อาการสำคัญ
ไส้เลื่อนมีหลายชนิดที่พบบ่อยได้แก่
1. ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ ทำให้สะดือจุ่น หรือ สะดือโปร่งเวลาร้องไห้ ซึ่งจะเป็นมาตั้งแต่แรกเกิด
2. ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ มีอาการเป็นก้อนตุงที่บริเวณขาหนีบ หรือถุงอัณฑะ ซึ่งจะเห็นขณะลุกขึ้นยืน ยกของหนัก ไอ จาม หรือเบ่งต่างๆ เวลานอนหงาย ก้อนจะเล็กลง หรือยุบหายไป ก้อนมีลักษณะ นุ่มๆ หยุ่นๆ
การตรวจวินิจฉัย (LAB / X-RAY)
ตรวจพบสะดือโปร่ง หรือก้อนตุงที่บริเวณขาหนีบ
แนวทางการรักษา
1. ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ ไม่ต้องทำอะไรยกเว้นในรายที่ก้อนใหญ่มาก ตั้งแต่แรกเกิดให้ใช้ผ้าพันรอบเอว กดสะดือไว้ไม่ให้ลำไส้โผล่ออกมา จนกระทั่งอายุ 2 ขวบ ถ้ายังไม่หายควรผ่าตัดเพื่อแก้ไข ในรายที่สงสัยมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปวดท้องรุนแรง อาเจียนรุนแรง หรืออันติดค้าง อาจจะต้องผ่าตัดอย่างเร่งด่วน
2. ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ ควรแนะนำไปผ่าตัดที่โรงพยาบาล
คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ
ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ มักจะบวมที่ลูกอัณฑะ ทำให้เกิดความอาย ไม่กล้ามาพบแพทย์ แพทย์จะอธิบายให้ทราบถึงสาเหตุที่เป็น การรักษาให้หายขาดมีอยู่ทางเดียวการผ่าตัด ระหว่างที่ยังไม่ได้ผ่าตัด ผู้ป่วยควรสังเกตอาการด้วยตัวเอง ถ้าหากมีอาการปวดท้อง อาเจียนหรือความผิดปกติอื่นๆ ก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอันขึ้นได้ โรคไส้เลื่อนพบมากในผู้ชาย แต่ผู้หญิงก็มีโอกาสเป็นได้ ซึ่งจะมีอาการเป็นก้อนตุงที่ขาหนีบ หากสงสัยควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการผ่าตัดเช่นเดียวกัน
ที่มา ... โรงพยาบาลบางปะกอก
หนุ่มๆ เสี่ยงไส้เลื่อนอยู่หรือเปล่า?
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!