเช่น กระดูกงอก หรือตาปลา คนบางคนอาจสังเกตได้ว่าเขาไม่สามารถวิ่งหรือเดินตามปกติได้อีกเลย ส่วนรองช้ำหรืออาการปวดที่เท้านั้นก็มักจะเกี่ยวข้องกับโรคเท้าแบน ทั้งนี้ เพราะเท้าแบนทำให้ไขสันหลังเรียงตัวออกจากแนวปกติ ดังนั้น อาการปวดสะโพก หรือหลังก็พบได้ง่ายเช่นกัน

5. เมื่อไหร่ที่ควรจะไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่แล้วเท้าแบนอาจไม่ทำให้เกิดปัญหา ยกเว้นแต่
- ปวดเท้า แม้คุณจะใส่รองเท้าที่มีซัพพอร์ตดีแล้วก็ตาม
- รองเท้าของคุณสึกเร็วกว่าปกติ
- เท้าของคุณแบนมากขึ้น
- เท้าของคุณชา แข็ง หรืออ่อนแอลง


Expert’s Corner ใช้ชีวิตกับเท้าแบน 

หากเท้าแบนจะเลือกใส่รองเท้าแบบไหน รักษาได้อย่างไร ลองไปฟังจาก นพ.วีรยุทธ์ ชยาภินันท์ ศัลยแพทย์กระดูก และข้อ ร.พ.สมิติเวช สุขุมวิท

เท้าแบน เกิดมาแล้วเป็นเลยรึเปล่า หรือว่าเกิดขึ้นเพราะวิถีชีวิต

เท้าแบนจะมีสองชนิด อย่างแรกเรียกกันว่า Rigid Type ในประเภทนี้อาจจะมีความผิดปกติจากส่วนอื่นร่วมด้วย อย่างเช่น อาการของสมองที่เรียกว่า Cerebral Palsy หรืออาการของไขสันหลัง หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือโครงสร้างของเท้าซึ่งกระดูก แต่ละชิ้นมีความผิดปกติ อันนี้คือเราพูดถึงเท้าแบนประเภท Rigid Flat Feet หรือเท้าแบนชนิดปีกแข็ง ซึ่งมักจะมีเรื่องของกระดูกไขสันหลังเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างที่สองก็คือ Flexible Flat Feet พวกนี้จะพบได้เยอะกว่า พอน้ำหนักกดลงไปปุ๊บ เท้าก็จะแบน มีประมาณ 10-15% ของประชากรไทย

รองเท้าของคนเท้าแบนต่างจากคนปกติแค่ไหน

ถ้าถามว่าเท้าแบนจะต้องใช้ชีวิตผิดจากคนทั่วไปรึเปล่า สมมติว่าใส่รองเท้าลำลองที่ไม่ใช่ส้นสูง ระหว่างคนเท้าแบนกับคนปกตินั้นแทบจะไม่ต่างอะไรกันเลย โดยอาจจะใส่รองเท้าเพื่อสุขภาพก็ได้ แต่ถ้าไปเดินช้อปปิ้งแล้วใส่รองเท้าส้นสูง หมอไม่แนะนำอย่างยิ่ง เพราะรองเท้าที่มีส้นจะทำให้การถ่ายโอนน้ำหนักเปลี่ยนไป ถามว่าจะโมดิฟายด์ได้มั้ย บอกได้เลยว่า ไม่มีรองเท้าส้นสูงคู่ไหนที่จะแก้ปัญหาเท้าแบนได้ ถ้าใส่ก็ไม่มีทางหาย วิธีแก้คือไม่ต้องใส่รองเท้าส้นสูง ถ้าจำเป็นต้องใส่ออกงานก็ขอให้หลีกเลี่ยงรองเท้าส้นเข็ม ไม่ควรใส่รองเท้าหัวบีบ และไม่ควรสูงเกิน 1 นิ้ว

การรักษาทำอย่างไร

ในเท้าแบนที่เกิดจาก Rigid Flat Feet คือเป็นโครงสร้างที่ผิดปกติ จะต้องผ่าตัดอย่างเดียว แต่จะต้องแก้ปัญหาที่สมองกับไขสันหลังก่อน แต่ส่วนใหญ่จะแก้ไม่ได้ ปัญหาคือถ้าจะผ่าตัดต้องผ่าตรงไหน ซึ่งเราจะต้องรู้ว่าเท้าเป็นอย่างไร แบนและเอียง หรือแบนและชี้ลง มันมีหลายแบบ แต่การผ่าตัดจะต้องเริ่มที่การตัดเอ็นร้อยหวายเสียก่อน แล้วค่อยไปแก้รูปเท้าที่ผิดปกติ

ส่วนอีกกลุ่มที่เป็น Flexible Flat Feet การรักษาก็คือต้องรู้จักตัวเอง อย่างที่สองคือต้องคอนโทรลน้ำหนัก และเลือกชนิดกีฬากับรองเท้าให้เหมาะสม เพราะฉะนั้น ถ้ามีปัญหาพวกนี้จะต้องดูที่ปัจจัยก่อน คือน้ำหนักตัว กีฬา และลักษณะของรองเท้าว่าเหมาะไหม หรือว่าเสื่อมสภาพหรือยัง



ขอบคุณ Lisa

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์